ประกาศราชกิจจาฯ ใช้กัญชาเพื่อการรักษา ในแพทย์แผนไทย | Techsauce

ประกาศราชกิจจาฯ ใช้กัญชาเพื่อการรักษา ในแพทย์แผนไทย

กระแสกัญชากำลังเป็นประเด็นถกเถียงกันทั้งในภาคธุรกิจและการแพทย์ ถึงแม้จะยังไม่ได้มีการออกมายอมรับการใช้งานเพื่อความผ่อนคลายอย่างชัดเจน แต่ในทางการแพทย์ก็เริ่มมีการขับเคลื่อนนโยบายรวมถึงศึกษาวิจัยกัญชาเพื่อการรักษากันมากขึ้น

ล่าสุด เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้มีการเผยแพร่ราชกิจจานุเบกษาประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องกำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 โดยมีสาระสำคัญที่ระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 58 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 5 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดตำรับยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 ที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ ที่ให้เสพเพื่อรักษาโรคหรือการศึกษาวิจัยได้ พ.ศ.2562 ลงวันที่ 29 มี.ค.2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ 5 ตำรับยาที่ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยประยุกต์ และหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทยปรุงขึ้น จากองค์ความรู้และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ชัดเจน และได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

อีกทั้งยังมี ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุง หรือสั่งจ่ายตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ได้ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 26/5 (2) แห่งพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2562 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ให้ยกเลิกความในข้อ 4 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้านตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ที่จะสามารถปรุงหรือสั่งจ่ายตำรับยาที่มีกัญชาปรุงผสมอยู่ได้ พ.ศ.2562 ลงวันที่ 29 มี.ค. พ.ศ.2562 และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน

“ข้อ 4 แนวทางการปรุงยา สำหรับผู้ป่วยของตน ของผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน ต้องมีการระบุองค์ความรู้และภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยที่ชัดเจนและได้รับการรับรองจากกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก”

ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

นี่คือการประกาศให้เห็นถึงการพยายามผลักดันการใช้งานกัญชาเพื่อการรักษาในไทย เนื่องด้วยคุณสมบัติอันเป็นประโยชน์ของพืชชนิดนี้ มาติดตามกันต่อไปว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นการพัฒนาต่อยอดของกัญชาในทิศทางใดบ้าง

อ้างอิง: Ratchakitcha (1),(2)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ ttb นำทัพตอกย้ำความก้าวล้ำด้าน Digital & Tech ของธนาคาร ผ่านงาน 'ttb spark REAL change'

ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) จัดงาน ‘ttb spark REAL change’ ซึ่งมีเวทีเผยวิสัยทัศน์องค์กร นิทรรศการที่นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการในปัจจุบันและอนาคต ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้าน Digital ...

Responsive image

DOGE ของอีลอน มัสก์ อ้างเซฟเงิน 8 พันล้าน แต่ความจริงแค่ 8 ล้าน

อีลอน มัสก์ CEO ของ Tesla และ SpaceX กำลังมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับหน่วยงานใหม่ Department of Government Efficiency (DOGE) หรือ 'กรมประสิทธิภาพภาครัฐ' ที่ตั้งขึ้นมาเพื่อลดค่าใช้...

Responsive image

Mercedes-Benz เดินหน้าทดสอบแบตเตอรี่ Solid-state ในรถ EV ตั้งเป้าวิ่งได้ไกลกว่า 600 ไมล์

Mercedes-Benz กำลังทดสอบแบตเตอรี่ Solid-State ในรถยนต์ไฟฟ้า EQS ที่สหราชอาณาจักร เพิ่มระยะทางขับขี่ทะลุ 600 ไมล์ ลดน้ำหนักแบตเตอรี่ 40% นับเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรม EV แข่งกับ Hyu...