Checklist มาตรการป้องกัน COVID-19 สำหรับธุรกิจ Event จัดงานอย่างไรให้ปลอดภัยหลังยกเลิกเคอร์ฟิว | Techsauce

Checklist มาตรการป้องกัน COVID-19 สำหรับธุรกิจ Event จัดงานอย่างไรให้ปลอดภัยหลังยกเลิกเคอร์ฟิว

การคลายล๊อคดาวน์เฟส 4 ครั้งนี้ทำให้สถานที่และกิจกรรมที่เป็นหนึ่งในรายได้สำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ ที่ต้องมีการจัดงาน Event  หลังจากการเเถลงข่าวถึงแนวทางหลังคลายล๊อคดาวน์เฟส 4 โดย ร.ต.อ. พงศกร ขวัญเมือง โฆษกกรุงเทพมหานคร ที่ได้ออกมาแถลงผลการประชุม คณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ได้มีการกล่าวถึงอัตราการติดเชื้อไวรัสของไทยที่มีสถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ จนปัจจุบันอัตราการติดเชื้อไม่มียอดผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รัฐบาลจึงได้ประกาศยกเลิกเคอร์ฟิวตั้งเเต่วันที่ 15 มิ.ย. 2563 เป็นต้นไป 

โดยมีสถานที่ 11 แห่งสามารถเปิดทำการได้ ดังนี้

1.โรงเรียนกวดวิชา โรงเรียนนานาชาติ ส่วนโรงเรียนในสังกัด กทม. เปิดได้ 1 ก.ค.

2.โรงแรม ศูนย์แสดงมหรสพ การจัดเลี้ยง การจัดประชุม คอนเสิร์ต 

  • ต้องมีการจำกัดจำนวนคน และแสกน คิวอาร์โค้ด ไทยชนะ โดยการจัดแสดงดนตรีนั้น ต้องเป็นการขายตั๋วนั่งเท่านั้น

3.ร้านอาหาร และเครื่องดื่มทั่วไป สามารถบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้

  • แต่ต้องไม่เกิน เวลา 24.00 น. ส่วนผับ บาร์ คาราโอเกะ ยังไม่อนุญาตให้เปิด

4.ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และผู้สูงอายุ เปิดได้ 

  • แต่ต้องจำกัดจำนวน และมีมาตรการเว้นระยะห่าง

5.ศูนย์วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรม เช่น ท้องฟ้าจำลอง

6.การถ่ายทำรายการโทรทัศน์ 

จำกัดทีมงาน 1 กองถ่าย 150 คน และมีผู้ชมในสตูดิโอ ไม่เกิน 50 คน

7.ร้านนวด สปา (ไม่รวมอาบอบนวด ) สามารถนวดตัวและใบหน้าได้ 

โดยจำกัดระยะเวลาการให้บริการ 2 ชม.

8.สวนสาธารณะ ลานกีฬากลางแจ้ง 

  • อนุญาตให้ออกกำลังกายเป็นกลุ่มได้ ไม่เกิน 50 คน แต่จะต้องมีการสวมหน้ากากอนามัยก่อนและหลังออกกำลังกาย

9.สนามเด็กเล่น สวนสนุก ยกเว้นบ้านบอล บ้านลม แต่มีการจำกัด 

  • เวลาการเล่นไม่เกิน 2 ชม.

10.สนามกีฬากลางแจ้งและสถานที่ออกกำลังกายเพื่อการแข่งขัน 

  • แต่ต้องไม่มีผู้ชมในสนามแข่งขัน โดยในส่วนของสระว่ายน้ำ จะต้องควบคุมจำนวน 8 ตร.ม./คน

11.ตู้เกมส์ เครื่องหยอดเหรียญ 

  • ยกเว้น ร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่

แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีมาตรการและกฎข้อบังคับที่ยังคงรักษาไว้อยู่เพื่อเฝ้าระวังความปลอดภัยถึงเเม้สถานการณ์ภายในประเทศไทยจะดีขึ้น โดยดูจากภาพรวมของอัตราผู้ติดเชื้อที่ลดลงอย่าไรก็ตาม  เชื้อไวรัส COVID-19 ยังไม่มีวัคซีนรักษาให้หายขาดเเบบ 100% การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญและความรับผิดชอบสูงสุดต่อชีวิตที่กำลังจะกลับมาดำเนินกิจกรรมปกติหลังจากนี้ โดยเฉพาะการจัดงานที่ต้องมีคนจำนวนมากอยู่ในพื้นที่เดียวกันอย่างงาน Event 

เชื่อว่าเหล่า Startup และหลายองค์กร ตอนนี้กำลังหาข้อมูลการสร้างความปลอดภัยในการจัดงาน Event ในยุค COVID-19 เพื่อวางเเผนรับมือก่อนจัดงานรวมถึงการสร้างความเชื้อมั่นให้กับกลุ่มลูกค้า New Normal แล้วมาตรการความปลอดภัยสำหรับธุรกิจนี้ที่ต้องทำมีอะไรบ้าง? ต้องเตรียมตัวอย่างไร? 

สิ่งที่ผู้จัดงานควรเตรียมตัวก่อนจัดงานและมาตรการความปลอดภัยสำหรับธุรกิจ Event ที่ควรจัดเตรียมมีอะไรบ้าง?

งานทุกอย่างหากต้องการประสบความสำเร็จการเตรียมตัวและแผนงานที่รอบคอบและชัดเจนจะทำให้สิ่งที่ตั้งใจไว้ประสบความสำเร็จ หรือ ผ่านไปได้แบบไร้ความผิดพลาด การจัดงาน Event ช่วงวิกฤต COVID-19 นี้ก็เช่นกันเพราะหนึ่งในสิ่งที่ควรคำนึงถึงคือความปลอดภัย เรามา Checklist สิ่งที่ต้องเตรียมก่อนจัดงานกัน

Checklist เตรียมความพร้อมผู้ร่วมงาน Event

1 ข้อปฎิบัติการจัดงานแล้วหรือไม่?  ว่าไม่ขัดต่อประกาศ คำสั่ง  และข้อกำหนด จากรัฐและศูนย์บริหารสถานการณ์การเเพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

2 คุณเตรียมหา Solution การสื่อสารที่ครอบคลุมทั้งในองค์กรและผู้เข้าร่วมงานสำหรับ Event นี้หรือยัง? สำหรับการสื่อสารควรมีช่องทางการสื่อสารในการส่งข้อมูลรวมถึงเเจ้งเหตุในกรณีฉุกเฉินที่ชัดเจน เพื่อให้เข้าใจตรงกันทุกฝ่ายโดยควรมีสิ่งที่ต้องส่งให้ ผู้เข้าร่วมงาน อาทิ  คู่มือและวิดีโอคำเเนะนำ (ก่อนเข้างานและรหว่างเข้าร่วมงาน)

3. มี Solution การคัดกรองการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ที่มีความน่าเชื่อถือจากหน่วยงานด้านสาธารณสุข https://cmsdm.net/Self-Screening/ ให้ผู้ร่วมงานส่งข้อมูลคัดกรองตนเองส่งกระทรวงสาธารณะสุขล่วงหน้า 24 ชม. ก่อนเริ่มเข้าร่วมงานแล้วหรือยัง? เพื่อรายงานสถานการณ์และติดตามได้อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉิน 

4. ในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมงานเดินทางจากต่างประเทศเข้ามาไทยต้องตรวจประกาศและข้อปฎิบัติการเดินทางทางอากาศ https://www.caat.or.th/th/archives/47858 โดยทำการเเจ้งให้ผู้เข้าร่วมงานรับทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1- 7 วันเพื่อเตรียมพร้อมปฎิบัติตามข้อกำหนดต่างๆ 

***หมายเหตุ ควรส่งข้อความเเจ้งผู้ร่วมงานก่อนตัดสินใจมาร่วมงานให้เข้าใจตรงกันว่า หากผู้ร่วมงานมีความเสี่ยงหรือไม่ผ่านการคัดกรองทางผู้จัดงานขอสงวนสิทธิในการอนุญาตให้เข้างาน (ยกเว้นมีเอกสารทางการเเพทย์มายืนยัน)

Checklist เตรียมความพร้อมสำหรับเจ้าหน้าที่เเละคนจัดงาน

1. Standard Operation Procedure (SOP) ผู้จัดงานควรเตรียมจัดทำคู่มือและวางมาตรฐานการปฎิบัติงาน พร้อมจัดอบรมพนังงาน เจ้าหน้าที่ เพื่อเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ต่างๆ ในงานอีกทั้งเมื่อเกิดกรณีฉุกเฉินต้องมีมาตรการรองรับที่ปฎิบัติได้ทันที

2.จัดเตรียมหน่วยงานด้านการเเพทย์และอุปกรณ์เตรียมคัดกรองคนก่อนเขางาน ให้พร้อม รวมถึงจัดอบรมพนักงานต้อนรับให้สามารถคัดกรองคนเข้าร่วมงานได้ และมีพื้นเฉพาะเพียงพอและหมาะสมที่จะรองรับกลุ่มเสี่ยงได้ทันทีเมื่อเกิดกรณีพบผู้ที่มีเเนวโน้มการติดเชื้อไวรัส 

3. จัดเตรียมพนักงานและอุปกรณ์การทำความสะอาดให้เพียงพอต่อพื้นที่ของการจัดงานที่ต้องทำงาน เต็มเวลาโดยทำความสะอาจในทุก 1-2 ชั่วโมงในเเต่ละจุดของงาน

4. จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ฝ่ายดูแลคุณภาพและอาชีวอนามัย ทำงานเต็มเวลาโดยคอยตรวจสอบและเช็คทุกกระบวนการในระหว่างการจัดงานเพื่อให้มีความสะอาดและความปลอดภัยในเเต่ละจุด

5. ควรจัดทำข้อมูลความรู้เกี่ยวกับเชื้อไวรัส COVID-19 ประชาสัมพันธ์ให้คนในองค์กรทราบ

นอกจากนี้การจัดการที่ต้องทำให้เป็นมาตรการที่คอยช่วยให้เกิดความสะดวกแก่ผู้ร่วมงานเเละหลีกเลี่ยงต่อการเสี่ยงติดเชื้อไวรัส ที่ควรคำนึงและอาจทำเพิ่มขึ้น

1.จักทำเเผนที่เเนะนำเส้นทางการเดินทางโดยระบุสถานที่จัดงานให้ชัดเจนพร้อมรูปแบบการเดินทางที่หลากหลายตอบโจทย์การเดินทางทุกรูปแบบ  พร้อมเเนะวิธีลดความเสี่ยงจากการเดินทาง 

2. การจัดการพื้นที่ในแต่ละจุดของงานโดยคำนึงถึงการเว้นระยะห่าง และจัดให้เหมาะสมกับกิจกรรมนั้น อาทิ จุดคัดกรอคนเข้างานควรมีพื้นที่มากพอให้คนเว้นระยะห่าง

3. เตรียมอุปกรณ์ป้องกัน อาทิ  หน้ากากอนามัยสำรอง เผื่อไว้เสมอและเเจ้งผู้ร่วมงานล่วงหน้าเพื่อให้ผู้ร่วมงานใส่หน้ากากอนามัยเข้าร่วมงานทุกครั้ง 

4.จุดลงทะเบียนเข้าร่วมงานควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสสิ่งของร่วมกัน อาจปรับรูปเเบบลงทะเบียนเป็น Digital Platform อาทิ  QR Code และสถานที่ควรมี wifi เตรียมไว้เพื่ออำนวนความสะดวกหากสามารถทำได้

การจัดพื้นที่และการเว้นระยะห่างตามมาตรการของรัฐ

  • แผนผังของห้องสัมนาหรือห้องประชุมให้รักษาระยะห่างจากเวที 5 เมตร และระยะห่างที่นั่ง 1.5-2.0 เมตร ทุกห้องต้องมีระบบระบายอากาศที่ถ่ายเทสะดวก
  • แผนผังของห้องนิทรรศการระยะห่างไม่ต่ำกว่า 4 ตรม./คน หรือระยะห่างอย่างน้อย 1.5-2.0 เมตร/คน และควรมีการกำหนดคนเข้าชมต่อรอบ เพื่อไม่ให้หนาเเน่น รวมถึงควรมี Digital Platform เพื่อจองคิวล่วงหน้าในการเข้าชมนิทรรศการ
  • สถานที่รับประทานอาหารจัดผังที่นั่งไม่ต่ำกว่า 1.5 เมตร และรูปแบบอาหารในงานควรเป็นอาหารเเบบชุดเดียว (Coures Menu)

สุดท้ายหลังจบงานควรตรวจสอบประกาศจากหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการอนุญาตในการจัดงานเพื่อดำเนินการเรื่องการจัดทำรายงานผลการจัดงานชี้เเจงต่อหน่วยงานที่อนุญาตให้ชัดเจน พร้อมการติดตามผลสุขภาพของผู้เข้าร่วมงานเพื่อรายงานให้หน่วยงานจากรัฐรับทราบ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  innnews.co.th, tcebmicecap

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

เจาะลึก Sovereign AI สำคัญอย่างไร ? จากปาก Jensen Huang ในวันที่ ‘ข้อมูลไทย’ คือทรัพยากรใหม่

สำรวจบทบาทของ Sovereign AI ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พร้อมคำอธิบายจาก Jensen Huang CEO ของ NVIDIA เกี่ยวกับ AI ไทยและ Open Thai GPT ที่จะเปลี่ยนอนาคตของเทคโนโลยีในประเทศไทย...

Responsive image

สรุป 3 ความร่วมมือ Jensen Huang ร่วมงาน AI Vision for Thailand ไทยได้อะไรบ้าง ?

Jensen Huang เดินทางเข้าร่วมงาน AI Vision for Thailand จัดขึ้นโดย SIAM.AI CLOUD โดยได้เผยวิสัยทัศน์การขับเคลื่อน AI ในประเทศไทย ทั้งนี้ Siam.AI ได้เปิดตัวโครงสร้างพื้นฐาน AI ของ...

Responsive image

Apple เสนอลงทุนในอินโดฯ เพิ่ม 10 เท่า มูลค่าพันล้านดอลลาร์สหรัฐ สู้ปลดแบน iPhone 16

Apple ทุ่มสุดตัว! เพิ่มเงินลงทุนในอินโดนีเซีย 10 เท่า เป็น 1,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิม 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หลังข้อเสนอเดิมถูกปัดตก เป้าหมายปลดแบนการขาย iPhone 16 ในอินโดฯ ให้สำเร็จ...