Clubhouse บล็อกผู้ใช้ละเมิดกฎ นำเสียงจากห้องสนทนาเผยแพร่เว็บไซต์อื่น | Techsauce

Clubhouse บล็อกผู้ใช้ละเมิดกฎ นำเสียงจากห้องสนทนาเผยแพร่เว็บไซต์อื่น

เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาทาง Clubhouse ได้ออกมายืนยันว่าได้พบกับการรั่วไหลของข้อมูลในห้องสนทนาภายในแอปพลิเคชันออกไปสู่ภายนอก ทั้งที่ก่อนหน้านี้ทางผู้พัฒนาได้ออกมากล่าวแล้วว่า จะไม่สามารถบันทึกเสียงได้ภายในแอปฯ เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานทุกคนสัมผัสกับประสบการณ์การพูดคุยแบบสด ๆ real-time

แต่เมื่อทางนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของสหรัฐฯ ได้ออกมาแชร์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ว่า มีผู้ใช้งาน Clubhouse ได้ทำการบันทึกเสียงและนำไปเผยแพร่ในเว็บไซต์อื่น และตอนนี้ทาง Clubhouse ก็ออกมายืนยันแล้วว่าเป็นความจริง และได้ทำการบล็อกผู้ใช้งานคนดังกล่าวไปแล้ว

นอกจากนี้ผู้พัฒนาแอปฯ ยังได้เพิ่มมาตรการการป้องกันลงไปในแอปพลิเคชั่น เพื่อไม่ให้เกิดข้อมูลรั่วไหลอีก

ทาง Stanford Internet Observatory หรือ SIO และนักวิจัยด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ได้ออกมารายงานอีกว่า จริง ๆ แล้วการที่ข้อมูลรั่วไหลนี้ไม่ได้เป็นอันตรายหรือเป็นการแฮกข้อมูลจากทางแอปพลิเคชัน แต่เป็นการที่ผู้ใช้งานไม่ได้ปฏิบัติตามนโยบายที่ทาง Clubhouse ได้ตั้งไว้

ในที่นี้คาดว่าผู้ใช้งานคนดังกล่าวน่าจะเชื่อม API ของ Clubhouse เข้ากับเว็ปไซต์ของตัวเอง และแชร์การเข้าใช้งานของเขาไปในเว็บไซต์เพื่อให้คนอื่น ๆ ทั่วโลกเข้ามาฟังในสิ่งที่เขากำลังฟังอยู่ใน Clubhouse ได้นั่นเอง

ความกังวลเรื่องความปลอดภัยใน Clubhouse

เหตุการณ์ที่มีผู้ใช้งานนำคลิปเสียงไปเผยแพร่ภายนอกแอปพลิเคชัน Clubhouse นี้เกิดขึ้นหลังจากที่ทาง SIO ได้ออกมาเตือนบริษัทผู้ผลิต Clubhouse ว่าอาจจะมีการเข้ามาขโมยข้อมูลไปได้

โดยทาง SIO ได้ค้นพบหลายจุดบกพร่องที่สามารถนำไปสู่การถูกล้วงข้อมูลได้ง่าย ๆ เช่น การที่เลข ID ของผู้ใช้งานกับเลข ID ห้องสนทนา สามารถแปลงเป็นอักษร Plaintext ได้ ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ที่จะนำ ID เหล่านี้ไปยืนยันตัวตนนว่าผู้ใช้งานเป็นใครและเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ 

นอกจากนี้ทาง SIO ยังกังวลว่าทางรัฐบาลจีนจะสามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ได้จากบริษัท Agora ของจีนที่มีที่ตั้งอยู่ทั้งในจีนและอเมริกา ซึ่ง Agora เป็นบริษัทที่ให้บริการระบบหลังบ้านกับทาง Clubhouse และเนื่องมาจากรัฐบาลจีนสามารถขอข้อมูลจากบริษัทที่อยู่ภายใต้กฎหมายของจีนให้ส่งข้อมูลให้ทางรัฐบาลหากพบว่ามีความเสี่ยงต่อความมั่นคงของชาติ จึงมีความเป็นไปได้ว่าข้อมูลจะถูกส่งไปให้รัฐบาลจีนจากทาง Agora

เหตุผลที่ Clubhouse เริ่มไม่มีความเป็นส่วนตัว

อย่างที่ทราบกันดีว่าตอนนี้การจะเข้าร่วม Clubhouse นั้นจะต้องได้รับคำเชิญจากผู้ใช้งานเดิมก่อนถึงจะเข้าใช้งานในแอปพลิเคชันได้ ซึ่งส่วนนี้เกิดมาจากทางผู้ผลิตต้องการให้แอปฯ มีความเป็นส่วนตัว ทุกคนสามารถแสดงความคิดได้อย่างเสรี

แต่ด้วยเหตุผลที่ว่า Clubhouse ยังถือเป็นน้องใหม่ในวงการโซเชียลมีเดีย ดังนั้นจึงคนให้ความสนใจกันมาก และมีข้อมูลรั่วไหลออกไปภายนอกจึงเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้

เหมือนที่เคยเห็นจากเคสของ Zoom และ TikTok มีเมื่อแอปพลิเคชันเริ่มมีชื่อเสียง คนเริ่มนิยมกันมากขึ้น ปัญหาที่ตามมาคือเรื่องของความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งาน ดังนั้นปัญหาแบบนี้มักจะเกิดขึ้นกับแอปพลิเคชันใหม่ ๆ เสมอ


อ้างอิง: BBC


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สภาดิจิทัลฯ ผนึกกำลังรัฐบาล ตั้งเป้าดันไทยสู่ Digital Hub แห่งอาเซียนภายใน 3 ปี

ในขณะที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กำลังเร่งพัฒนาศักยภาพด้านดิจิทัล ประเทศไทยก็ไม่ยอมนิ่งนอนใจ ล่าสุดสภาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งประเทศไทย (สภาดิจิทัลฯ) นำโดย ...

Responsive image

OpenAI ท้าชน Google เปิดตัว ChatGPT Search พลัง AI ใช้ง่าย แม่นยำ ทันสมัย พร้อมใช้งานวันนี้

OpenAI เปิดตัวฟีเจอร์ค้นหา ChatGPT Search ท้าชน Google ในตลาด Search Engine ด้วยความสามารถที่ใช้งานง่าย รวดเร็ว แม่นยำและให้ข้อมูลที่ทันสมัย พร้อมให้ใช้งานจริงได้แล้ววันนี้!...

Responsive image

ทำไมสิงคโปร์ ถึงกลายเป็นที่ลงทุนด้าน Deep Tech จากทั่วโลก ?

แม้ว่าช่วงนี้จะเป็นช่วงที่การลงทุนเกิดการชะลอตัว แต่ไม่ใช่สำหรับ ‘สิงคโปร์’ ที่กำลังผงาดขึ้นอย่างเงียบๆ ในฐานะศูนย์กลางเทคโนโลยีระดับโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้าน “Deep Tech” ซึ่งเป็...