จับ 5 อันดับเทรนด์ธุรกิจพลิกโฉมภาคการผลิตทั่วโลกในปี 2021 จาก Gartner | Techsauce

จับ 5 อันดับเทรนด์ธุรกิจพลิกโฉมภาคการผลิตทั่วโลกในปี 2021 จาก Gartner

การ์ทเนอร์ อิงค์ เผย 5 อันดับเทรนด์ธุรกิจที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการผลิตทั่วโลกในปี 2564 และช่วยขับเคลื่อนธุรกิจในภาวะหยุดชะงักพร้อมขยายโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ให้กับผู้ผลิต

เทรนด์ธุรกิจ

มิเชล ดูเอิสท์ รองประธานฝ่ายวิจัย การ์ทเนอร์ กล่าวว่า “การตอบสนองแรกต่อการแพร่ระบาดทั่วโลกของผู้ผลิตหลายรายคือการเร่งนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานให้รวดเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้ว่าการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิตจะเป็นแนวทางที่ถูกต้อง แต่นั่นยังไม่เพียงพอ การ์ทเนอร์วิเคราะห์เทรนด์ที่สามารถช่วยซีไอโอและผู้บริหารด้านไอทีในอุตสาหกรรมการผลิตเตรียมพร้อมกับการหยุดชะงักในอนาคตที่คล้ายคลึงกันได้ในระยะยาวและรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ อาทิ จุดบริการลูกค้าที่ไม่เพียงพอ การเข้าสู่ตลาดหรือสินค้าไลน์ใหม่ ๆ และปัญหาการเงิน

ซีไอโอและผู้บริหารด้านไอทีสามารถสร้างกลยุทธ์ใหม่ ๆ เพื่อขับเคลื่อนองค์กรและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานเพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นให้แก่ลูกค้าได้ โดยประยุกต์ใช้ 5 เทรนด์ธุรกิจดังนี้ 

เทรนด์ 1: ผสานประสบการณ์ดิจิทัลเข้ากับตัวสินค้า (Digital + Product Experience)

Digital + Product Experience เป็นการผสมผสานระหว่างตัวสินค้าและบริการดิจิทัลเพื่อนำเสนอประสบการณ์ในรูปแบบใหม่อย่างมีเอกลักษณ์ให้แก่ลูกค้ากลุ่มธุรกิจและผู้บริโภคทั่วไป การแพร่ระบาดทำให้การสร้างปฏิสัมพันธ์และการติดต่อกับลูกค้ามีข้อจำกัดเนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มงวดและส่งผลกระทบไปทั่วโลก ดังนั้นการผสานรวมเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ากับตัวสินค้าจะช่วยลดอุปสรรคด้านการจัดการแพลตฟอร์มให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งไม่ได้เป็นเพียงบริการเสริมแต่ยังสามารถเพิ่มรูปแบบการทำธุรกิจดิจิทัลใหม่ ๆ ให้ผู้ผลิตสามารถรักษาความสัมพันธ์กับผู้บริโภคได้อย่างต่อเนื่องหลังการขาย โดยติดต่อแบรนด์ได้มากขึ้นเช่นเดียวกับผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ ของแบรนด์นั้น ๆ รวมถึงลูกค้ารายอื่น ๆ และผู้ใช้ที่มีประสบการณ์ดิจิทัล

การ์ทเนอร์คาดการณ์ในปี 2568 บริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำ 50 อันดับแรกจะลงทุนในแอปฯ ของแบรนด์ตนเองโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) และฝังเทคโนโลยีลงไปในสินค้า เพิ่มวิดีโอที่เป็นหนึ่งในข้อมูลดิจิทัล และ/หรือ ผสมผสานนวัตกรรมเข้ากับไอทีและทีมวิจัยและพัฒนา

เทรนด์ 2: ประสบการณ์ครบ จบในที่เดียว (Total Experience)

Total Experience คือ วิธีการที่ซีไอโอและผู้บริหารด้านไอทีใช้เทคโนโลยีและการโต้ตอบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการ พร้อมมอบอำนาจและความกล้าในการตัดสินใจให้แก่ทั้งลูกค้าและพนักงานเพื่อใช้เวลาได้อย่างคุ้มค่า ซึ่งการใช้แนวทางดังกล่าวนี้ ผู้บริหารด้านไอทีสามารถเลือกใช้แพลตฟอร์มที่เหมาะสมสำหรับเชื่อมต่อกับลูกค้า พันธมิตรและพนักงาน ตัวอย่างเช่น พนักงานที่มีบทบาทเป็นผู้เชี่ยวชาญแบรนด์หรือเจ้าหน้าที่ให้บริการลูกค้าและตอบคำถามต่าง ๆ 

การ์ทเนอร์คาดการณ์ในปี 2567 องค์กรที่มุ่งเน้น Total Experience จะทำผลงานได้ดีกว่าคู่แข่ง 25% โดยเฉลี่ย จากการวัดความพึงพอใจของลูกค้าและพนักงาน

เทรนด์ 3: ความร่วมมือของพันธมิตรในระบบนิเวศ (Ecosystem Partnerships)

องค์กรระดับโลกหลายรายสามารถใช้ประโยชน์จากความร่วมมือในระบบนิเวศสร้างโอกาสการเติบโตที่มากกว่าและไม่จำกัดอยู่ในตลาดขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมแต่ยังรวมไปถึงตลาดที่กำลังพัฒนา ในอุตสาหกรรมการผลิตการร่วมมือในระบบนิเวศสามารถสร้างสรรค์ไอเดียเพื่อริเริ่มอะไรใหม่ ๆ ได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อโลก เปิดโอกาสให้ชุมชนใหม่ ๆ ที่ยังพัฒนาได้อีกและยังเข้าไม่ถึงโอกาส และลดการปล่อยมลพิษผ่านการทำงานระยะไกล

การ์ทเนอร์คาดการณ์ในปี 2567 75% ของบริษัทผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคชั้นนำ 20 อันดับแรกจะจับมือร่วมกันในระบบนิเวศที่มุ่งสู่เป้าหมายการเติบโตและสร้างความยั่งยืน

เทรนด์ 4: การสร้างรายได้จากข้อมูล (Data Monetization)

Data Monetization ช่วยซีไอโอและผู้บริหารด้านไอทีในอุตสาหกรรมการผลิตวางแผนเพิ่มรายได้จากการแปลงสินค้าและให้บริการในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็วขององค์กรภาคการผลิตจะเกิดการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ผู้บริหารด้านไอทีสามารถแบ่งปันและสร้างรายได้เพิ่มจากข้อมูลจำนวนมหาศาลนี้ผ่านเครือข่ายระบบนิเวศขององค์กร ซึ่งแนวทางนี้จะช่วยให้สามารถแปลงข้อมูลเป็นทรัพย์สินและสร้างบริการใหม่ ๆ หรือนำองค์กรไปสู่ธุรกิจรูปแบบใหม่ ที่สามารถสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องแม้ธุรกิจจะหยุดชะงักจากปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ความท้าทายในด้านห่วงโซ่อุปทาน หรือการขาดแคลนทรัพยากรมนุษย์

การ์ทเนอร์คาดการณ์ภายในสิ้นปี 2567 ครึ่งหนึ่งของสินทรัพย์ขององค์กรภาคการผลิตขนาดใหญ่ระดับโลกจะประสบความสำเร็จจากการสร้างรายได้ด้วยข้อมูล

เทรนด์ 5: การให้บริการผ่านอุปกรณ์ (EaaS)

Equipment as a Service (หรือ EaaS) เป็นโมเดลเชิงพาณิชย์ที่หลายธุรกิจใช้สำหรับชำระค่าธรรมเนียมในขั้นตอนการดำเนินงานของสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นเป็นประจำแทนที่การจัดซื้ออุปกรณ์ รูปแบบลักษณะนี้ซีไอโอจะฝังเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เพื่อใช้ประโยชน์จากการออกแบบทั่วไปและปรับเฟรมเวิร์กให้เข้ากับอุตสาหกรรมเพื่อให้แน่ใจในประสิทธิภาพของสินทรัพย์และค้นหาทางแก้ไขในสินทรัพย์ที่ไม่มีประสิทธิภาพ

 การ์ทเนอร์คาดว่าในปี 2566 20% ของผู้ผลิตเครื่องมือในอุตสาหกรรมจะสนับสนุนการให้บริการผ่านอุปกรณ์ (EaaS) ด้วยการเพิ่มความสามารถการควบคุมอุตสาหกรรมระยะไกล (Industrial IoT) จากโรงงานที่เป็นฐานการผลิต ณ ปัจจุบันที่แทบจะเป็นศูนย์

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้จากรายงาน “Top 5 Strategic Business Trends in Manufacturing Industries for 2021”

บทวิเคราะห์เพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการเตรียมพร้อมและรับมือของซีไอโอและผู้บริหารด้านไอทีต่ออุปสรรคและค้นพบเครื่องมือการวางแผน กลยุทธ์ธุรกิจดิจิทัลพร้อมเทคนิคในการสร้างความสำเร็จอย่างต่อเนื่องให้กับองค์กรภายในงาน Gartner IT Symposium/Xpo 2021 งานสัมมนาระดับโลกที่สำคัญที่สุดสำหรับซีไอโอ ผู้บริหารและทีมงานด้านไอที เพื่อให้รับทราบถึงข้อมูลเชิงลึกและแนวทางที่องค์กรจะสามารถใช้ไอทีพิชิตปัญหาและปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงาน ติดตามข้อมูลข่าวสารจากสัมมนาบน Twitter โดยใช้แฮชแท็ค #GartnerSYM.

วันและสถานที่จัดงาน Gartner IT Symposium/Xpo ดังนี้:

18-21 ตุลาคม ออร์แลนโด ฟลอริด้า

25-27 ตุลาคม ซิดนีย์ ออสเตรเลีย

8-11 พฤศจิกายน บาร์เซโลนา สเปน

16-18 พฤศจิกายน โตเกียว ญี่ปุ่น

30 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม อินเดีย เวอชวล


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

จีนตรวจสอบนโยบาย Apple ต่อต้านการผูกขาดบน App Store เหตุเก็บค่าธรรมเนียมนักพัฒนาสูงถึง 30%

รัฐบาลจีนกำลังเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบบริษัทเทคโนโลยีต่างชาติ โดยล่าสุด Apple เตรียมถูกตรวจสอบจากเรื่องค่าธรรมเนียมที่สูงเกินไปและการจำกัดการแข่งขันใน App Store...

Responsive image

กล้องโทรทรรศน์ตรวจพบ Monster Radio Jet ที่เปล่งออกมาจาก Quasar ในยุคแรกของจักรวาล

นักดาราศาสตร์พบ Monster Radio Jet จาก Quasar ที่เกิดขึ้นตั้งแต่จักรวาลยุคแรก สัญญาณพลังงานที่เดินทางมานานกว่า 13,000 ล้านปี อาจเป็นกุญแจไขความลับ จุดกำเนิดของจักรวาล และวิวัฒนาการข...

Responsive image

Amazon ประกาศเพิ่มงบ 3.4 ล้านล้านบาท เร่งลงทุน AI หวังคว้า "โอกาสทอง"

Amazon ประกาศ เพิ่มงบลงทุนเป็น 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 3.4 ล้านล้านบาท) ในปี 2025 ซึ่งสูงกว่าปีที่แล้วที่ใช้ไป 8.3 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยเน้นหนักไปที่ AI และโครงสร้างพื้นฐานด้า...