Deloitte เผย Digital Transformation Survey ฉบับล่าสุด ผลสำรวจด้านความพร้อมและความคืบหน้าขององค์กรในประเทศไทยในการปรับตัวสู่ดิจิทัลพบว่า 41% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจมองว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมีผลกระทบต่อธุรกิจในระดับปานกลาง 20% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจกำลังอยู่ในระยะ 'Becoming Digital' เป็นการปรับองค์กรในลักษณะของการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อเทรนด์ของตลาดในปี 2022 และ 43% ของบริษัทที่ตอบแบบสำรวจ ได้เปลี่ยนกลับไปสู่ระยะ 'Doing Digital'
ทั้งนี้ จากผลการสำรวจพบว่า การขาดความเชี่ยวชาญภายในและภายนอก วัฒนธรรมดิจิทัลที่อยู่ระหว่างการพัฒนา รวมถึงโครงสร้างการทำงานภายในองค์กร เป็นความท้าทายที่เผชิญอยู่ คิดเป็นจำนวน 41%, 31% และ 29% ตามลำดับ
เนื่องด้วยในปัจจุบัน ธุรกิจทั่วโลกต่างได้รับผลกระทบจาก Digital Disruption โดยเฉพาะในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีอัตราการนำเอาดิจิทัลมาใช้ในองค์กรที่เพิ่มสูงมากขึ้นเนื่องจากการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ความเข้าใจมุมมองและแนวโน้มของการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัลไปใช้เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้บริษัทในประเทศไทยเข้าใจตำแหน่งของตนเองเมื่อเปรียบเทียบกับตลาด
ทั้งนี้ ดีลอยท์ ประเทศไทย ได้ทำการสำรวจ Digital Transformation ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2563-2565) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติขององค์กรต่อการปรับตัวสู่ดิจิทัล ในปี 2563 และ 2564 ทางบริษัทฯ ทำการสำรวจโดยการใช้แบบสอบถาม ด้วยวิธีการวัดเชิงปริมาณ
สำหรับปี 2565 เป็นปีที่การปรับตัวสู่ดิจิทัลของบริษัทอยู่ในขั้นตอนที่สำคัญ ดีลอยท์จึงทำการสัมภาษณ์ผู้ตอบแบบสำรวจระดับ c-suite ร่วมกับการใช้แบบสอบถามเพื่อให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกเพิ่มขึ้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการดำเนินการของการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมาใช้ ในช่วงระยะเวลาก่อนและระหว่างการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19
การศึกษาขั้นตอนการปรับตัวสู่ดิจิทัล
การปรับองค์กรสู่ดิจิทัลให้ประสบผลสำเร็จ
การทำความเข้าใจภาพรวมของอุตสาหกรรม
และจากการวิเคราะห์ผลสำรวจในปี 2565 พบว่า 41% ของบริษัทมองว่าการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลส่งผลกระทบต่อธุรกิจในระดับปานกลาง การปรับองค์กรสู่ดิจิทัลที่นำมาปรับใช้ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ค่อนข้างเป็นกลไกในการเอาตัวรอดเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่กำลังเผชิญและเป็นเครื่องมือในการสร้างความแตกต่างในอนาคต
การนำแนวทางการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลมาใช้อย่างรวดเร็วในระยะแรกๆ ของการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ 20% ของบริษัทที่เข้าสู่ระยะ 'Becoming Digital' เป็นการปรับองค์กรในลักษณะของการปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อเทรนด์ของตลาด ส่วนในปี 2565 43% ของบริษัทได้เปลี่ยนกลับไปที่ระยะ 'Doing Digital' เนื่องจากพวกเขาตระหนักว่าไม่ใช่ทุกเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ได้กับสถานการณ์ดังกล่าว และเลือกสรรเทคโนโลยีมากขึ้นในการปรับใช้ดิจิทัลสำหรับลูกค้า สินทรัพย์ภายในองค์กร และขั้นตอนหลังบ้าน
การรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์และการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง เป็นสองประเด็นที่บริษัทส่วนใหญ่เห็นว่ามีความสำคัญและให้ความสำคัญเป็นอันดับแรกๆ เนื่องจาก 30% ของบริษัทมีแผนดิจิทัลที่ครบถ้วน การลงทุนและนวัตกรรมพร้อมดำเนินการ และผนวกเอาแนวคิดการยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลางเข้าไปใน DNA ขององค์กร ในขณะเดียวกัน พบว่า 43% ของบริษัทมีแผนดิจิทัลที่ครบถ้วน การลงทุนและนวัตกรรมพร้อมดำเนินการ และผนวกเอาการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์เข้าไปใน DNA ขององค์กร
ส่วนทางด้านเทคโนโลยี กลุ่มเทคโนโลยีพื้นฐาน ได้แก่ คลาวด์ เทคโนโลยีเว็บแบบดั้งเดิม และแอปพลิเคชั่นในโทรศัพท์มือถือ ได้รับความนิยมมากที่สุดในบริษัททุกขนาดตั้งแต่ช่วงเวลาก่อนเกิดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจัดอยู่ในประเภทเทคโนโลยีขั้นสูง ได้รับความนิยมในช่วงปลายปี โดยพบว่าขนาดของบริษัทกับการลงทุนในเทคโนโลยีมีความสัมพันธ์กัน โดยบริษัทที่มีขนาดใหญ่จะมีการลงทุนในเทคโนโลยีในหลากหลายด้านมากกว่า
“การปรับองค์กรสู่ดิจิทัลเป็นกุญแจสำคัญในการปกป้ององค์กรของคุณ แต่วิธีการใดวิธีการหนึ่งไม่สามารถเหมาะกับทุกองค์กรในการเตรียมองค์กรให้พร้อมสำหรับอนาคต ผู้บริหารควรเลือกแนวทางที่เหมาะสมกับบริษัทของตนที่สุด” มร.วิเนย์ โฮรา ผู้อำนวยการบริหาร ดีลอยท์ คอนซัลติ้ง กล่าว
นอกจากนี้ ตั้งแต่ปี 2563 ทรัพยากรบุคคลและกรอบความคิดด้านดิจิทัลต้องเผชิญกับความท้าทาย จากการขาดความเชี่ยวชาญภายในและภายนอก วัฒนธรรมดิจิทัลที่อยู่ระหว่างการพัฒนา รวมถึงโครงสร้างการทำงานภายในองค์กร เป็นจำนวน 41%, 31% และ 29% ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังพบว่าคนส่วนใหญ่ยังคงมองว่า Digital Disruption เป็นเรื่องของการพัฒนาด้านไอทีและบุคลากรด้านไอทีให้ดีขึ้นมากกว่าที่จะเป็นความรับผิดชอบขององค์กรโดยรวม
ด้าน ดร. นเรนทร์ ชุติจิรวงศ์ ผู้อำนวยการบริหาร Clients & Industries ดีลอยท์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า “หลายองค์กรเข้าใจผิดเกี่ยวกับการปรับตัวสู่ดิจิทัล ว่าเป็นแค่เรื่องของการทำสิ่งต่างๆให้เป็นดิจิทัลและเปิดตัวโครงการดิจิทัลใหม่ๆ แต่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 แสดงให้เห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงภาพลวงตาของการเป็นองค์กรดิจิทัล การมีกรอบความคิดทางดิจิทัลที่ถูกต้องต่างหากที่เป็นสิ่งสำคัญของความสำเร็จในการปรับองค์กรไปสู่ดิจิทัล”
ทั้งนี้ทุกคนได้เห็นแล้วว่า การเปลี่ยนองค์กรไปสู่ดิจิทัลที่มีอัตราสูงขึ้น ประกอบกับภาคธุรกิจทั้งหมดได้รับผลกระทบมหาศาลและคาดไม่ถึงจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ภาคธุรกิจจึงควรระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการขับเคลื่อนของการปรับองค์กรสู่ดิจิทัลและสภาพแวดล้อมทางดิจิทัลในตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสถานการณ์โลกที่ไม่อาจคาดการณ์ได้ในขณะนี้และช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน
และเมื่อเราอยู่ในโลกออนไลน์ โควิดมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ข้อจำกัดคือ ซัพพลายเชนดิสรัปชั่น จึงเป็นเหตุผลให้องค์กรในไทยต้องปรับตัว และในมุมมองคิดว่า การทำงานจะเป็นแบบไฮบริดมากขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญคือ องค์กรต้องปรับตัวหาเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาซัพพอร์ต เพื่อให้พร้อมรับต่อ Digital Transformation ซึ่งอาจจะเริ่มตั้งแต่ Exploring Digital และเน้นการทำงานในระบบโครงสร้าง เพื่อก้าวสู่ Being Digital รวมทั้งสิ่งสำคัญของการขับเคลื่อนองค์กรในยุคนี้ต่อไปคือ การคิด-ทำ-ปรับ
1.Transforming the business
2.Transforming the enterprise
3.Transforming the backbone
ขณะเดียวกันที่ผ่านมาจากการสำรวจพบว่าผู้บริหารองค์กรของไทยให้ความสำคัญในส่วนของ
Ciber Security เรื่องความปลอดภัยของข้อมูลมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารหลายคนคำนึงถึง รวมทั้ง Customer engagement ที่เห็นได้ชัดจากการสำรวจในครั้งนี้ รวมทั้ง ผู้บริหารได้มีการเริ่มนำ Advance Technology อย่าง AI และ Data Analytics มาใช้ และที่น่าสนใจคือความท้าทาย Implement Digital Transformation คือ คน องค์กร และวัฒนธรรมนั่นเอง
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด