ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) กำลังศึกษาพิจารณาตลาดหลักทรัพย์ที่สนับสนุนกิจการสตาร์ทอัพ (Startup) และกิจการที่มีทุนจดทะเบียนไม่สูง โดยบริษัทสามารถเข้าร่วมในตลาดได้ แม้จะยังเพิ่งก่อตั้ง และยังไม่มีกำไรเลยก็ตาม (No earning record)
ภาพจาก Nikkei Asian Review
ในเดือนตุลาคมก่อนหน้านี้ รองนายกฯ สมคิด ได้มีคำสั่งให้ กลต. ศึกษาหลักเกณฑ์ตั้งตลาดหุ้น Startup และให้พร้อมเริ่มในปี 60
SET กำลังดำเนินการส่งข้อเสนอนี้ไปยังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) แม้ว่ารายละเอียดจะยังไม่ได้สรุปแน่ชัด ตลาดใหม่แห่งนี้คาดว่าจะเปิดตัวในช่วงไตรมาสที่สาม ของปี 2559 และจะเป็นตลาดที่ผู้ประกอบการสามารถขอเข้าร่วมในตลาดได้ง่ายกว่าตลาดหลักทรัพย์ในปัจจุบัน
คุณเกศราระบุว่า บริษัทสามารถเข้าร่วมในตลาดนี้ได้ตั้งแต่วันที่ก่อตั้งบริษัท ไม่จำเป็นต้องยื่นผลประกอบการ ซึ่งต่างจาก SET และ mai และสามารถเทรดได้ทั้งผลิตภัณฑ์ตราสารทุน และนอกเหนือจากตราสารทุน เช่น ตราสารหนี้ และออปชัน (ตราสารอนุพันธ์) เพียงแต่อาจจะมีข้อจำกัดสำหรับนักลงทุนที่มีความน่าเชื่อถือเท่านั้น "ตลาดใหม่นี้จะไม่มีการการันตี แปลว่าการลงทุนของคุณอาจกลายเป็นศูนย์ก็ได้ หรือมันอาจจะทวีเป็นสองเท่า สามเท่าก็ได้เช่นกัน"
และสำหรับ Startups และบริษัทขนาดเล็ก มักจะปรากฏหลายเคสที่นักลงทุนได้เข้าร่วมเป็นบอร์ดบริหาร คุณเกศรากล่าวถึงความเป็นไปได้ของความยืดหยุ่นในตลาดใหม่ นอกจากนี้ การปันผลและค่าตอบแทนไม่จำเป็นต้องเป็นเงิน แต่อาจจะตอบแทนด้วยโปรดักส์ของบริษัทนั้นๆ เป็นต้น
นอกจากตลาดแห่งใหม่นี้แล้ว SET ยังเตรียมเปิดตัว index ใหม่ เพิ่มเติมจาก index เดิม เช่น SET50 และ SET100 โดย index ใหม่นี้จะมีชื่อว่า "sSET" สำหรับบริษัทขนาดย่อมกว่าใน index ปัจจุบัน ซึ่งตั้งเป้าว่าจะประกอบไปด้วยบริษัทเพิ่มเติมอีกราวร้อยบริษัท ในช่วงการเปิดตัวในเดือนมกราคม ปี 60
โดย index ใหม่นี้จะเน้นบริษัทที่มีการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) และเป็นบริษัทขนามย่อมลงมา เพื่อเป็นโอกาสใหม่ในการดึงดูดนักลงทุนจากต่างประเทศ
ที่มา: Nikkei Asian Review
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด