รวมการคิด Credit Score แบบใหม่ ที่สตาร์ทอัพหลายเจ้ากำลังนำมาใช้ในวงการ Fintech | Techsauce

รวมการคิด Credit Score แบบใหม่ ที่สตาร์ทอัพหลายเจ้ากำลังนำมาใช้ในวงการ Fintech

การสมัครบัตรเครดิตกับการเช็ค Credit Score เป็นสิ่งที่มีคู่กันมานาน แต่ในบางครั้งการคิด Credit Score แบบเดิม ซึ่งปกติจะคำนวณด้วยระบบ FICO® อาจไม่ตอบโจทย์วิถีชีวิตผู้คนส่วนใหญ่และทำให้บางคนไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมได้ ทั้งที่คนนั้นอาจเป็นลูกหนี้ที่มีศักยภาพ ต่อไปนี้คือแนวโน้มภาพรวมระบบ Credit Score ที่สตาร์ทอัพ Fintech หลายเจ้ากำลังนำมาใช้ แต่ก่อนอื่น ทำความรู้จักว่าระบบการคิดเครดิตแบบเก่าเป็นอย่างไร และทำไม Fintech หลายเจ้าต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่นแทน

ระบบการคิด Credit Score แบบเดิมเป็นอย่างไร

ปกติที่สหรัฐฯ จะมีระบบกลางที่ทุกธนาคารใช้วัดเครดิตร่วมกัน คือระบบ FICO® Score ย่อมาจาก Fair Isaac Corporation ซึ่งเป็นวิธีคำนวณคะแนนเครดิตแบบหนึ่งที่ถูกนำไปใช้เรื่องการกู้ยืมโดยเฉพาะ ระบบนี้ได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินหลายแห่งในการพิจารณาความน่าเชื่อถือของบุคคลมาตั้งแต่ปี 1989 หรือมากกว่า 30 ปีแล้ว ถือเป็น "ผู้บุกเบิก" ในการพัฒนาวิธีคำนวณคะแนนเครดิตที่รวบรวมโดยหน่วยงาน

แล้วทำไมจึงต้องเปลี่ยนไปใช้ระบบอื่นแทน

ปัญหานั้นเกิดขึ้นกับโมเดลการคิดคะแนนแบบนี้ เพราะดูเหมือนว่าจะเน้นการสร้างเครดิตให้ผู้ที่อยู่ในระบบที่มีฐานข้อมูลอยู่แล้วเท่านั้น สถาบันการเงินถึงจะประเมินให้การกู้ยืมผ่าน แต่ผู้ที่ผู้ที่ไม่ได้มีเงินมากพอ หรือไม่เคยเข้าถึงแหล่งสินเชื่อ ก็จะถูกปฏิเสธคำขอสินเชื่อที่อยู่อาศัย รถยนต์ หรือสินเชื่อประเภทอื่นๆ ได้ ซึ่งอาจทำให้คนๆ นั้นไม่สามารถหลุดพ้นจากความยากจนหรือเงื่อนไขอื่นๆ ได้ ตัวอย่างเช่น หากคุณไม่สามารถกู้เงินเพื่อซื้อรถหรือจ่ายดอกเบี้ยได้ ก็อาจทำให้หางานยากขึ้น

รวมรูปแบบการคิด Credit Score แบบใหม่

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา มี Fintech ที่ให้บริการวงเงินสินเชื่อพยายามเปลี่ยนแปลงรูปแบบการคิดคะแนน Credit Score ใหม่ในปัจจุบัน อย่างเช่น เมื่อเดือนพฤษภาคม แพลตฟอร์ม Altro ที่ได้รับการสนับสนุนจาก Jay-Z ศิลปินชื่อดังระดับโลก สามารถระดมทุนได้ 18 ล้านดอลลาร์เพื่อช่วยให้ผู้คนสร้างเครดิตผ่านรูปแบบการชำระเงินที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน ให้เปลี่ยนเป็น Credit Score แทน เช่น คุณสามารถเก็บคะแนนสะสมจากจำนวนเงินที่จ่ายในการสมัคร subscription ของ Netflix, Spotify และ Hulu เพื่อเก็บเป็น Credit Score ในการเช็คเครดิตบูโรได้

Petal สตาร์ทอัพการเงินจาก New York ก่อตั้งขึ้นในปี 2016 มีจุดยืนในการช่วยยกระดับระบบเครดิตแบบเดิมที่ "ไม่ได้กระจายแหล่งเงินทุนอย่างทั่วถึง" โดยนำเสนอผลิตภัณฑ์บัตรเครดิตสำหรับผู้ที่มีฐานเงินเดือนน้อย ซึ่งมีประวัติเครดิตเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ให้ "สร้างเครดิต ไม่ใช่สร้างหนี้" คือ เมื่อยืมเงินไปแล้ว ต้องชำระยอดเงินคืนเต็มจำนวนเท่านั้น จึงจะได้ Credit Score จากการระดมทุนรอบ Series D ล่าสุด ได้ 140 ล้านดอลลาร์ ทำให้บริษัทมี Valuation เพิ่มขึ้นเป็น 800 ล้านดอลลาร์

แพลตฟอร์ม X1 ที่เพิ่งระดมทุนได้ 25 ล้านดอลลาร์ ใช้แนวทางที่ต่างออกไปด้วยการให้การประกันภัยกับลูกค้าโดยพิจารณาจาก “รายได้ที่ได้จริง” มากกว่าคะแนน Fico Score ซึ่งบริษัทกล่าวว่า “ทำให้สามารถกำหนดวงเงินเครดิตได้สูงกว่าผู้ให้บริการบัตรแบบเดิมถึง 5 เท่า” ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับคนที่มีรายได้ต่อเดือนที่สูงแต่ยังมีคะแนนเครดิตต่ำ เช่น เฟรชชี่ที่เพิ่งจบการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะได้

นอกจากนี้ยังมี TomoCredit ซึ่งก่อตั้งโดย Kristy Kim ผู้อพยพชาวเกาหลีใต้ ได้ประกาศการเพิ่มทุนของตัวเอง 22 ล้านดอลลาร์ในส่วนของผู้ถือหุ้น ทำให้ Valuation ของบริษัทขึ้นไปแตะ 222 ล้านดอลลาร์ สตาร์ทอัพยังได้รับเงินกู้ 100 ล้านดอลลาร์ TomoCredit ไม่ได้อาศัยคะแนน FICO ในการรับประกัน แต่จะใช้อัลกอริธึมการรับประกันภัยในการระบุ "ผู้กู้ที่มีศักยภาพสูง" โดยไม่ต้องเช็คเครดิตบูโร บัตร TomoCredit ไม่ต้องตรวจสอบเครดิต แต่อาศัยการคำนวณกระแสเงินสดที่บุคคลนั้นๆ มีอยู่ หรือคำนวณจาก Statement ธนาคารแทน และไม่มีค่าธรรมเนียม ฟินเทคดังกล่าวอ้างว่าสามารถให้วงเงินเครดิตแก่ผู้ถือบัตรสูงถึง 30,000 ดอลลาร์ตามกระแสเงินสดที่นับตามจริง

อ้างอิงจาก Techcrunch

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SCBX ไตรมาส 1 ปี 67 กำไร 11,281 ล้านบาท เตรียมลุย 'Virtual Bank' พร้อมก้าวสู่องค์กร AI-First Organization

บริษัท เอสซีบี เอกซ์ จำกัด (มหาชน) มีกำไรสุทธิในไตรมาส 1 ของปี 2567 จำนวน 11,281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน...

Responsive image

เปิดตัว Meta AI ใหม่ ถามได้ทุกเรื่อง สร้างภาพได้ทุกอย่าง ใช้ได้ทุกแอปฯ​ โซเชียลของ Meta

สำหรับ Meta AI เป็นแชทบอทที่เคยเปิดตัวให้เห็นครั้งแรกในงาน Connect 2023 ขับเคลื่อนด้วยโมเดลภาษาขนาดใหญ่ (LLM) อย่าง Llama 2 แต่ล่าสุดได้มีการอัปเกรดไปใช้โมเดลภาษาใหม่ Llama 3...

Responsive image

Samsung ให้ผู้บริหาร ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ จะได้รู้สึกถึงวิกฤตที่บริษัทกำลังเจอ

Samsung ประกาศมาตรการฉุกเฉิน สั่งผู้บริหารทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ สู้พิษเศรษฐกิจโลก และเพื่อพยุงธุรกิจของบริษัทให้ไปต่อได้ท่ามกลางการแข่งขันสูง...