Facebook ได้ทำการขอนัดพูดคุยกับธนาคารแห่งประเทศไทยในเรื่องสกุลเงินใหม่ที่กำลังเกิดขึ้นอย่าง ‘Libra’ เนื่องจากปัจจุบันมีผู้ใช้งาน Facebook กว่า 50 ล้านคนในไทย
คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยว่า การนัดพูดคุยจะมีกำหนดการออกมาในเร็วๆ นี้ โดยทางธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ทำการจัดเตรียมทีมงานที่จะทำการศึกษาด้าน "stablecoin" ของ Facebook และเอกสารทางการเงิน และทางทีมยังประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญในหลายด้านตั้งแต่ด้านบริการชำระเงินไปจนถึงด้านกฏหมาย
ล่าสุด Facebook ได้เข้าพูดคุยกับหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลก ทั้งธนาคารกลางสหรัฐและธนาคารกลางสิงคโปร์ซึ่งจัดเป็นธนาคารกลางแห่งแรกๆ ที่เข้าพูดคุยเกี่ยวกับแผนการของสกุลเงินดิจิทัล เนื่องจากการเปิดตัวล่าสุดของ Libra โดย Facebook จะเป็นก้าวใหม่ของบริษัทที่จะเข้าสู่การบริการด้านการเงินออนไลน์ โดยจากรายงานของ Facebook ระบุว่า Libra จะสามารถใช้ได้จริงและเข้าไปอยู่ในการเป็นเงินฝากของธนาคาร อีกทั้งได้รับการดูแลจากหน่วยงานรัฐเพื่อทำให้สกุลเงินมีความมั่นคงและใช้ในการลงทุนและชำระได้
ด้วยจำนวนผู้ใช้ Facebook หลายล้านคนและความร่วมมือจากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการชำระเงินอย่าง Visa คาดว่า Libra จะมีศักยภาพพอสำหรับใช้ในการทำธุรกรรมทางการเงินและขยายการเข้าถึงธนาคาร อย่างไรก็ตามหน่วยงานกำกับดูแลทั่วโลกยังคงระมัดระวังการใช้งานต่อไป ประเทศไทยคือหนึ่งในฐานสำคัญของ Facebook ในเอเชีย
คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา กล่าวเสริมว่า “ประโยชน์และความเสี่ยงของผู้ใช้งานสกุลเงินดิจิทิลคือเรื่องหลักที่ทางธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความสนใจ เราจะทำการศึกษารูปแบบของสกุลเงิน กลไก และความปลอดภัย เพื่อปกป้องผู้ใช้งานหากเกิดปัญหาขึ้น”
นอกจากนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยได้ร่วมมือกับธนาคารกลางในภูมิภาคอื่น ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินใหม่และสร้างแพลตฟอร์มสำหรับใช้ร่วมกัน ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยลดความยุ่งยากในการทำธุรกรรมทางการเงินและเสริมสร้างความปลอดภัยเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับสกุลเงินใหม่รวมถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับธนาคารทั่วโลก ภายใต้ความร่วมมือระดับทวิภาคีในการชำระเงินด้วย QR code อีกทั้งในตอนนี้ ประเทศไทยกำลังพัฒนาบริการการชำระเงินข้ามประเทศกับประเทศกัมพูชาซึ่งคาดว่าจะดำเนินการในปีนี้ และบริการนี้ได้เปิดใช้แล้วระหว่างประเทศไทย ลาว และสิงคโปร์
“ไม่ได้มีการกำหนดกรอบเวลาที่ชัดเจนในตอนนี้สำหรับการให้บริการทั่วทั้งภูมิภาค แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของแต่ละประเทศ อย่างปัจจัยต่างๆ ของเศรษฐกิจในด้านพฤติกรรมทางการเงินของผู้บริโภค, การพัฒนาเศรษฐกิจ, ระบบนิเวศ, กฎระเบียบและกฎหมายดังนั้นมันจะค่อยๆได้รับการพัฒนา" คุณสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา กล่าว
ธนาคารแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะอนุญาตให้สถาบันการเงินนำเสนอ e-Know Your Customer (e-KYC) โดยใช้เทคโนโลยีไบโอเมตริกซ์ในการเปิดบัญชีเงินฝากใหม่ในเดือนนี้ โดยจะมีการเปิดตัวบริการดังกล่าวที่งาน Bangkok Fintech Fair ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2019
อ้างอิง: Bangkokpost
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด