foodpanda ตั้ง MD คนใหม่ในไทย 'โทมัส วอน โมสเนอร์' ชู 4 กลยุทธ์สู้ตลาดเดลิเวอรี่ เตรียมใช้ AI เสริมแกร่งการให้บริการ | Techsauce

foodpanda ตั้ง MD คนใหม่ในไทย 'โทมัส วอน โมสเนอร์' ชู 4 กลยุทธ์สู้ตลาดเดลิเวอรี่ เตรียมใช้ AI เสริมแกร่งการให้บริการ

foodpanda แอปพลิเคชันจัดส่งอาหาร และของกินของใช้ แต่งตั้งนาย โทมัส วอน โมสเนอร์ ดำรงตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการ (Managing Director) ประจำ foodpanda ประเทศไทย มีผลวันที่ 1 ธันวาคม 2567 เป็นต้นไป

โดยนายโทมัสจะรับผิดชอบการบริหารธุรกิจ และขับเคลื่อนองค์กรอย่างเต็มรูปแบบ รวมไปถึงการวางกลยุทธ์ การพัฒนา และต่อยอดธุรกิจต่างๆ ของ foodpanda ในประเทศไทย ซึ่งครอบคลุม 7 บริการคือ 

  1. บริการจัดส่งอาหาร (food delivery) 
  2. บริการจัดส่งของกินของใช้ foodpanda shops 
  3. บริการรับเองที่ร้าน (pick-up) 
  4. บริการส่งพัสดุ (pandago) 
  5. บริการแพ็กเกจสมาชิกรายเดือน pandapro 
  6. บริการ panda ads โฆษณาบนแอปฯ foodpanda 
  7. บริการ foodpanda corporate สำหรับลูกค้าองค์กร

นายโทมัส ร่วมงานกับ foodpanda ประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2558 มีบทบาทสำคัญในการขยายการให้บริการ foodpanda จากในกรุงเทพฯ ไปสู่จังหวัดอื่นๆ เป็นเจ้าแรก รวมถึงการขยายตลาดระดับภูมิภาคด้วยการนำ foodpanda ไปสู่ประเทศอื่น เช่น ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บังคลาเทศ ปากีสถาน แคมโบเดีย ลาว เมียนมาร์ และญี่ปุ่น

foodpanda ภายใต้การนำทัพของนายโทมัส จะพุ่งตรงไปที่ 4 กลยุทธ์หลัก ดังนี้

1.ขยายตัวเลือกอาหารที่หลากหลาย (Food Choice): ร่วมมือกับร้านอาหารยอดนิยม ทั้งอาหารนานาชาติ อาหารท้องถิ่น และอาหารที่กำลังเป็นกระแส เพื่อมอบตัวเลือกอาหารที่หลากหลายให้แก่ลูกค้า foodpanda จะเพิ่มจำนวนร้านอาหารให้ครอบคลุม เพื่อให้ลูกค้าทุกคนสามารถค้นหาเมนูโปรดหรือค้นพบรสชาติใหม่ ๆ ได้

2.ยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้เหมาะกับบุคคล (Personalizaton UX): ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแนะนำเมนูตามความชอบของลูกค้าและประวัติการสั่งซื้อ เราตั้งเป้าที่จะยกระดับประสบการณ์การใช้งาน foodpanda ให้ตรงกับความต้องการเฉพาะของลูกค้า ทำให้การสั่งอาหารของกินของใช้ง่ายและน่าสนุกยิ่งขึ้น

3.เสริมความแข็งแกร่งให้บริการจัดส่งทั่วประเทศ (Nationwide Services): เพื่อตอกย้ำว่า foodpanda คือแอปพลิเคชันฟู้ดเดลิเวอรี่เจ้าแรก ที่ขยายบริการไปทั่วประเทศ เราจะพัฒนามาตรฐานบริการ ด้วยการพัฒนาระบบโลจิสติกส์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดส่ง และเข้าถึงพื้นที่ที่ยังไม่ได้รับบริการ

4.ใช้ AI และเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาบริการ (AI and Technolg): ผสานรวม AI และโซลูชันเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพเส้นทางการจัดส่ง ปรับประสบการณ์ลูกค้าให้เหมาะสม เราตั้งเป้าที่จะยกระดับบริการให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ดียิ่งกว่าเดิม

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Meta ทุ่ม 3.45 แสนล้านสร้างสายเคเบิลใต้ทะเล ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร

Meta กำลังวางแผนสร้างสายเคเบิลใยแก้วนำแสงใต้ทะเลขนาดใหญ่ที่มีระยะทางกว่า 40,000 กิโลเมตร โดยคาดว่าจะใช้งบประมาณมากกว่า 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือราว 3.45 แสนล้านบาท...

Responsive image

SCB เปิดตัว EASY Store บริการการเงินเฉพาะบุคคลครั้งแรกในไทย ผ่าน 'AI ที่รู้ใจยู' สร้างประสบการณ์ใหม่ที่ง่ายและตรงใจ

ในยุคดิจิทัลที่ความต้องการทางการเงินของลูกค้าเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตอกย้ำบทบาทผู้นำดิจิทัลแบงก์กิ้ง ด้วยการเปิดตัว EASY Store ศูนย์รวมบริการทางการเงินเฉพาะ...

Responsive image

ม.มหิดล ผลักดันแหล่งทุนสตาร์ทอัพฯ iNT บ่มเพาะ สานต่อนวัตกรรมยุคใหม่สู่สังคม

หากเปรียบสตาร์ทอัพคือ “นักรบเศรษฐกิจใหม่” ที่จะมาช่วยพลิกประเทศให้มีความเจริญเติบโตมากขึ้น การปั้นนักรบให้มีอาวุธที่แหลมคมและมีคลังเสบียงอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้น การเร...