IRPC ร่วมทุนจีน เปิดตัว Plastic E-commerce Platform แหล่งซื้อขายเม็ดพลาสติกออนไลน์รายแรกของไทย | Techsauce

IRPC ร่วมทุนจีน เปิดตัว Plastic E-commerce Platform แหล่งซื้อขายเม็ดพลาสติกออนไลน์รายแรกของไทย

IRPC ร่วมลงทุนจีนขยายปีกสู่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ขายเม็ดพลาสติกผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ “PLASTKET.COM” เจ้าแรกของไทย พร้อมเดินหน้าตามแผนงาน ไออาร์พีซี 4.0 ตั้งเป้าเป็นผู้นำทางด้าน Digital ด้วยการบูรณาการระบบดิจิทัลเพิ่มประสิทธิภาพทั่วทั้งองค์กร             

IRPC-CEOนายนพดล ปิ่นสุภา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  เปิดเผยว่า บริษัทดำเนินโครงการ IRPC 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์ GDP ที่ทางบริษัทได้มุ่งเน้นการดำเนินการด้าน Power of Digital เพื่อผลักดันให้ ไออาร์พีซีเป็น Petrochemical Complex ชั้นนำทางด้าน Digital  การบูรณาการระบบดิจิทัลเทคโนโลยี เข้ามาใช้ในขั้นตอนธุรกิจ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานทั่วองค์กร

โดยบริษัทได้มีการขยายการลงทุนในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ภายใต้แพลตฟอร์ม “พลาสเก็ตดอทคอม (PLASTKET.COM)”  เป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) (ถือหุ้น 55%) และบริษัท Guangzhao Saiju Performance Polymer Ltd. (“GZSJ”) (ถือหุ้น 45%) จากจีน

ซึ่งแพลตฟอร์มนี้จะจำหน่ายเม็ดพลาสติกจากทุกแบรนด์ ไม่จำกัดเฉพาะผลิตภัณฑ์ของไออาร์พีซีและในกลุ่ม ปตท. ทั้งนี้ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการพลาสติก SMEs ทั่วประเทศเข้ามานำเสนอ จำหน่าย ซื้อขายสินค้าได้อย่างปลอดภัยและโปร่งใส

นอกจากนี้ยังมีโครงการ “EKONS” ระบบที่ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพแบบเรียลไทม์ โดยสามารถวัดและติดตามสถานะของตัวชี้วัดหรือ KPI ของแต่ละโรงงาน โครงการ Predictive Maintenance ช่วยคาดการณ์และกำหนดเวลาที่เหมาะสมในการซ่อมบำรุงล่วงหน้า พร้อมประเมินแนวโน้มการเบรกดาวน์ของอุปกรณ์สำคัญ ซึ่งจะช่วยยืดระยะเวลาการใช้งานเครื่องจักร ลดค่าซ่อมบำรุงในอนาคต และเพิ่มระยะเวลาการปฏิบัติการของโรงงานให้สูงขึ้น

ขณะเดียวกันบริษัทได้จัดทำระบบซัพพลายเชน ที่นำระบบดิจิทัลมาปรับเปลี่ยนระบบจัดการข้อมูลจาก Crude supply         ไปจนถึงปรับปรุงขั้นตอนการจัดส่งสินค้าให้เป็นระบบมากขึ้น มีการบูรณาการข้อมูลระหว่างระบบต่างๆ และช่วยให้การตัดสินใจทางด้านซัพพลายเชนมีประสิทธิผลมากขึ้น

ระบบ Big Data วิเคราะห์ความต้องการของตลาด ระบบเพิ่มประสิทธิภาพในการวางแผนจัดซื้อ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางด้านต้นทุน และการเปลี่ยนแปลงการจัดการข้อมูลและโครงสร้างพื้นฐานด้าน IT ขององค์กร ระบบดังกล่าวนี้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ไม่น้อยกว่า 1,500 ล้านบาท (50 ล้านเหรียญสหรัฐ)

“เพื่อสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างต่อเนื่อง เรามีความมุ่งมั่นในการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่ม หรือ High Value Added Products (HVA)  ควบคู่ไปกับการดำเนินการตามแผนงาน ไออาร์พีซี 4.0 ภายใต้ยุทธศาสตร์ GDP เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน รับมือกับสถานการณ์ความผันผวนทางเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน  รวมถึงขยายส่วนแบ่งผลิตภัณฑ์ในตลาดอาเซียนให้มากขึ้น”  นายนพดล กล่าว

 

 

 

 

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

10 Tech Event ในเอเชีย ที่สายเทคฯ ธุรกิจ ไม่ควรพลาด ปี 2024

เพราะเทคโนโลยีไม่เคยหยุดนิ่ง องค์กรจึงต้องหมั่นอัปเดตเทรนด์ความรู้ใหม่ ๆ วันนี้ Techsauce คัดสรร 10 งานประชุมเทคโนโลยีระดับเอเชีย ที่สายเทคไม่ควรพลาดในปี 2024 รวมไว้ในบทความเดียวก...

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...