ญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วสู่มหาสมุทร อาจกระทบต่อสัตว์ทะเล | Techsauce

ญี่ปุ่นจะปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้วสู่มหาสมุทร อาจกระทบต่อสัตว์ทะเล

เมื่อเร็ว ๆ นี้ญี่ปุ่นประกาศว่าจะปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีซึ่งผ่านการบำบัดแล้วลงสู่มหาสมุทร โดยทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานเฝ้าระวังด้านนิวเคลียร์ของสหประชาชาติก็ได้อนุมัติแผนนี้แล้วเช่นกัน

ส่วนเหตุผลที่ต้องระบายออกสู่มหาสมุทร เนื่องจากญี่ปุ่นไม่มีพื้นที่เพียงพอในการเก็บวัตถุที่ปนเปื้อน เพราะหลังจากเหตุการณ์สึนามิซัดถล่มโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะเมื่อปี 2011 

บริษัท Tokyo Electric Power (TEPCO) ซึ่งเป็นบริษัทไฟฟ้าของรัฐ ได้สร้างถังขนาดใหญ่จำนวนมากเพื่อเก็บน้ำที่ปนเปื้อน ปัจจุบันพื้นที่ในการสร้างถังกำลังจะหมดลง จึงต้องบำบัดน้ำที่ปนเปื้อนและปล่อยออกสู่มหาสมุทร 

ถึงแม้องค์การสหประชาชาติจะอนุมัติแผนดังกล่าว แต่ในประเทศข้างเคียงและชาวประมงพื้นบ้านก็ยังกังวลถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะจีนที่มองว่าแค่การประเมินจาก IAEA อาจจะไม่เพียงพอ 

ถ้าปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนเหล่านี้จะอันตรายไหม ?

แม้ว่าบริษัท TEPCO และ IAEA จะยืนยันว่าน้ำเหล่านี้ได้รับการบำบัดจนเหลือปริมาณไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีต่ำกว่าขีดจำกัดและจะส่งผลกระทบน้อยที่สุดต่อทั้งคนและสิ่งแวดล้อม แต่เหล่าผู้เชี่ยวชาญก็ได้ออกมาพูดถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

  1. ไอโซโทปที่เหลืออยู่ในน้ำไม่เข้มข้นพอที่จะซึมผ่านผิวหนัง แต่ถ้าบริโภคในปริมาณมากก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งได้ - คณะกรรมาธิการกำกับดูแลทางนิวเคลียร์แห่งแคนาดา
  2. การได้รับรังสีใด ๆ รวมทั้งไอโซโทปอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ - คณะกรรมาธิการกำกับดูแลทางนิวเคลียร์แห่งสหรัฐอเมริกา
  3. ไอโซโทปสามารถผ่านเข้าสู่พืช สัตว์ และแบคทีเรีย ซึ่งอาจทำให้เกิดการสะสมทางชีวภาพ และส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลเมื่อเวลาผ่านไป - Robert H. Richmond นักวิทยาศาสตร์ที่ทำงานร่วมกับ Pacific Island Forum หนึ่งในผู้ประเมินแผนการปล่อยน้ำจากฟุกุชิมะ
  4. อันตรายจากการปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนอาจจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่นอกเอเชียแปซิฟิก เพราะในปี 2012  พบปลาทูน่าที่ได้รับไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีที่คล้ายกับไอโซโทปในน้ำที่ฟุกุชิมะ สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบของการปล่อยน้ำอาจแพร่กระจายออกไปนอกพื้นที่ใกล้เคียง - Robert H. Richmond

Shigeyoshi Otosaka ซึ่งเป็นนักสมุทรศาสตร์และนักเคมีทางทะเลจาก Atmospheric and Ocean Research Institute of the University of Tokyo กล่าวว่า ทริเทียม (เป็นไอโซโทปหนึ่งในสามชนิดของอะตอมไฮโดรเจน) สามารถสะสมในปลาและสิ่งมีชีวิตในทะเลได้ ดังนั้นการศึกษาและประเมินว่าสารกัมมันตภาพรังสีเหล่านี้สามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในระยะยาวได้หรือไม่ จึงเป็นเรื่องที่จำเป็นต้องทำ

ซึ่งโฆษกของบริษัท TEPCO เผยว่า บริษัทได้ทำการทดลองเลี้ยงสัตว์ทะเลในน้ำที่ผ่านการบำบัด เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นกับสัตว์เหล่านี้ พวกเขาพบว่าระดับไอโซโทปในร่างกายของสิ่งมีชีวิตถึงจุดสมดุลและไม่เพิ่มมากขึ้นหลังจากเวลาผ่านไประยะหนึ่ง และเมื่อสัตว์น้ำเหล่านี้ถูกปล่อยกลับไปในน้ำทะเลปกติ ระดับไอโซโทปจะค่อย ๆ ลดลง

อ้างอิง: nature, cnn

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

BYD ลงสนามรถยนต์ไร้คนขับ เปิดตัว God’s Eye สู้กล้อง AI จาก Tesla สมรภูมิ EV นี้ใครจะเป็นผู้นำ?

Tesla เคยถูกมองว่าเป็นบริษัทนวัตกรรมที่ล้ำหน้ากว่าใครในอุตสาหกรรมรถ EV แต่ปัจจุบันสมรภูมิการแข่งขันกลับร้อนแรงขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะเมื่อผู้เล่นรายใหญ่จากจีนอย่าง BYD กำลังไล่ตามทัน...

Responsive image

ญี่ปุ่นแซงหน้าไทย ขึ้นแท่นจุดหมายปลายทาง อันดับ 1 ของนักท่องเที่ยวจีน

นักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นในช่วงวันหยุดตรุษจีน ส่งผลให้ญี่ปุ่นกลายเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมแซงหน้าไทย ข้อมูลจาก UN Tourism ระบุว่า ในปี 2567 ญี่ปุ่นมีนักท่องเที่ยวต่...

Responsive image

Gartner เผย ตลาดชิปปี 67 โต 18% คาดปี 68 จะมีรายได้รวมสูง 705 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

การ์ทเนอร์เผยรายได้อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกในปี 2567 มีมูลค่ารวมอยู่ที่ 626 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 18.1% จากปี 2566 พร้อมคาดการณ์ว่าในปีนี้จะมีมูลค่าเพิ่มเป็...