Meta เปิด 5 มาตรการเชิงรุกปกป้องการเลือกตั้ง หวังสร้างความโปร่งใสการเมืองไทย | Techsauce

Meta เปิด 5 มาตรการเชิงรุกปกป้องการเลือกตั้ง หวังสร้างความโปร่งใสการเมืองไทย

Meta คุมเข้มมาตรการปกป้องการเลือกตั้ง เสริมความโปร่งใส ในการนำเสนอข้อมูลและข่าวสารเกี่ยวกับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทย ซึ่งเป็นการเลือกตั้งทั่วไปที่กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 ด้วยการดำเนินการเชิงรุก 5 แนวทาง 

Meta

ซึ่งรวมถึงการจัดตั้งทีมงานเชิงปฏิบัติการด้านการเลือกตั้ง พร้อมทั้งพัฒนานโยบายที่แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อการจัดการกับเนื้อหาและเครือข่าวที่อันตราย พร้อมทั้งต่อสู้กับข้อมูลเท็จ และเพิ่มความโปร่งใสในการเผยแพร่โฆษณา ที่เกี่ยวกับการเมือง 

ในปี 2022 ที่ผ่านมา Meta ได้ลงทุนราว 5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการต่อสู้กับการแทรกแซงจากต่างชาติ และขบวนการสร้างอิทธิพลภายในประเทศ รวมไปถึงการลดปริมาณข้อมูลเท็จ และสู้กับการสกัดกั้นผู้ใช้สิทธิ์

เแนวทางการทำงานเชิงรุก 5 ด้าน ของ Meta เพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งทั่วไทย ได้แก่

1.จัดตั้งทีมงานปฏิบัติการด้านการเลือกตั้ง (Election Operations Team)

โดยได้มีการจัดตั้งทีมปฏิบัติงานเชิงปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งโดยเฉพาะ จากหลากหลายสาขาไม่ว่าจะเป็น การต่อสู้ข้อมูลเท็จ ความปลอดภัย สิทธิมนุษยชน และโลกไซเบอร์ ที่จะคอยรับมือความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ 

2.จัดการเนื้อหาที่เป็นอันตราย 

ในส่วนนี้จะมีการลบเนื้อหาใด ๆ ที่ฝ่าฝืนมาตรฐานชุมชน ไม่ว่าจะเป็น คำพูดที่แสดงความเกลียดชัง ความรุนแรงและการยุยง การกลั่นแกล้งและการคุกคาม หรือการให้ข้อมูลเท็จบางประเภททันทีที่ได้รับรายงาน 

โดยได้มีการจัดตั้งทีมงานเฉพาะเพื่อตรวจสอบและยับยั้งความพยายามในการเข้าถึงผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์มโดยมีวัตถุประสงค์ที่ไม่โปร่งใส นอกจากนี้ บริษัทยังได้ใช้เทคโนโลยีตรวจจับเพื่อตรวจหาและหยุดความพยายามในการสร้างบัญชีปลอมที่มีกว่านับล้านบัญชี โดย Meta สามารถตรวจเจอและลบบัญชีปลอมภายในเวลาไม่กี่นาที หลังจากที่บัญชีเหล่านั้นถูกสร้างขึ้นมา

ทั้งนี้ในช่วง Q4/2022 มีบัญชีปลอมกว่า 1.3 พันล้านบัญชีปลอมที่ถูกลบออกไปจากแพลตฟอร์ม และกว่า 99.3% ถูกตรวจพบด้วยระบบ AI ของทาง Meta อีกท้ังมีบุคลากรกว่า 40,000 คนที่ทำงานด้านความปลอดภัยและความมั่นคงไซเบอร์

รวมทั้งนโยบายด้านข้อมูลเท็จของบริษัทไม่อนุญาตให้มีการแทรกแซงหรือหยุดยั้งการลงคะแนนเสียงของผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง รวมไปถึงไม่อนุญาตให้มีการให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับ วัน เวลา สถานที่ หรือวิธีการเลือกตั้ง ไปจนถึงการลงทะเบียนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง การยั่วยุให้เกิดการใช้ความรุนแรง และการสนับสนุนให้มีส่วนร่วมในการลงคะแนนด้วยวิธีการที่ผิดกฎหมาย หรือเรียกร้องให้มีการแทรกแซงการเลือกตั้งอย่างเป็นระบบ

3.เพิ่มความโปร่งใสในการเผยแพร่โฆษณาและการดูแลเพจ 

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา Meta ก็ได้พัฒนาแพลตฟอร์มและเครื่องมือต่าง ๆ ที่จะเพิ่มความโปร่งใสที่มากขึ้นในการโฆษณาเกี่ยวกับเลือกตั้ง การเมือง และประเด็นสังคม ในปัจจุบัน โดยได้มีการจัดทำมาตรการเพิ่มเติมในการสร้างความโปร่งใสในการเผยแพร่โฆษณาและดูแลเพจต่าง ๆ บนแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็น 

  • ความโปร่งใสในการเผยแพร่โฆษณา : ผู้ลงโฆษณาจะต้องผ่านกระบวนการยืนยันข้อมูลระบุตัวตนผ่านบัตรประชาชนที่ออกโดยรัฐบาล และระบุข้อความ "ได้รับสปอนเซอร์จาก" บนโฆษณา

  • คลังโฆษณา 'Ad Library' : ศูนย์รวมข้อมูลสาธารณะที่คนไทยสามารถเข้าถึงข้อมูลโฆษณาที่กำลังแสดงผลอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึงข้อมูลโฆษณาเกี่ยวกับการเมืองย้อนหลัง 7 ปีบน Facebook ซึ่งระบุวันเวลา แพลตฟอร์มที่โพสต์ และผู้สนับสนุนโฆษณานั้น ๆ

  • บริบทของบัญชี และเพจต่าง ๆ : โดย Meta อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถดูประเทศของผู้ดูแลเพจได้ และได้เปิดตัว เกี่ยวกับบัญชีนี้ ทาง Instagram ซึ่งจะช่วยให้ผู้คนสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของบัญชีนั้น ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

    โดยที่ผ่านมาจากการที่มีการลบ พบว่าสัดส่วนปริมาณการแชร์ข่าวเท็จลดลงกว่า 95% 

4.การยับยั้งเครือข่ายที่แทรกแซงความโปร่งใส 

โดยทีมความปลอดภัยทางไซเบอร์ของ Meta จะสอดส่องและรับมือกับเครือข่ายออนไลน์ที่มีพฤติกรรมที่น่าสงสัยและอาจจะมีการแทรกแซงความโปร่งใส เช่น การมีพฤติกรรมร่วมกันในการสร้างความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวตนบนโลกออนไลน์ (Coordinated inauthentic behavior หรือ CIB) ซึ่งในช่วงการเลือกตั้ง CIB มุ่งบงการชักใยและสร้างอิทธิพลต่อความเห็นของสาธารณชนเพื่อเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ผ่านบัญชีปลอม และร่วมกันให้ข้อมูลเท็จเกี่ยวกับตัวตนและเจตนาของพวกเขา

ปัจจุบันมี IO กว่า 200 เครือข่าย ที่โดนลบบัญชี ลบข้อมูล ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะในการดูแลแพลตฟอร์ม 

5.ร่วมมือกับหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเลือกตั้งและสนับสนุนการมีส่วนร่วมของพลเมือง 

โดยก่อนการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้น Meta ได้มีการทำงานจัดทำโครงการร่วมกับพาร์ทเนอร์ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ องค์กรภาคประชาสังคมต่าง ๆ 

  • มาตรการความโปร่งใสในการโฆษณาเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 

ซึ่งมีการพัฒนามาเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี 2016 ระหว่างที่พัฒนาได้มีการโฟกัสไปที่ 2 topic หลัก ๆ คือ 

1. Authemticity มุ่งสร้างนโยบายในการพิสูจน์ตัวตน จะต้องมีการพิสูจน์ตัวตนกับทาง Facebook เพื่อให้ทราบว่าหน่วยงานไหนเป็นผู้จ่ายเงินในการโฆษณานี้ ซึ่งข้อมูลจากการพิสูจน์ตัวตนเราจะนำมา Approve 

2.Transparency ความโปร่งใส โดยได้มีการพัฒนาเครื่องมือ 

ได้มีการเพิ่มข้อมูล Overview ใหม่บน ‘Ad Library’ เพื่อให้สามารถส่องอินไซต์การยิงแอดที่ละเอียดขึ้น ซึ่งมีการใช้กับ 190 ประเทศทั่วโลก และเปิดตัวไปเมื่อกันยายนปี 2022 ที่ผ่านมา เพื่อต้องการให้ผู้คนได้รับข้อมูลที่โปร่งใส และรับทราบว่าใครเป็นผู้ลงโฆษณาเกี่ยวกับการเลือกตั้งบน Facebook นั้น ๆ 

ผู้ที่ต้องการ 'ลงโฆษณาทางการเมือง' จะต้อง 

1.ยืนยันตัวตนและสถานที่ โดยทั่วไปจะได้รับการยืนยันภายใน 48 ชั่วโมง ส่วนที่เป็นการเลือกตั้งใช้เวลา 3 วัน

2. สร้างข้อความจำกัดความรับผิดชอบจะปรากฎบน Faceboon และ Instagram 

การสร้างเสริมขีดความสามารถ

ทั้งนี้ ก่อนการเลือกตั้งถึง 12 เดือน Meta ได้มีการสร้างเสริมขีดความสามารถ ในการจัดอบรมให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ หน่วยงานเฝ้าระวังการเลือกตั้ง องค์กรไม่หวังผลกำไร และผู้สมัครรับเลือกตั้ง ซึ่งหัวข้อจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การให้ความรู้ นโยบาย บริการ เครื่องมือ ระบบการรายงานของ Meta และแนวทางการปฏิบัติด้านความปลอดภัยและความมั่นคงบนโลกออนไลน์ รวมทั้งนโยบายด้านโฆษณาที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง และเครื่องมือเพิ่มความโปร่งใส 

แคมเปญ #โซเชียลด้วยใจ 

ซึ่งเป็นสื่อรณรงค์ในรูปแบบแอนิเมชันจาก Meta เพื่อส่งเสริมให้คนไทยสามารถระบุข้อความบิดเบือนและส่งเสริมการมีส่วนร่วมเชิงบวกและมีความรับผิดชอบในช่วงการเลือกตั้ง

รวมทั้ง Meta ได้เปิดตัวหลักสูตรการเรียนรู้แบบออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่าย เกี่ยวกับพื้นฐานการตรวจสอบข้อเท็จจริง ภายใต้ความร่วมมือกับเครือข่ายองค์กรตรวจสอบข่าวสากล (IFCN) ที่ให้บริการ 15 ภาษา ด้วยเช่นกัน

ส่วนการที่ Facebook เลือกชูคอนเทนต์ในฟีด จะขึ้นอยู่กับการใช้งานของ User ซึ่ง Algorithm ๅจะเลือกจากการ engagement ที่มีการกด view , แลกเปลี่ยนความคิดเห็น การตอบคอมเมนต์ ซึ่งทั้งหมดนี้ Algorithm จับได้

คุณแคลร์ อมาดอร์ หัวหน้าฝ่ายนโยบายสาธารณะประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ กล่าวทิ้งท้ายว่า "ทั้งหมดนี้แสดงให้เห็นว่าเมื่อ 'การเลือกตั้ง' เปลี่ยนแปลกไปจากในอดีต จึงต้องมีการกลั่นกรองและตรวจสอบที่มากยิ่งขึ้น  Meta  ได้ยกระดับและต่อยอดจากประสบการณ์ทำงานระดับโลก พร้อมรับฟังและเรียนรู้จากความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่าง ๆ รวมถึงประสานงานกับหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการแทรกแซงขึ้น และสนับสนุนความโปร่งใสในการเลือกตั้งที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก รวมถึงไทย ซึ่งทั้งหมดนี้เราตระหนักถึงหน้าที่ความรับผิดชอบที่สำคัญของเราในการสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งของคนไทย และลดความเสี่ยงในการแทรกแซงกระบวนการเลือกตั้งบนแพลตฟอร์มเรานั่นเอง"

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...

Responsive image

Money20/20 Asia ยกระดับวงการฟินเทคเอเชีย ยักษ์ใหญ่ตบเท้าเข้าร่วมงานคับคั่ง

เปิดตัวอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับงาน Money20/20 Asia ครั้งแรกที่ประเทศไทยและเอเชีย ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ที่กรุงเทพฯ ตั้งแต่วันที่ 23 - 25 เมษายน 2567 งานทยกระดับอุตสาหกร...