กสิกรไทยเปิดตัว KASIKORN Business – Technology Group พร้อมแถลงความร่วมมือกับ Startup | Techsauce

กสิกรไทยเปิดตัว KASIKORN Business – Technology Group พร้อมแถลงความร่วมมือกับ Startup

รายงานข้อมูลโดยสรุปของ KASIKORN Business – Technology Group (KBTG) และความเคลื่อนไหวทาง Digital Banking ขององค์กร

หากใครยังจำได้ เมื่อเดือนมกราคม Techsauce เพิ่งได้รายงานข่าว เรื่องที่ธนาคารกสิกรไทยทำการตั้งหน่วยงานใหม่ KBTG ให้เป็น Digital Banking เต็มรูปแบบ และแล้ววันที่ 25 เมษายน KBTG ก็มีงานแถลงข่าวพร้อมการเปิดบ้านบริษัทแห่งใหม่

KBTG คืออะไร

KBTG ย่อมาจาก KASIKORN Business – Technology Group หรือ บริษัท กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป เป็นบริษัทใหม่ที่ตั้งโดยธนาคารกสิกรไทย สิ่งที่องค์กรใหม่นี้มุ่งทำคือ คิดค้นนวัตกรรม ร่วมพันธมิตรทางเทคโนโลยี และจับมือ FinTech และ Tech Startup สร้างนวัตกรรมทางการเงินรองรับดิจิทัล แบงกิ้งที่โตก้าวกระโดด ด้วยงบประมาณปีละ 5,000 ล้าน สำหรับพัฒนาด้านนวัตกรรมโดยเฉพาะ

กลุ่มบริษัท KBTG ประกอบด้วย 5 บริษัท ซึ่งธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ถือหุ้น 100% ทั้งหมด ได้แก่

  1. บริษัท กสิกร เทคโนโลยี กรุ๊ป เซเครเทเรียต จำกัด วางแผนและติดตามการทำงานของบริษัทในกลุ่ม KBTG สนับสนุนการจัดการด้านการเงินและด้านบุคลากรของกลุ่มบริษัท และประสานการทำงานร่วมกัน (Alignment) ระหว่างกลุ่มบริษัทและธนาคารกสิกรไทย
  2. บริษัท กสิกร แล็บส์ จำกัด ค้นคว้าเทคโนโลยีและรูปแบบการดำเนินธุรกิจใหม่ ๆ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อระบบธนาคารดิจิทัล (Digital Banking) และระบบเศรษฐกิจดิจิทัล (Digital Economy) สร้างและทดลองระบบต้นแบบก่อนประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์ของธนาคารกสิกรไทย
  3. บริษัท กสิกร ซอฟต์ จำกัด ออกแบบและสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อรองรับความต้องการทางธุรกิจ (Business Requirement) ของธนาคารกสิกรไทย และรองรับการนำนวัตกรรม (Innovation) มาใช้ในธนาคารให้มีความรวดเร็วและคุณภาพสูงสุด
  4. บริษัท กสิกร โปร จำกัด บริหารจัดการโครงสร้างพื้นฐานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของธนาคารกสิกรไทย ทั้งในส่วนที่มีการสร้างขึ้นใหม่ ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลง ตลอดจนดูแลรักษาโครงสร้างพื้นฐานให้มีความทันสมัย และมีประสิทธิภาพตลอดเวลา
  5. บริษัท กสิกร เซิร์ฟ จำกัด สนับสนุนการทำงานของกลุ่มบริษัท ทั้งทางด้านการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ การทดสอบและการปฏิบัติการระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

KBTG structure

ทิศทางการทำงานของ KBTG

ธุรกิจธนาคารและธุรกิจไอทีมีรูปแบบที่แตกต่างกัน ดังนั้น การจัดตั้ง KBTG จึงมีโครงสร้างบริษัทแยกออกจากธุรกิจของธนาคาร ทั้งนี้ เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และสามารถสร้างสภาพแวดล้อมรวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรแบบเฉพาะตัวที่จะดึงดูดบุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถด้านไอทีเข้ามาร่วมงานกับ KBTG ได้ตามเป้าหมาย โดยบุคลากรของ KBTG จะปฏิบัติงานที่อาคารกสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี  กรุ๊ป ซึ่งเป็นอาคารแห่งใหม่ของธนาคาร สูง 11 ชั้น ภายในอาคารมีการออกแบบพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับการทำงานที่เน้นความคิดสร้างสรรค์และงานนวัตกรรม

02หน้าอาคาร KBTG 1

และแนวโน้มเทคโนโลยีที่ KBTG มุ่งเน้นใน 5 ปีข้างหน้า ได้แก่

  1. Internet of Things (IoT)
  2. World Class Design หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการในโลกยุคใหม่ที่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก (User Experience Design-UXD)
  3. Application Programming Interface (API) ช่องทางสำหรับการเชื่อมต่อเพื่อการเข้าถึงหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างซอฟต์แวร์หนึ่งไปยังอีกซอฟต์แวร์หนึ่ง
  4. Advanced Mobile Programming
  5. Blockchain
  6. Machine Learning

โดยมีการทำห้องแลปร่วมกับ Tech Giant ซึ่งเป็นบริษัทไอทีขนาดใหญ่ และตั้งเป้าจะมีบทบาทสำคัญในการตอบสนองธุรกิจ FinTech และ Tech Startup ที่มีไอเดีย และความสามารถในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ในรูปแบบต่างๆ ให้เข้าถึงเทคโนโลยี และตลาด

kbtg tower

Open API for Startup

พร้อมกันนี้ภายในงานยังได้มีการแถลงการณ์ความร่วมมือกับ FlowAccount โดยการเชื่อมต่อ API เพื่อให้สามารถดึง Bank Feed เข้ามายังซอฟแวร์ได้โดยตรง คุณกฤษฎา FlowAccount ได้มีการยกตัวอย่าง เช่น สมมติเปิดใบเสนอราคา เก็บเงินไป ถ้าลูกค้าโอนเข้ามายังบัญชีธนาคารแล้ว โปรแกรมก็จะจับคู่ให้เลย พร้อม auto reconcile

API KBANK FlowAccount

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

YouTube Shorts ยกระดับวิดีโอสั้น เพิ่มความยาววิดีโอสูงสุดเป็น 3 นาที พร้อมฟีเจอร์ใหม่ เริ่ม 15 ตุลาคมนี้

YouTube Shorts กำลังจะก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ของการสร้างคอนเทนต์วิดีโอสั้น โดยเตรียมเพิ่มความยาวสูงสุดของวิดีโอจาก 60 วินาที เป็น 3 นาที นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่จะเปิดโอกาสให้...

Responsive image

โดรนบุก! Silicon Valley เปิดตัวขนส่งสุดล้ำ ส่งตรงถึงบ้านด้วยระบบอัตโนมัติ

Matternet ผู้นำด้านเทคโนโลยีโดรน สร้างปรากฏการณ์ใหม่ ด้วยการเปิดตัวบริการส่งของด้วยโดรนในซิลิคอนวัลเลย์ใครจะเชื่อว่าภาพยนตร์ไซไฟที่เราเคยดูจะกลายเป็นจริง เมื่อโดรนเริ่มส่งของถึงบ้า...

Responsive image

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” นำร่อง จุฬาฯ - มจพ. - สจล. เริ่มเรียนปีการศึกษา 2568

เปิดหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” ครั้งแรกของประเทศไทย โดยจะเริ่มเรียนในปีการศึกษา 2568 นี้ มีสถาบันนำร่องถึง 3 แห่ง ได้แก่ จุฬาฯ, มจพ. และ สจล....