จีนบุกตลาด AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 ให้เหตุผลเหมือนมนุษย์ ท้าชน o1 จาก Open AI | Techsauce

จีนบุกตลาด AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 ให้เหตุผลเหมือนมนุษย์ ท้าชน o1 จาก Open AI

AI จีนขอท้าชิงพื้นที่ตลาด เมื่อบริษัทวิจัย AI เปิดตัวโมเดล DeepSeek-R1 โมเดล AI ให้เหตุผลใกล้เคียงกับมนุษย์ เปิดตัวมาท้าชิงความสามารถของโมเดล o1 จาก OpenAI

รู้จัก DeepSeek-R1 โมเดล AI ให้เหตุผลเทียบมนุษย์สัญชาติจีน

DeepSeek-R1 ถูกพัฒนาโดยบริษัทผู้วิจัย AI สัญชาติจีนอย่าง Deepseek ด้วยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หรือให้เหตุผล ซึ่งช่วยให้โมเดลนี้สามารถตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบได้ด้วยตัวเอง และลดข้อผิดพลาดที่มักพบในโมเดล AI ทั่วไป และถูกออกแบบมาเพื่อแข่งขันกับโมเดล o1 จาก Open AI  โดยตรง

แตกต่างจากโมเดล AI ทั่วไปโดยการเน้นการให้เหตุผลอย่างรอบคอบก่อนที่จะให้คำตอบ โดยจะใช้เวลาในการพิจารณาคำถามหรือคำขออย่างละเอียด คล้ายกับการตรวจสอบข้อเท็จจริงในตัวเอง ซึ่งช่วยลดความผิดพลาดที่มักพบได้ในแบบจำลอง AI อื่นๆ กระบวนการนี้ทำให้ DeepSeek-R1 อาจใช้เวลาคิดนานหลายสิบวินาที ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของคำถาม คล้ายคลึงกับความสามารถของ OpenAI o1 ที่เป็นโมเดลคู่แข่ง

DeepSeek ระบุว่า DeepSeek-R1-Lite-Preview สามารถทำงานได้ใกล้เคียงกับ OpenAI o1-preview ในการทดสอบมาตรฐาน AIME และ MATH ซึ่งเป็นการทดสอบประสิทธิภาพของโมเดล AI อย่างไรก็ตาม โมเดลนี้ยังมีจุดอ่อน เช่น การแก้ปัญหาเกมง่ายๆ อย่าง tic-tac-toe ซึ่งคล้ายกับ OpenAI o1 ที่ประสบปัญหาเดียวกัน

นอกจากนี้ DeepSeek-R1 ยังมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัย สามารถถูกเจาะระบบได้ง่าย โดยการใช้คำสั่งที่ออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการรักษาความปลอดภัย โดยหนึ่งในผู้ใช้แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดีย X สามารถให้คำตอบสูตรการผลิตยาเสพติดได้

อีกทั้ง DeepSeek-R1 ยังถูกตั้งข้อสังเกตว่า มีข้อจำกัดในการตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับประเด็นการเมืองที่อ่อนไหว เช่น ชื่อของประธานาธิบดีสีจิ้นผิง เหตุการณ์จัตุรัสเทียนอันเหมิน หรือ สถานการณ์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของไต้หวัน สาเหตุนี้น่าจะเป็นผลมาจากแรงกดดันของรัฐบาลจีนที่กำหนดให้ AI ในประเทศต้องสะท้อนหลักค่านิยมของสังคมนิยม และผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลอินเทอร์เน็ตของประเทศ

DeepSeek มีแผนที่จะเปิดโอเพ่นซอร์ส DeepSeek-R1 และ API เพื่อให้ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ บริษัทได้รับการสนับสนุนจาก High-Flyer Capital Management ซึ่งเป็นกองทุนเฮดจ์ฟันด์ในประเทศจีนที่ใช้ AI ในการตัดสินใจซื้อขายในตลาดทุน 

นอกจากนี้ High-Flyer ยังลงทุนมหาศาลใน การสร้างและใช้งานเซิร์ฟเวอร์คลัสเตอร์ของตัวเองเพื่อการฝึกอบรมโมเดล AI โดยใช้ GPU Nvidia A100 จำนวน 10,000 ตัว ด้วยงบประมาณ 138 ล้านดอลลาร์ หรือราว 4.7 พันล้านบาท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการพัฒนา AI ระดับสูงผ่าน DeepSeek

DeepSeek เคยสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรม AI ด้วยโมเดล DeepSeek-V2 ที่ผลักดันให้คู่แข่งในจีน เช่น ByteDance, Baidu และ Alibaba ปรับลดราคาการใช้งานโมเดลของตน และบางรายถึงกับเปิดให้ใช้งานฟรี 

DeepSeek-R1 สะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในตลาดผู้พัฒนา AI โดยแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของจีนในการสร้างเทคโนโลยีระดับโลก การลงทุนมหาศาลและความสามารถในการท้าทาย OpenAI บ่งบอกถึงความมุ่งมั่นในการแย่งชิงส่วนแบ่งตลาด อย่างไรก็ตาม การควบคุมและกำกับดูแลอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็น อนาคตของ AI จะขึ้นอยู่กับการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์อย่างมีความรับผิดชอบและการสร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมกับความปลอดภัย

อ้างอิง: techcrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ททท. x TikTok หนุนครีเอเตอร์ ร่วมฝึกคน ททท. เล่าเรื่องเมืองไทย เพิ่มรายได้เข้าท้องถิ่น

เจาะความร่วมมือระหว่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และ TikTok ในด้านวิธีส่งเสริมการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์ม TikTok ทั้งการดึงครีเอเตอร์ทั้งไทยและเทศ มามีส่วนร่วมมากขึ้น, การพั...

Responsive image

True IDC จับมือ Siam AI Cloud ยกระดับ AI Ecosystem ไทยสู่ระดับโลก

ทรู ไอดีซี และ สยามเอไอคลาวด์ ร่วมมือพัฒนาระบบนิเวศ AI ของไทย ครอบคลุมดาต้าเซ็นเตอร์ AI โมเดล และบริการ AI-as-a-Service มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลาง AI ของภูมิภาคอย่างยั่งยืน...

Responsive image

OpenAI ปล่อย ChatGPT o1 ตัวเต็ม เจาะกลุ่ม STEM ใช้ได้บน ChatGPT Pro ราคาราว 6,800 บาท

OpenAI ฉลองเทศกาลคริสต์มาส 2024 ด้วยแคมเปญพิเศษ "12 Days of OpenAI" เปิดตัวโมเดล o1 และ ChatGPT Pro พร้อมอัปเดตความสามารถใหม่ รองรับการใช้งาน AI ขั้นสูงสุดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ...