LINE เผยโร้ดแมปเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ ตั้งรับยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ในงาน THAILAND NOW AND NEXT | Techsauce

LINE เผยโร้ดแมปเทคโนโลยีเพื่อธุรกิจ ตั้งรับยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ในงาน THAILAND NOW AND NEXT

ในยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง ความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจ สังคม และพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป ธุรกิจต้องรับมือและปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อาทิ ความผันผวนของจากหลายปัจจัยที่ทำให้ GDP ของประเทศอาจเติบโตเพียง 2.3% ทำให้ธุรกิจต้องมองหาเครื่องมือหรือตัวช่วยในการขับเคลื่อนธุรกิจ อย่าง ‘เทคโนโลยี’

LINE เผยอินไซต์ ต่อยอดกลยุทธ์ให้ธุรกิจ

Techsauce ได้มีโอกาสไปร่วมงาน Thailand Now & Next: Thriving through The Economic Instability จัดโดย LINE ประเทศไทย งานสัมมนาธุรกิจ ที่บอกเล่าถึงอินไซต์และดาต้าของผู้บริโภคที่เกิดขึ้นในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง และได้พบอินไซต์ที่น่าสนใจ ทั้งการใช้งานดาต้าของธุรกิจที่ตลอดช่วงปีที่ผ่านมาบนแพลตฟอร์ม LINE ไม่ว่าจะเป็นการใช้ช่องทางโฆษณาแบบผสมผสาน เพื่อให้เข้าถึงระดับ Mass ควบคู่กับการระบุเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง การเลือกกลุ่มเป้าหมายเซกเมนต์ใหม่ๆ เพื่อขยายฐานผู้มีแนวโน้มสนใจสินค้าของแบรนด์ได้กว้างและครอบคลุมขึ้น และยังให้ความสำคัญกับการเก็บข้อมูลมากขึ้น รวมไปถึงการสร้างประสบการณ์เฉพาะบุคคล ซึ่งเมื่อแบรนด์มีการใช้โซลูชั่นและเครื่องมือดิจิทัลในรูปแบบใหม่ๆ LINE จึงมุ่งพัฒนาเครื่องมือธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

LINE เปิด Road Map เครื่องมือเพื่อธุรกิจ รับมือความเปลี่ยนแปลง

โดย LINE ประเทศไทย นำโดย คุณวีระ เกษตรสิน รองประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ LINE ประเทศไทย ได้เปิดเผย Road Map การพัฒนาเครื่องมือและโซลูชั่นเพื่อธุรกิจ โดยแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสำคัญ

Premium Ads & Targeting

มีการอัปเดตหลายอย่างที่ช่วยให้การโฆษณามีประสิทธิภาพมากขึ้น อาทิ Smart Channel Premium Ads ถือว่าเป็นอีกหนึ่งรูปแบบโฆษณาบนช่องทาง Smart Channel ที่สามารถช่วยให้สร้างโฆษณาในไลน์เพื่อโปรโมทสินค้าหรือบริการของธุรกิจได้ โดยคุณวีระ ได้อธิบายว่า จะเป็น Immersive Impact Ads ในรูปแบบวิดีโอเอนิเมชั่นที่สามารถขยายเต็มหน้าจอได้ ช่วยเพิ่มความน่าสนใจ ให้คนอยากคลิกมากขึ้น และได้ Efficiency ที่สูงขึ้น ซึ่งจะเปิดให้บริการในช่วงปลายปี 2024 และในส่วนของ Targeting LINE พัฒนาเพื่อให้แต่ละแบรนด์เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ละเอียดและกว้างขึ้น  โดยในปีนี้ ได้มีการเปิดกลุ่ม Segment สำหรับ Persona Targeting กว่า 30 Segments เป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งยังมีการเปิดให้แบรนด์สามารถระบุกลุ่มเป้าหมายตามความสนใจในกลุ่มผู้ติดตามบน LINE OA ได้ ด้วยตัวเลือกกลุ่มเป้าหมายมากถึง 95 Segments และจะขยายไปสู่ LINE OpenChat และ LINE Family Services รวมถึง LINE Today ที่จะมีการเปิด Segment เหล่านี้ภายในปี 2025 ทำให้เกิดเป็น Segment รวมเกิน 100 Segments บน LINE  ให้สำหรับ Advertisers ได้ใช้งาน

MyCustomer Solution 

เพราะดาต้าและเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกธุรกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ยิ่งเมื่อกิจกรรมในชีวิตประจำวันของคนไทยล้วนก้าวเข้าสู่โลกออนไลน์ ดาต้าจึงเปรียบเสมือนขุมทรัพย์สำหรับธุรกิจ การรู้จักเก็บและนำดาต้ามาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ธุรกิจจะมองข้ามไม่ได้ LINE จึงได้พัฒนา MyCustomer ซึ่งเป็นถังเก็บ รวบรวม และบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ บน  LINE ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดย LINE มีแผนเพิ่มฟีเจอร์ฟังก์ชั่นความสามารถให้กับ MyCustomer ได้แก่  

  • Customer Profile Importer ช่วยให้แบรนด์สามารถ Import Personal Data ของลูกค้า ซึ่งเป็น 1st Party Data ที่แบรนด์มีเข้ามา ให้ระบบช่วยในการ mapping กับข้อมูลโปรไฟล์ผู้ติดตาม LINE OA ให้แบบอัตโนมัติ ทำให้แบรนด์สามารถรู้จักตัวตนของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น เพื่อให้การทำการตลาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น 
  • Marketing Automation ที่สามารถตั้งค่าเงื่อนไข และกฎเกณฑ์ต่างๆ ของการส่ง Messages ไปหาลูกค้าให้ตามที่กำหนดไว้โดยอัตโนมัติผ่าน MyCustomer เช่น Birthday Message หรือ โปรโมชั่นกระตุ้นการขาย เป็นต้น 
  • Data Connector ช่วยให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อดาต้าจากระบบภายนอก อาทิ SAP, SALEFORCE ฯลฯ ทำให้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้อย่างเต็มประสิทธิภาพขึ้น และ 
  • Predictive Audience การนำ AI มาช่วยแนะนำกลุ่มเป้าหมายใหม่ จากข้อมูลโปรไฟล์ กิจกรรม พฤติกรรมต่างๆ บน LINE เพื่อให้แบรนด์สามารถสร้าง Dynamic Marketing ได้มากขึ้น ไม่ต้องเสียเวลาสร้างกลุ่มเป้าหมายใหม่ด้วยตัวเอง 

ในส่วนของ MyCustomer I CRM ระบบ CRM บน LINE OA ที่ช่วยสร้างแคมเปญบริหารความสัมพันธ์ลูกค้า ด้วยการเก็บข้อมูล วิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อเพื่อแบ่งกลุ่มระดับลูกค้า นำมาใช้สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดทั้งในเชิงระบบสมาชิก รวมไปถึงการแจกพอยท์ คะแนนสะสมได้ โดย LINE มุ่งพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพให้ MyCusotmer | CRM อยู่ 3 ด้านด้วยกัน

  • เปิดการเชื่อมต่อกับ Sale Channel อื่นๆ ที่แบรนด์มี ไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมต่อกับมาร์เก็ตเพลส ช่องทางโซเชียลต่างๆ หรือ POS ก็สามารถที่จะ Integrate Transaction เข้ากับ My Customer | CRM ได้ เพื่อให้แบรนด์สามารถจัดการให้ Points หรือ Rewards ลูกค้าได้ทันที 
  • Special Event Targeting ฟังก์ชั่นในการสร้างหรือตั้งค่าการนำเสนอคอนเทนต์ ข้อเสนอ Exclusive ให้กับลูกค้าเฉพาะกลุ่มในโอกาสพิเศษ เช่น วันเกิด โปรโมชั่นพิเศษเฉพาะบุคคล เป็นต้น เป็นการสร้าง Engagement ให้กับลูกค้าคนพิเศษแบบ Personalize โดยให้ระบบช่วยในการทำ CRM ให้โดยอัตโนมัติ 
  • ยิ่งไปกว่านั้น MyCustomer | CRM ยังเตรียมเปิดการเชื่อมต่อกับบริการ LINE MAN Food Delivery และร้านค้าที่ใช้เครื่อง Wongnai POS นับเป็นการสร้าง Journey Experience ใหม่ๆ ให้กับลูกค้าได้ ทำให้การรับพ้อยท์จากการสั่งอาหารผ่าน LINE MAN เป็นประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อในอนาคต 

Conversion API

ความท้าทายที่เกิดขึ้นในธุรกิจจาก Cookieless Policy ทำให้ LINE มุ่งผลักดันการใช้งาน Conversion API ระบบในการเชื่อมต่อระหว่าง LINE และเว็บไซต์หรือแอปอื่นๆ เพื่อติดตามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ สามารถรองรับทุกระบบไม่ว่าจะ iOS หรือ Android โดยผลการใช้งานจากแบรนด์ในประเทศญี่ปุ่นพบว่า การใช้ Conversion API นับเป็นปัจจัยสำคัญ ช่วยเพิ่ม Conversion Rate ได้มากขึ้นถึง 2 เท่า และช่วยเพิ่มฐานลูกค้าผู้ใช้ iOS เป็น 3 เท่าจากการใช้งาน Conversion API ควบคู่ไปกับ LINE Tags ทำให้แบรนด์สามารถเก็บข้อมูลผลพฤติกรรมผู้บริโภคได้ครอบคลุมและแม่นยำมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การออกแบบการสื่อสาร แคมเปญโฆษณาที่ทรงประสิทธิภาพ สร้างผลลัพธ์ที่ดีขึ้นกว่าเดิม

2025 เทคโนโลยีควบคู่ธุรกิจ

นอกจากนี้ คุณวีระ เกษตรสิน ยังเปิดเผยเพิ่มเติมถึงสิ่งที่ LINE โฟกัสและให้ความสำคัญในปี 2025 อีกว่า 

“ในปี 2025 จะต้องเป็นการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ”  

LINE มุ่งต่อยอด Infrastructure ที่แข็งแกร่งมากอยู่แล้ว โดยในอนาคตระยะยาว LINE จะมุ่งพัฒนาแพลตฟอร์มโดยหลักๆ แบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านแรกคือด้านของ Product หรือผลิตภัณฑ์ LINE ยังคงมุ่งเน้นการเป็น Open Platform เพื่อคนไทย ทั้งในส่วนของพาร์ทเนอร์และนักพัฒนา ให้สามารถสร้างสรรค์บริการดิจิทัลที่ตอบโจทย์ลูกค้าเองได้ สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ผ่านแพลตฟอร์มที่ชื่อ LINE OA Plus ซึ่งเป็น Open API ที่พร้อมเปิดกว้างให้แบรนด์และนักพัฒนาไทย มาสร้างและเชื่อมต่อเครื่องมือใหม่ๆ เข้ากับ LINE Ecosystem ได้อย่างอิสระ อีกทั้ง ยังมุ่งพัฒนาระบบ OA Shopping Assistant ให้ LINE OA มีฟีเจอร์ ฟังก์ชั่นที่ครบครัน เสมือนมีผู้ช่วยส่วนตัวให้กับผู้ใช้งานในการซื้อสินค้าบริการบน LINE ทำให้ประสบการณ์การช้อปสะดวก สบายกว่าเดิม เช่น แชตบอทแนะนำสินค้าจากการสนทนาผ่านแชต เป็นต้น และมุ่งพัฒนาฟังก์ชั่น ระบบเสริมต่างๆ เพื่อให้การทำ Chat Commerce บน LINE มีประสิทธิภาพมากขึ้นในอนาคต เช่น ฟังก์ชั่น Sale Analysis ระบบการจัดการออเดอร์สินค้าที่ค้างอยู่ในรถเข็น ระบบสั่งซื้อสินค้า Quick Command ไปจนถึง Seller Admin Chatbot เป็นต้น

ในด้านของ Technology ไลน์จะมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาเปิดใช้งาน MyCustomer API การพัฒนาฟังก์ชั่น ความสามารถเพิ่มเติมให้กับ LINE Shopping API รวมไปถึงการปรับปรุง พัฒนาฟังก์ชั่นการใช้งานของ Mini App ใหม่ เพื่อจุดมุ่งหมายในภาพรวมให้แบรนด์สามารถใช้เทคโนโลยีของ LINE สร้างการเติบโตได้อย่างเต็มศักยภาพในอนาคตระยะยาว

ด้วยสถานการณ์ความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจไทยต้องปรับตัวโดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีของ LINE ในการขับเคลื่อนเพื่อตอบสนองผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่รอดได้ LINE ประเทศไทย จึงมุ่งมั่นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจไทยให้ตอบโจทย์กับความท้าทายที่เกิดในปัจจุบัน ให้เทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เพื่อให้ธุรกิจไทยเติบโตได้อย่างมั่นคง

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ส่องอนาคตยานยนต์ เมื่อ EV และระบบ Autonomous อาจไม่ใช่คำตอบของการเดินทางยุคใหม่ในตอนนี้

แม้ว่าตอนนี้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติจะได้รับการพัฒนามาอย่างก้าวกระโดด เปิดโอกาสของการเดินทางยุคใหม่ ซึ่งจะเห็นได้จากการเปิดตัวแท็กซี่ไร้คนขับ Cybercab และรถบั...

Responsive image

ญี่ปุ่นเร่งผลิตชิ้นส่วนแกลเลียมไนไตรด์ (GaN) มุ่งเป้าตลาดรถยนต์ EV หวังลดเวลาชาร์จเหลือ 5 นาที

สำนักข่าว Nikkei รายงานว่า บริษัทญี่ปุ่นหลายแห่งกำลังเร่งพัฒนาการผลิตอุปกรณ์เซมิคอนดักเตอร์จากแกลเลียมไนไตรด์ (GaN) สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ในปริมาณมาก โดยมุ่งหวังที่จะเพิ่มประสิทธิ...

Responsive image

ผู้บริหาร Amazon เผย ถ้าต้องเข้าออฟฟิศ 5 วันแล้วทำงานไม่ได้ก็ยินดีให้ออกไปทำที่อื่น

หากพนักงานบางคนรู้สึกไม่สบายใจหรือไม่สามารถทำงานในสภาพแวดล้อมใหม่ของ Amazon ได้ ก็ไม่เป็นไรที่จะลาออกไปไปหาโอกาสอื่นทำ...