EGAT เปิดตัว 'EGAT EV Business Solutions' ตั้งเป้ามีสถานีบริการ 48 แห่ง ภายในสิ้นปี 64 | Techsauce

EGAT เปิดตัว 'EGAT EV Business Solutions' ตั้งเป้ามีสถานีบริการ 48 แห่ง ภายในสิ้นปี 64

ถือว่าเป็นเทรนด์และเทคโนโลยีที่มีกระแสร้อนแรงอย่างต่อเนื่องสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ด้วยกระแสรักษ์โลกที่กำลังมาแรง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ามีผู้ประกอบการหลายรายหันมารุกธุรกิจนี้ และ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจเรียกได้ว่ามาช้าแต่มาชัวร์ โดยล่าสุด กฟผ. ก็ได้เปิดตัวธุรกิจ “EGAT EV Business Solutions”  ซึ่งมี 4 ผลิตภัณฑ์และบริการหลักด้าน EV สร้างสังคมแห่งการเดินทางยุคใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างการเปลี่ยนผ่านให้แก่ภาคพลังงานและคมนาคมขนส่ง ยกระดับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศไทย พร้อมตั้งเป้าหมายติดตั้งสถานีบริการเพิ่มเป็น 48 สถานี ภายในสิ้นปี 2564 จากปัจจุบัน 13 สถานี  

คุณบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ. พร้อมสร้างการเปลี่ยนผ่านให้แก่ภาคพลังงานและคมนาคมขนส่ง ในฐานะของผู้ให้บริการด้านยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านไฟฟ้าที่สำคัญ นับเป็นโอกาสอันดีที่ กฟผ. จะได้ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและสร้างความสุขให้แก่คนไทยมากยิ่งขึ้น ด้วยธุรกิจใหม่ของ กฟผ. “EGAT EV Business Solutions”                                                                                              

สำหรับธุรกิจนี้ กฟผ. ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการด้าน EV เพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างประสบการณ์ที่ดีในการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าให้ผู้ใช้มีความสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น โดย กฟผ. จะเป็นผู้ช่วยและเป็นผู้เชื่อมโยงธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตการเดินทางในอนาคตและร่วมสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม

4 ผลิตภัณฑ์และบริการ ภายใต้ธุรกิจ “EGAT EV Business Solutions” ประกอบด้วย

1.สถานีอัดประจุไฟฟ้า “EleX by EGAT” ที่ชาร์จไฟได้รวดเร็ว ปลอดภัย มั่นใจ เพื่อรองรับทุกการเดินทางของผู้ใช้ยานยนต์ทั่วประเทศ โดยปัจจุบัน กฟผ. ได้ติดตั้งไปแล้ว 13 สถานี และตั้งเป้าหมายที่จะติดตั้งเพิ่มเป็น 48 สถานี ภายในสิ้นปี 2564 โดยเน้นขยายสถานีไปตามเส้นทางการเดินทางหลักทั่วประเทศ เพื่อเลือกพื้นที่ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานและตรงกับตามต้องการของผู้ใช้ให้ได้มากที่สุด

2.Mobile Application Platform “EleXA” ที่เสมือนเป็นผู้ช่วย เพิ่มความสะดวกสบายในทุกขั้นตอนให้แก่ผู้ใช้รถ EV ตั้งแต่การค้นหา จอง ชาร์จ และจ่ายเงิน ซึ่งจะทำให้กลายเป็นเรื่องที่ง่ายและรวดเร็วสำหรับผู้ใช้งานทุกคน โดย กฟผ. มุ่งมั่นพัฒนาแอปพลิเคชันนี้ให้สามารถเชื่อมโยง ทั้งลูกค้า ร้านค้า ผู้ประกอบการ และผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้สถานีของ กฟผ. เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่กลุ่มเครือข่ายทั้งหมดนี้และยกระดับคุณภาพชีวิตของทั้งเครือข่ายไปพร้อม ๆ กันกับการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า

3.ตู้อัดประจุไฟฟ้า “EGAT Wallbox และ EGAT DC Quick Charger” เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกแก่ผู้ใช้งานรถ EV โดย EGAT Wallbox เป็น Home Charger ที่เล็กกะทัดรัด สวยงาม โดย กฟผ. ได้รับสิทธิ์ในการจำหน่ายเพียงรายเดียวในประเทศไทย ในการเป็นผู้ดูแลให้บริการติดตั้งและบำรุงรักษาให้แก่ลูกค้าโดยตรง และในปัจจุบัน กฟผ. ได้พัฒนาตู้อัดประจุไฟฟ้า EGAT DC Quick Charger ขนาด 120 kW ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการที่ต้องการลงทุนสถานีอัดประจุไฟฟ้าได้ โดย กฟผ. จะนำผลิตภัณฑ์นี้ออกใช้งานในเชิงพาณิชย์ภายในไตรมาส 3 ปีนี้

4.ระบบบริหารจัดการเครือข่ายสถานีอัดประจุไฟฟ้า “BackEN หรือ Backend EGAT Network Operator Platform” ที่จะเชื่อมโยงระบบนิเวศของยานยนต์ไฟฟ้าทั้งหมด ทั้งระบบผลิตและส่งไฟฟ้า สถานีอัดประจุไฟฟ้า ยานยนต์ไฟฟ้า และผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้า เข้าด้วยกัน ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการในภาพรวมเกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีเสถียรภาพ และมั่นคง ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ได้มาตรฐานและระบบวิเคราะห์ทางเทคนิคที่พร้อมให้บริการตลอด 24 ชม.

ผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดนี้ พร้อมให้บริการประชาชนทุกคนในปี 2564 นี้อย่างแน่นอน โดย กฟผ. พร้อมเปิดรับพันธมิตรจากทุกภาคส่วนที่ต้องการพัฒนาธุรกิจ เพื่อร่วมกันสร้างการเติบโตให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าและขับเคลื่อนประเทศไทยสู่สังคมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ โดยขอเชิญชวนผู้ที่สนใจเข้าชมข้อมูลธุรกิจเพิ่มเติม ได้ที่ www.elexaev.com

ด้านคุณกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า รถยนต์ไฟฟ้า คือ เทรนด์และเทคโนโลยีที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลก โดยพบว่า ยอดขายรถยนต์ไฟฟ้าทั่วโลก ตั้งแต่ปี 2553 – 2563 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อันเนื่องมาจากแรงผลักดันที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านโลก จากเดิมที่เต็มไปด้วยรถยนต์สันดาปภายใน กลายเป็นโลกแห่งยานยนต์ไฟฟ้าที่ประกอบไปด้วย 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 

1.เทคโนโลยี ทั้งเทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้นทำให้รถยนต์วิ่งได้ไกลขึ้น พร้อมทั้งมีต้นทุนที่ลดลงด้วย และเทคโนโลยี AI Machine Learning ที่ทำให้ยานยนต์ก้าวเข้าสู่ยานยนต์สมัยใหม่ที่เป็นมากกว่าแค่พาหนะ 

2.ปัญหามลพิษทางอากาศ จากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของรถยนต์สันดาปภายใน ซึ่งจะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดมลพิษต่าง ๆ ทั้งก๊าซเรือนกระจก ฝุ่นละออง PM2.5 อันส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อนและเกิดภัยพิบัติที่รุนแรงมากขึ้น

3.นโยบายของนานาประเทศ ที่เห็นตรงกันถึงความสำคัญและความจำเป็นของการสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

สำหรับประเทศไทย ในฐานะที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคอาเซียน ได้เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมุ่งยกระดับให้อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และเป็นอนาคตของประเทศ โดยถือเป็นวาระสำคัญแห่งชาติ เพื่อรักษาและต่อยอดความเป็นผู้นำของฐานการผลิตยานยนต์เพื่อการส่งออกในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งท้ายที่สุดแล้วการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่มากขึ้นจะช่วยส่งเสริมและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ รวมถึงกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการสร้างและพัฒนาตลาดแรงงานใหม่ ๆ เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ โดยการเปิดตัวธุรกิจใหม่ของ กฟผ. ในวันนี้นับเป็นการรวบรวมความเชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมพลังงานไฟฟ้าที่ กฟผ. ได้ศึกษา วิจัย และพัฒนา เพื่อส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในระบบขนส่งสาธารณะ เชื่อมต่อการเดินทางล้อ ราง เรือ มาอย่างต่อเนื่อง เมื่อผนวกกำลังกับพันธมิตรค่ายรถยนต์จะทำให้เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญของประเทศไทย ให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนผ่านไปยังสังคมแห่งยานยนต์ไฟฟ้าในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย











ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...