SCG ร่วมกับ โรงพยาบาลราชวิถี พัฒนาห้องไอซียูโมดูลาร์ สำหรับผู้ป่วยโควิด ใช้เวลาสร้างเพียง 7-10 วัน ช่วยแก้ปัญหาเตียงขาดแคลน | Techsauce

SCG ร่วมกับ โรงพยาบาลราชวิถี พัฒนาห้องไอซียูโมดูลาร์ สำหรับผู้ป่วยโควิด ใช้เวลาสร้างเพียง 7-10 วัน ช่วยแก้ปัญหาเตียงขาดแคลน

สถานการณ์ COVID-19 ของประเทศไทยถือว่าเข้าขั้นวิกฤต เนื่องจากมีผู้ติดเชื้อกว่าหมื่นรายต่อวัน ส่งผลให้เตียงรักษาในสถานพยาบาลหลายแห่งไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้ป่วย SCG จึงร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี ออกแบบ พัฒนา และผลิตห้องไอซียูโมดูลาร์ (MODULAR ICU) สำหรับผู้ป่วย COVID-19 โดยเฉพาะ จุดเด่นของห้องไอซียูโมดูลาร์ คือ ใช้เวลาสร้างน้อย แต่มีประสิทธิภาพเทียบเท่าห้องไอซียูในโรงพยาบาล

ห้อง ICU

คุณรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี กล่าวว่า “การผลิตห้องไอซียูโมดูลาร์จะช่วยเสริมปริมาณเตียงไอซียูใน กทม. ที่มีอยู่ประมาณ 400 เตียง ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 เพื่อรองรับผู้ป่วยวิกฤตได้ทันท่วงที ซึ่งเป็นงานที่สำคัญและท้าทายอย่างยิ่งที่ต้องเร่งสร้างและติดตั้งโดยเร็วที่สุดด้วยระยะเวลาอันสั้น ซึ่งเป็นการทำงานแข่งกับเวลา เราทำในสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้เป็นไปได้ เพื่อปกป้องชีวิตผู้ป่วยวิกฤตโควิด และเพื่อความปลอดภัยสูงสุดของบุคลากรทางการแพทย์ทุกคน ด้วยการระดมสมอง วางแผนการทำงานอย่างรัดกุม โดยใช้ประสบการณ์ ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และการพัฒนานวัตกรรมป้องกันโควิดร่วมมือกับทีมบุคลากรทางการแพทย์ และโรงพยาบาลต่าง ๆ พัฒนาและออกแบบนวัตกรรมที่รวดเร็วและสามารถใช้งานได้ทันที” 

นวัตกรรมห้องไอซียูโมดูลาร์ มูลค่าโครงการ 45 ล้านบาท ซึ่งเอสซีจีให้การสนับสนุนรวมทั้งสิ้น 33 ล้านบาท ร่วมกับกรุงเทพมหานคร จึงเข้ามาตอบโจทย์ปัญหาเร่งด่วนของกรุงเทพฯ ได้เป็นอย่างดี 

สำหรับห้องไอซียูโมดูลาร์ 1 อาคาร จำนวน 10 เตียง ใช้เวลาสร้างเพียง 7-10 วัน ด้วยการออกแบบและการก่อสร้างชิ้นส่วนที่ผลิตจากโรงงานด้วยระบบ Modular ที่พร้อมประกอบหน้างาน แม้ห้องไอซียูโมดูลาร์จะใช้เวลาสร้างเพียงน้อยนิด แต่ประสิทธิภาพเทียบเท่าห้องไอซียูในโรงพยาบาล โดยสามารถควบคุมแรงดันอากาศได้ ทั้งระบบความดันบวก (Positive Pressure Room) เพื่อกำจัดเชื้อโรคและฝุ่น และระบบความดันลบ (Negative Pressure Room) เพื่อจำกัดการแพร่กระจายและลดเชื้อไวรัสออกสู่ภายนอกอาคาร พร้อมด้วยระบบกรองและกำจัดเชื้อโรคในอากาศที่กรองเชื้อโรคด้วย HEPA Filter และฆ่าเชื้อด้วยระบบ Bi-ionization Air Purifier และ UV Light แบบครบวงจร อีกทั้งยังมีอุปกรณ์ทางการแพทย์ครบครัน ได้แก่ เครื่องติดตามสัญญาณชีพจร เครื่องให้ออกซิเจน ระบบสื่อสาร

พื้นที่การใช้งานแบ่งเป็น 5 ส่วน ได้แก่

  1. ICU ZONE สำหรับเตียงผู้ป่วยพร้อมบอกตำแหน่งระบบยังชีพต่าง ๆ ที่เชื่อมกับระบบของโรงพยาบาล โดยระบบการจัดการอากาศในโซนนี้ใช้ระบบห้องความดันลบ 

  2. NURSING STATION ZONE สำหรับพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ MONITOR ROOM สำหรับพยาบาลที่ดูแลเฝ้าระวัง และ STAND-BY ROOM สำหรับพยาบาลที่เตรียมสวมชุด PPE สำหรับเข้าไปดูแลผู้ป่วย ICU โดยการจัดการอากาศที่ใช้ในเป็นระบบห้องความดันบวก

  3. MEDICAL PREPARATION สำหรับจัดเก็บเครื่องมือแพทย์และอุปกรณ์ต่าง ๆ สำหรับผู้ป่วย

  4. ANTE ROOM ขาเข้าสำหรับควบคุมความดันก่อนเข้าสู่พื้นที่ ICU Zone

  5. ANTE ROOM ขาออกแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ พื้นที่ลำเลียงผู้ป่วยเข้าและออกจาก ICU พื้นที่สำหรับทิ้งขยะติดเชื้อต่าง ๆ และพื้นที่สำหรับถอดชุด PPE พร้อมทางเดินไปห้องน้ำเพื่อทำความสะอาดร่างกายเมื่อเสร็จสิ้นการปฏิบัติหน้าที่

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...