ศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดอัตราการติดเชื้อโควิดระลอกล่าสุดในไทยถึงจุดสูงสุดเดือนสิงหาคม worst case อาจทะลุ 2 หมื่นรายต่อวัน | Techsauce

ศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดอัตราการติดเชื้อโควิดระลอกล่าสุดในไทยถึงจุดสูงสุดเดือนสิงหาคม worst case อาจทะลุ 2 หมื่นรายต่อวัน

ศูนย์วิจัยกรุงศรี คาดอัตราการติดเชื้อโควิดระลอกล่าสุดในไทย จะถึงจุดสูงสุด เดือนสิงหาคม กรณีเลวร้ายที่สุด (worst case) อาจทะลุ 20,000 รายต่อวัน และจะลดต่ำกว่า 1,000  รายต่อวันในเดือนพฤศจิกายน พร้อมปรับลดประมาณการณ์ GDP ปี 2564 ไทยเหลือ  1.2%

ศูนย์วิจัยกรุงศรี

จากอัตราการแพร่เชื้อในปัจจุบัน แบบจำลองแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากการระบาดระลอกล่าสุด โดยจะมีอัตราการติดเชื้อสูงสุดในเดือนสิงหาคม ใน base case ยอดผู้ติดเชื้อจะอยู่ราว 15,000 รายต่อวัน 

จากการคาดการณ์สถานการณ์ที่แย่ที่สุดในระลอกก่อน ได้กลายมาเป็นสถานการณ์พื้นฐานในระลอกปัจจุบัน เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นเกือบ 10,000 รายต่อวันตั้งแต่ต้นเดือนกรกฎาคม และที่สำคัญคือ ไวรัสสายพันธุ์เดลตากำลังระบาดหนักและแพร่กระจายไปยังหลายจังหวัด การคาดการณ์ล่าสุดจึงระบุว่า ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า ผู้ติดเชื้อรายใหม่ในไทยส่วนใหญ่จะเป็นผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาและเบตา

ทั้งนี้ใน base case คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะลดลงต่ำกว่า 1,000 รายต่อวันภายในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ หากแต่ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด ที่วัคซีนจะมีประสิทธิภาพน้อยลง และการล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคมไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคได้ ผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็อาจเพิ่มขึ้นสูงเกิน 20,000 ราย และระยะเวลาการล็อกดาวน์ก็จะนานขึ้นด้วย

เนื่องจากจำนวนผู้ป่วยโควิด-19 ในไทยมักเป็นผู้ป่วยที่ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ร้ายแรง อีกทั้งไทยยังมีเรื่องที่น่ากังวลเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนและการเข้าถึงวัคซีนที่ล่าช้า แสดงให้เห็นว่ามาตรการล็อกดาวน์อาจยืดระยะเวลาไปจนถึงเดือนตุลาคม

ดังนั้นประสิทธิภาพของวัคซีนจึงยังคงเป็นกุญแจสำคัญในการที่จะลดจำนวนผู้ติดเชื้อในแต่ละวันได้

แม้ระลอกที่ 3 จะรุนแรงที่สุด แต่มาตรการล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคมนี้ก็เข้มงวดน้อยกว่าปีที่แล้ว

ระลอกที่สามซึ่งเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา ถือเป็นระลอกที่รุนแรงที่สุดของไทย ด้วยจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่พุ่งสูงถึง 10,000 รายต่อวัน สิ่งนี้กระตุ้นให้รัฐบาลกำหนดมาตรการกักกันที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดให้มีการล็อกดาวน์ (บางส่วน) เป็นเวลา 14 วันในเดือนกรกฎาคม

ดัชนีความเข้มงวดของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดเปิดเผยว่า การล็อกดาวน์ในปัจจุบันนั้นเข้มงวดเพียง 81% เช่นเดียวกับในเดือนเมษายนปี 2563 นอกจากนี้ ดัชนีความคล่องตัวของ Google ได้แสดงให้เห็นถึงความแออัดของการจราจรในสถานที่ทำงาน ร้านค้าปลีก และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจอยู่ที่ 81.1 (ฐานก่อนเกิดโรคระบาด = 100) และดัชนี Apple Mobility แสดงให้เห็นถึงสภาพการจราจรที่ติดขัดอยู่ที่ 43.4 (ฐานก่อนเกิดโรคระบาด = 100) ซึ่งหมายความว่าตัวบ่งชี้การเคลื่อนไหวล่าสุดนั้นสูงกว่าช่วงปิดเมืองทั้งหมด 14% ในเดือนเมษายนปี 2563 สำหรับสถานที่ทำงานและร้านค้าปลีก และเพิ่มขึ้น 40% สำหรับการจราจร

นอกจากนี้ คาดว่าการล็อกดาวน์ในเดือนกรกฎาคมนี้จะมีผล 70% เท่ากับการล็อกดาวน์ในเดือนเมษายนปี 2563 โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นเป็น 15,000 คน/วัน ภายในต้นเดือนสิงหาคม และคาดว่าประเทศไทยจะจัดสรรวัคซีนจำนวน 250,000 โดสต่อวันให้กับประชาชน โดยจะฉีดวัคซีนทั้งหมดให้ครบ 55 ล้านโดสภายในสิ้นปี ซึ่งอาจช่วยลดจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ในแต่ละวันได้ โดยเฉพาะตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป

ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2564 เหลือ 1.2% สะท้อนถึงการระบาดหนักของโควิด-19 ในไทย

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ครั้งล่าสุด ส่งผลให้เกิดผลกระทบเชิงลบอย่างใหญ่หลวงมากกว่าการได้กำไรจากการสนับสนุนนโยบายที่จำกัดการส่งออกที่เข้มงวด โดยผลกระทบสุทธิต่อการเติบโตของ GDP ของไทยจะอยู่ที่ลบ 0.8 ทำให้การคาดการณ์อัตราการเติบโตของทั้งปีนี้อยู่แค่ 1.2% เท่านั้น ซึ่งเพิ่มจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้านี้ 2.0% ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคในไตรมาสที่ 3 จากการแพร่ระบาดที่เลวร้ายลงเรื่อย ๆ นับตั้งแต่ช่วงวันหยุดสงกรานต์ที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีการปรับลดจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและการบริโภคของภาคเอกชนในปี 2564 ทว่าเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของการส่งออก ทำให้เรามองเห็นการฟื้นตัวรูปตัว K แบบเป็นรูปเป็นร่างขึ้น                                                                                                                   

การแพร่ระบาดที่รุนแรงและยาวนานเกิดคาดในไทย ประกอบกับสายพันธุ์เดลตาที่กำลังแพร่ระบาดในหลาย ๆ ประเทศ ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปี 2564 ลดลงเหลือ 210,000 คน (จาก 330,000 คน) และลดการเติบโตของการบริโภคภาคเอกชนลงเป็น +1.1% จาก +1.8% อย่างไรก็ตาม ได้มีการปรับเพิ่มการคาดการณ์การเติบโตของการส่งออกในปีนี้ (ตามข้อมูลของ ธปท.) เป็น +15% จาก +9.5% โดยการหมั่นส่งออกสินค้าจะช่วยบรรเทาผลกระทบบางส่วนต่อการผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนทางธุรกิจได้

ทั้งนี้ ธปท. ยังมีแนวโน้มคงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อบรรเทาสถานการณ์อันเลวร้ายด้วยการกระตุ้นที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น โดย ธปท. จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดในประวัติการณ์ทั้งในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยมีความเปราะบาง และอาจต้องใช้เวลานานกว่าจะสามารถฟื้นตัวได้ในวงกว้าง

สำหรับนโยบายการเงินแบบกำหนดเป้าหมาย ความช่วยเหลือทางการเงินในปัจจุบันได้รับการออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาก่อนเกิดการระบาดครั้งล่าสุด โดยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นในการกระตุ้นทางการเงินที่ตรงเป้าหมายมากขึ้น เพื่อช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรงและเพื่อป้องกันการกระทบกับเศรษฐกิจในระยะยาว

อ่านวิจัยฉบับเต็มได้ที่ Krungsri



ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...