GSMA เตือน กสทช. ไทยตั้งราคาประมูลคลื่นความถี่สูง ทำผู้ใช้บริการมือถือได้รับผลกระทบด้านคุณภาพ | Techsauce

GSMA เตือน กสทช. ไทยตั้งราคาประมูลคลื่นความถี่สูง ทำผู้ใช้บริการมือถือได้รับผลกระทบด้านคุณภาพ

สมาคมจีเอสเอ็ม (GSM Association: GSMA) ตัวแทนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เตือน กสทช. ไทยตั้งราคาประมูลสุดท้ายของคลื่นความถี่ที่สูง ส่งผลต่อความครอบคลุมและราคาในการให้บริการมือถือ ทำให้ผู้ใช้บริการต้องแบกรับต้นทุนค่าใบอนุญาตที่สูง จนไม่สามารถนำมาพัฒนาความครอบคลุมของสัญญาณ ความเร็ว และคุณภาพในการให้บริการได้ พร้อมเตือน กสทช. ไทยต้องไม่ผลักภาระการทำงานรักษาความปลอดภัย และระบบป้องกันคลื่นรบกวน มาให้ผู้บริการเครือข่าย แต่ภาครัฐและ กสทช. ควรเป็นผู้เข้ากำกับดูแลและจัดการเรื่องนี้ให้เรียบร้อย

สมาคมจีเอสเอ็ม (GSM Association: GSMA) ตัวแทนผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลก เชื่องโยงเข้ากับผู้ให้บริการ 800 ราย และบริษัทมากกว่า 300 รายใน Ecosystem ด้านการสื่อสารเคลื่อนที่เผยรายงาน "การกำหนดราคาคลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนา" (Spectrum pricing in developing countries) ระบุประชากร 4 พันล้านคนยังไม่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ และการตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายคลื่นความถี่ที่ยังไม่ชัดเจน และการกำหนดราคาคลื่นความถี่ที่สูงจนเกินไป กลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาด้านดิจิทัลโดยรวมของประเทศนั้นๆ

รายงานฉบับดังกล่าว GSMA ทำการศึกษาจากผู้ให้บริการกระจายคลื่นความถี่มากกว่า 1,000 รายการใน 102 ประเทศ (ประกอบด้วย 60 ประเทศที่กำลังพัฒนาและ 42 ประเทศที่พัฒนาแล้ว) ตั้งแต่ปี 2010 จนถึงปี 2017 โดยเน้นศึกษาข้อมูลในประเทศที่การออกใบอนุญาตคลื่นความถี่เป็นหลัก

ข้อค้นพบสำคัญจากรายงาน

1. ปี 2010-2017 ราคาประมูลคลื่นความถี่สุดท้าย (Spectrum Price) ในประเทศกำลังพัฒนา สูงกว่าราคาในประเทศที่พัฒนาแล้วถึง 3 เท่า เมื่อปรับค่า GDP ต่อหัวแล้ว โดยสังเกตว่าตรงดอกจัน จะพบว่ากราฟตรงส่วนที่เพิ่มสูงขึ้นระหว่างปี 2014-2016 มีสาเหตุมาจากการออกใบอนุญาตคลื่นความถี่ที่มีราคาสูงในอินเดีย, แอฟริกา และประเทศแถบตะวันออกกลาง

ถึงแม้ว่าในปี 2017 ราคาประมูลความถี่ในประเทศกำลังพัฒนาจะลดลงมาเป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังถือว่ามากกว่าราคาของประเทศพัฒนาแล้วอยู่ดี

2. ราคาจองประมูล (Reserve Price) คลื่นความถี่ในประเทศกำลังพัฒนา สูงกว่าราคาในประเทศที่พัฒนาแล้วถึง 5 เท่า ซึ่งราคาเปิดประมูลนี้ภาครัฐมีส่วนสำคัญในการกำหนดราคาให้ถูกหรือแพงได้ ซึ่งในช่วงปี 2014-2016 ราคาในประเทศกำลังพัฒนาก็มีการเพิ่มขึ้นเช่นกัน

3. หากราคาเปิดประมูลสูง จะส่งผลให้เกิดราคาค่าบริการที่แพงขึ้น รวมถึงความเร็วของอินเทอร์เน็ตและความครอบคลุมของคลื่นก็จะต่ำลงด้วย ถือเป็นจุดสำคัญที่มีผลกระทบต่อประชาชนหรือผู้บริโภค ซึ่งรัฐต้องเข้ามาช่วยเหลือตรงนี้

สรุปรายงาน

1. ราคาประมูลขั้นสุดท้ายในประเทศกำลังพัฒนา สูงกว่าราคาประมูลในประเทศพัฒนาแล้วพอสมควร

2. รัฐมีส่วนในการทำให้ราคาประมูลสูงขึ้น 3 ทาง

  • กำหนดราคาจองการประมูลให้สูงเอง
  • จำกัดจำนวนใบอนุญาตที่ออกให้
  • ไม่ประกาศแผนการเปิดประมูลคลื่นความถี่ ทำให้เกิดความไม่แน่นอนจากแผนพัฒนาที่ไม่ชัดเจน
  • กฎระเบียบที่ไม่เหมาะสม เช่น รูปแบบการประมูลที่จำกัดการกำหนดราคาตลาด หรือการกำหนดราคาในอนาคต

3. ราคาประมูลสุดท้ายสูง ส่งผลต่อความครอบคลุมและราคาในการให้บริการมือถือ ซึ่ง GSMA เกรงว่าแนวทางนี้จะไม่ทำให้เกิดความยั่งยืนในไทย ทำให้ผู้ใช้บริการต้องแบกรับต้นทุนค่าใบอนุญาตที่สูง จนไม่สามารถนำมาพัฒนาคุณภาพในการให้บริการ ความเร็ว และความครอบคลุมของสัญญาณได้


อ่านเพิ่มเติม


ข้อเสนอแนะจาก GSMA ต่อประเทศไทย

1. ต้องไม่ผลักภาระการทำงานรักษาความปลอดภัย และระบบป้องกันคลื่นรบกวน มาให้ผู้บริการเครือข่าย แต่ภาครัฐควรเป็นผู้เข้ากำกับดูแลและจัดการเรื่องนี้ให้เรียบร้อย

2. ลดเงื่อนไขแก่ผู้ให้บริการมือถือ ถ้าต้องการให้คลื่นสำหรับรถไฟฟ้าความเร็วสูงอย่าง GSM-R อยู่ชิดกับคลื่นมือถือที่จะเปิดให้ประมูล ก็ควรมีการลดราคาให้มากกว่านี้ เพื่อที่จะได้มีการเตรียมการป้องกันคลื่นรบกวน GSM-R หรือระบบอาณัติสัญญาณที่เกี่ยวข้อง

3. มีกลไลต่ออายุของคลื่นความถี่ที่ได้รับประมูลไป เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้ให้บริการในเรื่องของการลงทุนด้านความถี่ แต่ราคาจองประมูลที่สูง และกฎระเบียบที่เปลี่ยนไปมา ทำให้ประชาชนและผู้ให้บริการมือถือเกิดความไม่มั่นใจต่อบริการที่จะได้รับในอนาคต

ต่างประเทศทำอย่างไรให้ราคาประมูลคลื่นมีความเหมาะสม

ถึงแม้หลักการ แนวคิด หรือปรัชญาในการจัดการคลื่นความถี่ในฝั่งตะวันตกกับประเทศไทย จะต่างกัน แต่การนำ Case Study มาสรุปให้ภาครัฐของประเทศไทยก็เป็นเรื่องที่น่าสนใจไม่น้อย GSMA ระบุวิธีการทำให้ราคาในการประมูลคลื่นมีความเหมาะสมไว้ดังนี้

1. กำหนดราคาจองและค่าธรรมเนียมรายปีให้สมเหตุสมผล โดยกำหนดจากภาพรวมของตลาด

2. ออกใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ตามความต้องการของตลาด และหลีกเลี่ยงการสร้างความคาดแคลนคลื่นที่ไม่มีอยู่จริง

3. หลีกเลี่ยงการวัดผล เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ให้บริการมือถือ

4. ตีพิมพ์แผนการเปิดประมูลคลื่นความถี่ที่คำนึงถึง "สวัสดิการของสังคม" ก่อน "รายได้ของรัฐ"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...