ธปท.ได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยเพิ่มเติมในช่วงสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ระยะที่ 2 เพื่อให้ลูกหนี้สินเชื่อรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ ได้รับการแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว มีกระแสเงินสดใช้จ่ายในการดำรงชีพไม่มีภาระหนี้สูงเกินไป รวมถึงทำให้ผู้ให้บริการทางการเงิน สามารถบริหารจัดการลูกหนี้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ก่อให้เกิด NPLs จำนวนมาก มีสภาพคล่องสูง และฐานะดี
-ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อบัตรเครดิตจาก 18% สู่ 16%
-ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีวงเงินหมุนเวียนจาก 28% สู่ 25%,
-ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อส่วนบุคคลที่ผ่อนชําระเป็นงวดจาก 28% สู่ 25%
-ปรับลดเพดานอัตราดอกเบี้ยสินเชื่อจํานําทะเบียนรถจาก 28% สู่ 24%
นอกจากนี้ ธปท.ยังประกาศเพิ่มวงเงินบัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้เฉลี่ยต่อเดือน สําหรับลูกหนี้ที่มี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 30,000 บาท เป็นการชั่วคราว มีผลตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2563 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
เปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว (48 งวด) ขยายเวลาชำระหนี้อัตราดอกเบี้ย ไม่เกิน 12%
ลดอัตราผ่อนขั้นต่ำตาม ความสามารถในการชําระหนี้ หรือเปลี่ยนเป็นสินเชื่อระยะยาว (48 งวด) อัตราดอกเบี้ยไม่เกิน22%
ลดค่างวดอย่างน้อย 30% โดยคิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 22%
เลื่อนชําระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ ลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาการชําระหนี้
กําหนดให้ไม่ต้องจํากัด วงเงิน จากเดิมที่จํากัดวงเงินในส่วนของรถจักรยานยนต์ไม่เกิน 35,000 บาท และรถทุกประเภทไม่เกิน 250,000 บาท
เลื่อนชําระค่างวด (เงินต้นและดอกเบี้ย) 3 เดือน หรือ เลื่อนชําระเงินต้น 3 เดือน และพิจารณาลดดอกเบี้ยให้ตามความเหมาะสมของลูกหนี้แต่ละราย หรือ ลดค่างวด โดยขยายระยะเวลาการ ชําระหนี้
กําหนดให้ไม่ต้องจํากัดวงเงิน จากเดิมที่จํากัดวงเงินไม่เกิน 3 ลบ.
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด