ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จับมือธนาคารกลางสิงคโปร์ (MAS) ร่วมลงนามในความตกลงร่วมมือด้าน FinTech และบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการกำกับดูแล สถาบันการเงิน ระหว่างธนาคารกลางสิงคโปร์และธนาคารแห่งประเทศไทย
เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2560 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และธนาคารกลางสิงคโปร์(MAS) ได้ ร่วมลงนามในความตกลงร่วมมือด้าน FinTech และบันทึกความเข้าใจทวิภาคีว่าด้วยการกำกับดูแลสถาบัน การเงินฉบับปรับปรุง ในระหว่างการประชุมทวิภาคีระหว่างทั้งสองธนาคารกลาง ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสองปี
โดยในปีนี้ธนาคารกลางสิงคโปร์เป็นเจ้าภาพ ความตกลงร่วมมือด้าน FinTech มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาระบบนิเวศทางการเงินของไทยและสิงคโปร์ รวมไปถึงภูมิภาคอาเซียนให้ดียิ่งขึ้น โดยส่งเสริมให้ ธปท. และ MAS แบ่งปันข้อมูลที่เกี่ยวกับแนวโน้มของตลาด เกิดใหม่และประสิทธิผลของการกำกับดูแลต่อกฎระเบียบในปัจจุบัน อีกทั้งสนับสนุนความร่วมมือระหว่าง บริษัท FinTech ที่เป็นคู่ค้ากัน ความตกลงฉบับนี้แสดงถึงเจตจำนงของธนาคารกลางทั้งสองในการร่วมกัน ศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับโครงการนวัตกรรม โดยเฉพาะการให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดน ในส่วนของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการกำกับดูแลสถาบันการเงิน ซึ่งปรับปรุงจากฉบับเดิมที่ได้ ลงนามเมื่อปี 2549 เป็นการกระชับความร่วมมือในการรักษาและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของระบบสถาบัน การเงินของทั้งสองประเทศ
ซึ่งบันทึกความเข้าใจฉบับปรับปรุงนี้แสดงถึงความตั้งใจของธนาคารกลางทั้งสองในการยกระดับความร่วมมือ ทั้งด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูล การพิจารณาให้ใบอนุญาต (licensing) การตรวจสอบ สถาบันการเงิน การจัดตั้ง supervisory colleges และการบริหารจัดการสถาบันการเงินในภาวะวิกฤติร่วมกัน
วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า “การลงนามในเอกสารทั้งสองฉบับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญ ในการยกระดับความร่วมมือระหว่างธนาคารกลางทั้งสองในด้านการกำกับสถาบันการเงินและ FinTech เพื่อ เสริมสร้างเสถียรภาพทางการเงิน และสนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนของภูมิภาคท่ามกลางความผันผวนและ การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ความร่วมมือในการพัฒนาเทคโนโลยีทางการเงินจะช่วยส่งเสริม การเข้าถึงและยกระดับบริการทางการเงินในภูมิภาค”
ด้าน Ravi Menon ผู้ว่าการธนาคารกลางสิงคโปร์กล่าวว่า “ธนาคารแห่งประเทศไทยและธนาคารกลาง สิงคโปร์ เป็นพันธมิตรในการรักษาและเสริมสร้างเสถียรภาพระบบการเงินมาอย่างยาวนาน นอกจากนี้ ธนาคาร กลางทั้งสองแห่งยังมีเจตนารมณ์สอดคล้องกันในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินเพื่อตอบสนองตลาดในภูมิภาค ซึ่งความตกลงทั้งสองฉบับเป็นส่วนเติมเต็มซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังแสดงถึงการตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงที่ เกิดขึ้นจากการให้บริการทางการเงินข้ามพรมแดนอีกด้วย”
ที่มา ธนาคารแห่งประเทศไทย
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด