Experian เผยคนไทยเน้นความปลอดภัยสำหรับบริการบน Digital Platform มากที่สุด

  • Experian บริษัทด้านการให้บริการข้อมูลระดับโลก เผยรายงาน Global Identity an Fraud Report ประจำปี 2019
  • พบไทยให้ความสำคัญในประเด็นด้านความปลอดภัยของการใช้บริการออนไลน์ ความโปร่งใสในการใช้ข้อมูล และมั่นใจในการรักษาความปลอดภัยแบบ Biometric
  • ธุรกิจไทยลงทุนในเทคโนโลยีที่แสดงความโปร่งใสเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

Experian บริษัทผู้ให้บริการเกี่ยวกับข้อมูลระดับโลก เผยรายงานผลสำรวจ Global Identity and Fraud Report ประจำปี 2019 ว่าด้วยความคิดเห็นต่อการใช้งานบริการบน Digital Platform ในอุตสาหกรรมต่างๆ ยกตัวอย่าง ภาคการเงิน ภาคโทรคมนาคม ภาคค้าปลีกและ E-Commerce เป็นต้น

รายงานดังกล่าวสำรวจจากกลุ่มตัวอย่าง 5,699 ราย จาก 592 องค์กรทั่วโลก ส่วนในไทยได้ทำการสำรวจผู้ใช้งานราว 546 คน และองค์กรธุรกิจ 50 องค์กร ทั้งยังมีการสัมภาษณ์เจาะลึกกับผู้บริหารองค์กรระดับสูงด้วย

Mr.Dev Dhiman, Managing Director, Southeast Asia and Emerging Market, Experian ระบุว่า “ด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างธุรกิจและผู้บริโภคที่เกิดขึ้นผ่านช่องทางดิจิทัล จึงจำเป็นต้อสร้าง Ecosystem ที่โดดเด่นด้วยความปลอดภัยและไว้วางใจซึ่งกันและกันได้ ผู้บริหารในองค์กรจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องลงทุนในเรื่อง Digital Identity และ Fraud Management เพื่อทำให้ใช้ศักยภาพของ Digital Economy ได้เต็มที่”

Mr.Dev Dhiman, Managing Director, Southeast Asia and Emerging Market, Experian

“ผู้บริโภคมองหาองค์กรที่ยกระดับมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการติดต่อสื่อสารบนออนไลน์ รวมถึงมองหาวิธีการใช้ที่ง่ายขึ้น หนึ่งในวิธีที่พิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพและได้รับผลตอบรับดี คือ Biometric Identification ที่เพิ่มความเร็วและลดความซับซ้อนของกระบวนการตรวจสอบสำหรับผู้บริโภค” Mr.Dev กล่าว

Experian มีภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด ทั้งยังเน้นในภูมิภาคนี้ด้วยการตั้งฐานปฏิบัติการในแต่ละประเทศอย่างจริงจัง รวมถึงในประเทศไทย โดยตั้งเป้าเติบโตทั้งรายได้และขนาดขององค์กรภายในปีนี้

ทั้งนี้ ใน Report ของ Experian ระบุในประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับความต้องการและความคาดหวังในการใช้งาน Digital Platform ดังนี้

  • ทั้งเอเชียแปซิฟิกและประเทศไทยให้ความสำคัญกับเรื่องความปลอดภัยเป็นอันดับหนึ่งถึง 71 เปอร์เซ็นต์ และ 69 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ
  • ภาคธุรกิจในประเทศไทยราว 40 เปอร์เซ็นต์ ระบุว่าเคยมีประสบการณ์จัดการควมสูญเสียจากข้อผิดพลาดของธุรกรรมดิจิทัล ในช่วงปีที่ผ่านมา ซึ่งเสียทั้งเงินและความน่าเชื่อถือ
  • 63 เปอร์เซ็นต์ ของธุรกิจในประเทศไทยระบุว่าเก็บข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อใช้ในการออกแบบบริการของแต่ละคน ทั้งยังระบุว่า ยิ่งมีข้อมูล ก็จะยิ่งลดโอกาสผิดพลาดในการยืนยันตัวตนได้มากขึ้น
  • ผู้บริโภคในไทย 84 เปอร์เซ็นต์เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยจากชีวอัตลักษณ์ (ลายนิ้วมือ ม่านตา ใบหน้า) และราว 80 เปอร์เซ็นต์เชื่อมั่นในระบบรักษาความปลอดภัยจากชีวพฤติกรรม (ลักษณะและความถี่ในการพิมพ์ การวางนิ้ว เป็นต้น)
  • คนไทยเชื่อใจที่จะให้ข้อมูลกับภาคธุรกิจอย่างผู้ให้บริการช่องทางจ่ายเงินและธนาคาร รวมถึงภาครัฐ มากกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
  • ผู้บริโภคไทยมองว่าความโปร่งใสของธุรกรรมมีความจำเป็นมากที่สุด และภาคธุรกิจในไทยก็ตอบรับด้วยการมีแผนลงทุนเพื่อเสริม Solution ด้านความโปร่งใสมากเป็นอันดับ 2 ของภูมิภาค
  • ผู้บริโภคชาวไทยชื่นชอบที่จะแบ่งปันข้อมูลจาก Platform กลางมากกว่าเข้าสู่กระบวนการกรอกข้อมูล ดังนั้นระบบ Digital ID จึงน่าจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลที่ดีในอนาคตอันใกล้

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมสถานีชาร์จ EV ของ PEA บนเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เทศกาลสงกรานต์มาถึงแล้ว หลายคนคงเตรียมออกเดินทางทั้งกลับบ้าน แต่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อาจกังวลเรื่องจุดชาร์จระหว่างทาง Techsauce จึงรวบรวมจุดให้บริการสถานีชาร์จ EV ทั่วประเท...

Responsive image

วิจัยพบ AI ไม่ได้คิดอย่างที่พูด แม้จะโชว์วิธีคิดยาวเหยียด แต่ซ่อนความคิดที่แท้จริงไว้ไม่บอกใคร

ตอนนี้มี AI ประเภทใหม่ที่เรียกว่าโมเดลจำลองการให้เหตุผล (SR Model) ซึ่งถูกสร้างมาให้โชว์วิธีคิดทีละขั้นตอน เวลาเราถามคำถามยากๆ AI จะอธิบายออกมาเป็นขั้นเป็นตอนว่าคิดด้วยวิธีไหน ถึงไ...

Responsive image

เปิดตัว Llama 4 โมเดล AI ที่ฉลาดที่สุดของ Meta ทำอะไรได้บ้าง แต่ละโมเดลต่างกันอย่างไร ?

Meta ได้เปิด Llama 4 ซึ่งเป็น AI เวอร์ชันอัปเดตล่าสุดอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนี้มีโมเดลใหม่ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ Llama 4 Scout, Llama 4 Maverick และ Llama 4 Behemoth โดยทาง Meta เป...