Emergency Alert ระบบเตือนภัย ที่สหรัฐฯ ต้องทดสอบทุก 3 ปี | Techsauce

Emergency Alert ระบบเตือนภัย ที่สหรัฐฯ ต้องทดสอบทุก 3 ปี

อุ่นใจที่มีระบบเตือนภัยคอยแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย แต่น่าเสียดายที่ไม่ใช่ในประเทศไทย เพราะวันนี้ (4 ต.ค. 66) รัฐบาลกลางสหรัฐฯ ทำการทดสอบระบบเตือนภัยผ่านมือถือทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบว่าระบบยังทำงานได้ดีอยู่

สหรัฐฯ ทดสอบ Emergency Alert 

ช่วง 14:20 น. ของวันนี้โทรศัพท์ของชาวอเมริกันทั่วประเทศจะได้รับข้อความเตือนภัย เพราะสำนักจัดการภาวะฉุกเฉินกลาง (FEMA) และคณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสาร (FCC) ต้องการทดสอบระบบ  Emergency Alert ว่ายังสามารถแจ้งเตือนภัยได้จริง หากเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้น

โดยระบบ Emergency Alert ที่จะถูกทดสอบนี้มีขึ้นเพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนเตรียมพร้อมกับภัยต่าง ๆ เช่น ไฟป่า พายุเฮอริเคน น้ำท่วม และพายุทอร์นาโด ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้

ซึ่งปกติแล้วตามกฎหมายได้ระบุไว้ตั้งแต่ปี 2015 ให้ FEMA ต้องทดสอบระบบ Emergency Alert อย่างน้อย 1 ครั้ง ในทุก ๆ 3 ปีเพื่อให้แน่ใจว่ายังคงทำงานได้อย่างถูกต้อง

แล้วคำว่า Emergency Alert กับข้อความเตือนภัย (SMS Alert) มันแตกต่างกันยังไง ทำไมสหรัฐฯ ใช้คำว่า Emergency Alert ทั้ง ๆ ที่ส่งข้อความผ่านทาง SMS ?

Emergency Alert และ SMS เตือนภัย ต่างกันอย่างไร

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจยังสับสนระหว่าง Emergency Alert และ SMS เตือนภัย ว่าทั้ง 2 สิ่งนี้เหมือนหรือต่างกันอย่างไร ? ในความจริงแล้วทั้ง 2 อย่างมีจุดประสงค์ในการใช้งานที่เหมือนกัน คือ การแจ้งเตือนให้ผู้คนได้รับรู้ว่ามีเหตุการณ์ฉุกเฉินหรือร้ายแรงเกิดขึ้น จะได้เตรียมตัวรับมือได้ทัน

โดยระบบการแจ้งเตือนเหล่านี้ไม่ได้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง เพียงแค่ว่าเป็นระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นไปเพื่อให้เข้ากับเทคโนโลยีในแต่ละสมัยเท่านั้นเอง ซึ่งสามารถอธิบายได้ง่าย ๆ ดังนี้

Emergency Alert System (EAS):  เป็นระบบเตือนภัยขนาดใหญ่ที่รัฐบาลใช้เพื่อส่งข้อความเตือนประชาชนเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น สภาพอากาศเลวร้าย หรือคนหาย โดยระบบนี้ยังสามารถส่งไปแค่ในพื้นที่ที่เกิดเหตุร้ายได้ และมักถูกใช้เมื่อมีเหตุฉุกเฉินระดับชาติ เช่น ภัยพิบัติ หรือวิกฤติใหญ่ โดยผู้นำประเทศก็จะใช้ระบบนี้เพื่อพูดคุยกับสาธารณชน 

ระบบ EAS พัฒนามาจากการกระจายเสียงเตือนภัยแบบเก่าซึ่งอาจจะไม่สามารถกระจายข่าวได้ทันที ดังนั้นในปี 1990 จึงได้เปลี่ยนมาใช้ EAS เป็นมาตรฐานระบบการแจ้งเตือนภัย ซึ่งจะแจ้งเตือนผ่านวิทยุและโทรทัศน์ โดยผู้ที่ให้บริการ EAS ได้แก่ สถานีวิทยุและโทรทัศน์ ผู้ให้บริการเคเบิล บริษัทวิทยุและโทรทัศน์ผ่านทางดาวเทียม เป็นต้น

SMS Alert System: แต่ในปัจจุบันมีเทคโนโลยีใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย โดยเฉพาะสมาร์ตโฟนและโซเชียลมีเดีย ที่ช่วยให้เราสามารถสื่อสารกับสาธารณชนได้ในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้รูปแบบของระบบแจ้งเตือนก็พัฒนาตามไปด้วย

จากการกระจายผ่านข้อความบนวิทยุและโทรทัศน์ตามหลัก EAS จึงพัฒนามาเป็นข้อความที่รัฐบาลส่งทาง SMS เนื่องจากสมาร์ตโฟนเป็นอุปกรณ์ที่ประชาชนเกือบทุกคนมีในสมัยนี้ และเข้าถึงพวกเขาได้รวดเร็วมากที่สุด

หากมองกลับมาที่ประเทศไทยจากหลายเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้น ประเทศของเรายังไม่มีระบบแจ้งเตือนความปลอดภัยที่เป็นรูปธรรมจากรัฐบาล การรับรู้ข่าวสารของคนไทยจึงต้องติดตามจากการอัปเดตผ่านทางโซเชียลมีเดีย เช่น Twitter หรือ Facebook

ซึ่งการรับข้อมูลข่าวสารจากช่องทางเหล่านี้แม้จะรวดเร็วก็จริง แต่ก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับข่าวปลอมหรือข้อมูลที่ปลุกปั่น ดังนั้น หากรัฐบาลของไทยมีระบบเตือนภัยเป็นของตัวเอง ก็อาจยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยของประเทศไทยขึ้นไปอีกขั้น ผ่านการใช้ประโยชน์จาก เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว ในยุคปัจจุบัน

อ้างอิง: zdnet, fcc.gov, nap.nationalacademies

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยมีระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติ ตอนนี้ SMS เตือนภัยใช้ได้แล้ว! Cell Broadcast มาแน่ปีหน้าไตรมาสสอง

ประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการเตือนภัยพิบัติ ด้วยการเปิดตัวระบบแจ้งเตือนภัยพิบัติผ่าน SMS ที่แบ่งระดับความรุนแรงถึง 5 ระดับ และที่น่าสนใจยิ่งกว่าคือ ระบบเตือนภัยฉุกเฉิน Cel...

Responsive image

Grab มุ่งหน้าสู่ 'องค์กร AI' นำ AI และ ML มาช่วยยกระดับผู้ใช้ ไรเดอร์ ร้านค้า พนักงาน และสิ่งแวดล้อม

แกร็บ ประเทศไทย ประกาศตัวมุ่งสู่การเป็น 'องค์กร AI' โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI-led Organization) พร้อมเผยแนวทางการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาและเพื่...

Responsive image

ประกาศตั้งโรงงานชิปต้นน้ำแห่งแรกของไทย รองรับการเติบโตของ EV, Data Center

บีโอไอสนับสนุนโครงการร่วมทุนระหว่าง ฮานา และ ปตท. ในการสร้างโรงงานผลิตชิปซิลิคอนคาร์ไบด์แห่งแรกของไทย ในจังหวัดลำพูน...