ทำความรู้จัก ‘G-Able’ ผู้นําด้าน Tech Enabler หุ้น IPO น้องใหม่ ที่ต้องจับตา | Techsauce

ทำความรู้จัก ‘G-Able’ ผู้นําด้าน Tech Enabler หุ้น IPO น้องใหม่ ที่ต้องจับตา

จากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ทุกภาคส่วนล้วนมีการปรับตัว พร้อมกับเปิดรับเทคโนโลยีดิจิทัลให้เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินงาน และชีวิตประจำวันมากขึ้น

G-Able

เห็นได้จากการคาดการณ์ว่า มูลค่าตลาด Global Digital Transformation ทั่วโลก เติบโตโดยเฉลี่ย 21% ระหว่างปี 2565 ถึงปี 2570 นอกจากนี้ข้อมูลของ Gartner ยังระบุถึงการใช้จ่ายด้าน IT ในประเทศไทย โดยมีการคาดการณ์จะเติบโตโดยเฉลี่ย 14% ระหว่างปี 2563 ถึง 2569

ส่งผลให้ภาคธุรกิจต้องเรียนรู้ที่จะปรับตัวเพื่อก้าวสู่การเติบโตและสร้าง momentum ให้กับธุรกิจ เพราะเทคโนโลยีเปรียบเสมือน Enabler ที่จะช่วยสร้างคุณค่าใหม่ เช่น การนำเทคโนโลยีมาช่วยวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ ช่วยในการตัดสินใจวางแผนทางธุรกิจ เชื่อมโยงพนักงาน ให้ทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงช่วยหา New S-Curve 

แต่ที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการนำเทคโนโลยีมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับธุรกิจในโลกยุคดิจิทัลนั้นกลับไม่ได้ Success ตามที่ตั้งเป้าไว้ นั่นก็เพราะบางครั้งหลายองค์กรอาจจะยังไม่รู้ว่า เทคโนโลยีใดที่เหมาะกับองค์กรของตน 

รวมทั้งคนในองค์กรอาจจะยังไม่เข้าใจว่าเทคโนโลยีเหล่านั้นจะมาช่วยในการทำงานของพวกเขาให้ดีขึ้นได้อย่างไร นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไม ? จะต้องมี Tech Enabler ที่จะเข้ามาช่วยขับเคลื่อนองค์กร

ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้นอกจาก ‘บริษัท จีเอเบิล จํากัด (มหาชน) หรือ G-Able’ ผู้นําด้าน "Tech Enabler" ที่ไม่ใช่แค่ System Integrator ทั่วไป แต่จะเป็น Business and Technology Enabler ที่เข้าไปช่วยให้ลูกค้าคิดนอกกรอบ และสร้างแผนการเติบโตต่อยอดทางธุรกิจได้อย่างไม่มีขีดจำกัด ซึ่งถือเป็น Big Player ในวงการไอทีของไทยมานานกว่า 33 ปี ผ่านการขับเคลื่อนด้วยแนวคิด Possible Simple ที่ช่วยยกระดับธุรกิจสู่ยุคดิจิทัลในทุกมิติกับการให้บริการโซลูชั่นระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัลอย่างครบวงจร

     G-Ableเปิด 3 บริการหลักของ G-Able

และเพื่อให้เห็นภาพของธุรกิจ G-Able ทั้งหมด สามารถแบ่ง Core Business ออกเป็น 3 ด้านดังนี้

1) ธุรกิจให้บริการโซลูชั่นระดับองค์กร (Enterprise Solution and Services) 

ให้คำปรึกษา ออกแบบ ติดตั้ง และจัดจำหน่าย ตลอดจนการบริการบำรุงรักษาและบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง โดยสามารถแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ เป็น 5 กลุ่มโซลูชั่น ได้แก่ โซลูชั่นด้านระบบคลาวด์และดาต้าเซ็นเตอร์ โซลูชั่นด้านระบบความปลอดภัยทางไซเบอร์ โซลูชั่นด้านระบบจัดการข้อมูลและการวิเคราะห์ โซลูชั่นด้านธุรกิจดิจิทัล และโซลูชั่นด้านการบริหารจัดการระบบสารสนเทศ

2) กลุ่มธุรกิจโซลูชั่นที่เป็นตัวแทนจําหน่ายและสร้างมูลค่าเพิ่ม (Value-added Distribution) 

ประกอบธุรกิจตัวแทนจำหน่ายระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านบริษัท เฟิร์ส ลอจิก จำกัด (First logic) ซึ่งเป็นตัวแทนหลักในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชั้นนำต่างๆ จาก Oracle และ Veritas ซึ่งเป็นผู้พัฒนาเทคโนโลยีสำหรับการใช้งานในระดับองค์กรซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากผู้ใช้งานทั่วโลกมาแล้วอย่างยาวนาน

3) กลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม (Software Platform)

ซึ่งเกิดจากการนำเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นภายในองค์กรมาต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม และพัฒนาเป็นธุรกิจใหม่จนเกิดเป็นกลุ่มธุรกิจบริการซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม (Software Platform) โดยปัจจุบัน G-Able เป็นผู้พัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์มของตัวเองและ Spin Off ออกมาเป็นบริษัทในเครือเพื่อให้บริการในด้านต่าง ๆ เช่น 

- แพลตฟอร์มด้าน Marketing Technology โดย บริษัท อินไซท์เอรา จำกัด (InsightEra)

- แพลตฟอร์มจัดการข้อมูล Big Data โดย บริษัท เบลนเดต้า จำกัด (Blendata) 

- แพลตฟอร์มบริหารจัดการพื้นที่เช่า โดย บริษัท เอ็มเวิร์จ จำกัด (Mverge) 

กลยุทธ์การดําเนินธุรกิจของกลุ่มบริษัทฯ

ในส่วนของกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจจะมุ่งเน้นการให้บริการโซลูชั่นที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญระดับสูง พร้อมกับขยายฐานลูกค้าไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่น และพัฒนาซอฟต์แวร์แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นเทคโนโลยีของกลุ่มบริษัทฯ อย่างต่อเนื่อง เพื่อขยายศักยภาพการให้บริการและต่อยอดความเชี่ยวชาญไปยังธุรกิจที่เกี่ยวข้อง

“ทุกวันนี้  G-Able ได้เริ่มไป Partner กับลูกค้า เพื่อวางแผนสำหรับ New S-Curve แล้ว เช่น  Partner กับ PTT Digital ในการค้นหา Trend ใหม่ๆ โดยใช้ Big Data เพื่อสร้างโอกาสในอนาคตร่วมกัน หรือจะเป็นการจับมือกับบริษัท Grey NJ ผู้นำทางด้าน Digital Media เพื่อร่วมกันสร้าง Tech-Media consultancy business และก้าวสู่เป้าหมาย ที่ G-Able ตั้ง ไว้ซึ่งนั่นก็คือ "การเป็นบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลอันดับ 1 ในประเทศไทย" 

G-Able ผู้นํา ด้าน "Tech Enabler"

ดังนั้นหากจะอธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ‘G-Able’ คือผู้ให้บริการทางด้านเทคโนโลยีและดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่นแบบครบวงจร โดยมีลูกค้าในหลาย ๆ อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ ธุรกิจการเงิน, ธุรกิจโทรคมนาคม, ธุรกิจประกันภัย, ธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตและพลังงาน รวมถึงสถาบันการศึกษาต่างๆ  รวมทั้งมีรายได้จากการให้บริการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องทำให้ Recurring Income อยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้การที่ภาพรวมอุตสาหกรรมดิจิทัลไทย ทั้งอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และอุตสาหกรรมบริการด้านดิจิทัลมีอัตราการขยายตัว และยังคงเห็นการเติบโตต่อเนื่องทุกปี ส่งผลดีต่อธุรกิจ  G-Able

ขณะที่ Backlog เติบโตในระดับสูง อยู่ถึงกว่า 4,100 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2565 

รวมจุดแข็งที่ทำให้ G-Able แตกต่างจากคู่แข่ง และเป็นบริษัทฯ ที่น่าลงทุน

หากดูทางด้าน Financial Performance บริษัทฯ มีสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่ง เพื่อรองรับการเติบโตในระยะยาว นับตั้งแต่ปี 2563-2565 โดยมี Revenue เฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 5 พันล้านบาท ไม่เว้นแม้ในช่วงการระบาดของโควิด ที่หลายๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบ 

ถัดมาในส่วนของ Margin จะเห็นได้ว่า Core business Margin เติบโตอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดตั้งแต่ปี 2563 ซึ่งปีที่ผ่านมาอยู่ที่ประมาณ 1 พันล้านบาท คิดเป็น Gross profit margin ที่ 21.2% ในขณะที่ Net Profit ก็เติบโตขึ้นทุกปี รวมถึงมีรายได้ใหม่จาก New Software Platform ที่บริษัทฯ พัฒนาขึ้นและเป็นเจ้าของ

ขณะที่ Balance Sheet จะเห็นได้ว่ามี Asset Size ขนาด 4 พันล้านบาท Return on Equity หรือ ROE อยู่ในระดับที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ผ่านมา สูงถึง 18.8% ซึ่งถือว่าเป็นผลตอบแทนที่ดีสำหรับนักลงทุน และยังมี IBD/E ที่ 0.6 เท่า ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับต่ำ แสดงให้เห็นว่ามี พื้นที่ในการขยายศักยภาพอีกมาก

ยื่นไฟลิ่งขาย IPO 175 ล้านหุ้น

ตามแผนที่วางไว้จีเอเบิล ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูลและร่างหนังสือชี้ชวน (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 175 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ 1 บาท/หุ้น คิดเป็น 25% ของจํานวนหุ้นทั้งหมดหลังการเสนอขาย

ส่วนแผนการเข้าจดทะเบียน จะเข้าจดทะเบียนในตลาด : SET หมวดธุรกิจ (sector) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยมี บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จํากัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน

ขณะที่ความสามารถการทํากําไร อัตรากําไรขั้นต้น 21.2% นโยบายการจ่ายปันผลไม่น้อยกว่า 50% 

ทั้งหมดนี้นำมาสู่ข้อสรุปของวัตถุประสงค์ของการระดมทุน เพื่อขยายธุรกิจ ด้วย 3 เป้าหมายสำคัญ คือ 

1.รองรับการเติบโตของกลุ่มบริษัทฯ และการลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องที่มีศักยภาพ เพื่อเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ และกระจายความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาดได้ 

2.ชำระคืนเงินกู้ยืมสถาบันการเงินของกลุ่มบริษัทฯ

3.รองรับเป็นเงินทุนหมุนเวียนเพื่อใช้ในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ

แผนการขยายตัวของ G-Able  แบ่งออกเป็น 3 Phase ดังนี้

ส่วนแผนการขยายตัวของ G-Able สรุปสั้นๆ ได้ว่า Phase ที่ 1 การเป็น Doer โดยขยายตัวในสิ่งที่บริษัทฯ มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว โดยมุ่งเน้นทั้งส่วนของยอดขายและ Margin ในเวลาเดียวกัน ส่วน Phase ที่ 2 ขยับไปเป็น Thinker และ Trendsetter เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าและ Margin ให้กับบริษัทฯ แล้วจึงต่อยอดสู่การขยายไปใน Phase ที่ 3 คือ การเข้าไปช่วยเป็น Game Changer ให้กับลูกค้าและร่วมลงทุนในธุรกิจใหม่ 

ดังนั้นสรุปโดยรวมแล้ว G-Able นับเป็นบริษัทเทคโนโลยีของไทยอีกรายหนึ่งที่มีความน่าสนใจ เพราะ ถือเป็นธุรกิจที่เติบโตได้ดีในทุก ๆ สถานการณ์ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

“เพราะอนาคตของการลงทุนใดๆ ก็ตามในธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัล ส่วนหนึ่งมาจากความฝันของนักคิด อีกส่วนหนึ่งมาจากผลลัพธ์ของคนที่ทำได้จริง ซึ่ง G-Able คือคนที่ทำได้ทั้ง 2 ส่วน และเราคือ Tech Enabler ที่เชื่อว่าพลังของ Technology อยู่ที่การนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อธุรกิจที่เติบโตอย่างยั่งยืน และเพื่อสังคมที่ดีกว่าที่เคยเป็นมา” ดร.ชัยยุทธ ชุณหะชา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท จีเอเบิล จำกัด (มหาชน) กล่าวทิ้งท้าย

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...