ไลน์เปิดตัว 'LINE GAME Platform' แพลตฟอร์มใหม่สำหรับนักพัฒนาเกม | Techsauce

ไลน์เปิดตัว 'LINE GAME Platform' แพลตฟอร์มใหม่สำหรับนักพัฒนาเกม

LINE เปิดตัว LINE GAME Platform แพลตฟอร์มเพื่อการพัฒนาเกม ช่วยทุกขั้นตอนในการสร้างเกม ทั้งระบบการทดสอบ การเปิดให้บริการ การวิเคราะห์และการจัดการตัวเกม ชูจุดเด่นฟีเจอร์ด้านระบบรักษาความปลอดภัยให้ตัวเกมแบบครบวงจร ทั้งสามารถวิเคราะห์ ป้องกันและมอนิเตอร์ตัวเกมได้

LINE GAME Platform เปิดตัวแพลตฟอร์มที่มีเครื่องมือหรือโปรแกรมต่างๆ ที่มีประโยชน์ต่อการพัฒนาเกม หวังส่งเสริมให้การพัฒนาเกมเป็นไปอย่างมีขั้นตอนและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งเป้าหมายขยายศักยภาพของเกมในเครือ LINE ไปสู่ระดับสากล ด้วยการเน้นให้ความช่วยเหลือนักพัฒนาเกมทั้งในญี่ปุ่น เกาหลี ไต้หวัน ไทย อินโดนีเซีย และอเมริกา

โดยในแพลตฟอร์มมี 5 ฟีเจอร์หลัก ที่เปิดให้นักพัฒนาสามารถเลือกและใช้ประโยชน์ได้ ประกอบด้วย

  • AIR แพลตฟอร์มรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร ที่มีความสามารถทั้งการวิเคราะห์ตัวเกม ป้องกันตัวเกมและมอนิเตอร์เกมได้
  • FUWA แพลตฟอร์ม Cloud ที่นำเสนอโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นในการพัฒนาเกม
  • PION แพลตฟอร์มจัดการระบบในเกม ที่ช่วยในด้านการจัดโปรโมชั่นในเกม การจัดการคอมมิวนิตี้ การมอนิเตอร์ผู้เล่นและอื่นๆ อีกมากมาย
  • GROWTHY แพลตฟอร์มวิเคราะห์ดาต้า ที่รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเกมแบบเรียลไทม์ และ
  • QUATY แพลตฟอร์มทดสอบตัวเกมหรือ QA (Quality Assurance) แบบอัตโนมัติ ที่ปรับให้เหมาะกับการทำเกมระดับ Global

ซึ่ง LINE GAME Platform ชูจุดเด่นว่าแพลตฟอร์มนี้จุดฟีเจอร์เด่นในเรื่องของการรักษาความปลอดภัยอย่าง AIR (Active Incident Response) ซึ่งจะช่วยป้องกันการโจมตี การละเมิดและปัญหาอื่นๆ ที่เกิดขึ้นกับเกมบนมือถือของ LINE โดยตัวแพลตฟอร์ม AIR จะถูกแบ่งย่อยออกเป็นสามส่วนคือ AIR GO, AIR ARMOR และ AIR EYE เพื่อความปลอดภัยของตัวเกม ซึ่งทั้งสามส่วนจะทำงานควบคู่กันไปเพื่อประสิทธิภาพในการรักษาความปลอดภัยของเกม

  • AIR GO จะทำหน้าที่วิเคราะห์แอปบนมือถือเพื่อระบุตัวตนและวิเคราะห์จุดอ่อนต่างๆ เช่น Open-source license, URL หรือ Malware ที่เป็นอันตราย อีกทั้ง ยังสามารถตรวจเช็คหาข้อบกพร่องของตัวแอปที่เป็นสาเหตุให้โดนปฎิเสธจากทาง App Store รวมถึงตรวจเช็ค License ต่างๆ ว่ามาจากการใช้ Open-source code หรือไม่ เพื่อป้องกันประเด็นทางด้านกฎหมายในอนาคต และด้วยการจัดหาข้อมูลการวิเคราะห์และความปลอดภัยเหล่านี้ให้กับตัวแอปทำให้ AIR GO สามารถช่วยทำให้แอปเกมมีเสถียรภาพและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

  • AIR ARMOR เป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่ช่วยป้องกันมือถือสำหรับแอปที่เป็นภัยในหลายระดับ ด้วยเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยชั้นนำที่มีอยู่หลากหลาย ความสามารถในการตรวจจับของ AIR ARMOR มีมากมาย ทั้ง Root/Jailbreak, Cheating, Emulators, Debugging, Framework, Repackaging, Module Tempering และ Security Workarounds รวมไปถึงให้การป้องกัน Java Code, Native Code, DLL Code และอื่นๆ อีกด้วย นอกจากนี้ยังช่วยเสริมสร้าง Game Engines และ Frameworks สำหรับพัฒนาเกมต่าง ๆ มากมาย รวมไปถึง Unity, Unreal และ Cocos โดยแอปเกมของ LINE กว่า 80 แอปได้มีการใช้งาน AIR ARMOR นี้แล้ว เช่น LINE: Disney Tsum Tsum และ LINE Brown Farm เป็นต้น
  • AIR EYE คือฟังก์ชั่นที่ตรวจสอบและจัดการภัยคุกคามต่าง ๆ ในมือถือ รวมไปถึงการละเมิด Rooting, Cheats และการดัดแปลงต่างๆ โดย AIR EYE ได้ทำการค้นพบและช่วยแก้ไขกรณีดังกล่าวมาแล้วกว่า 14,000 รายการในเกมของ LINE ในปี 2560

คาดว่า AIR ARMOR และ AIR EYE จะเปิดให้ใช้บริการได้เร็วๆ นี้

ยองแด คิม หัวหน้า LINE GAME Platform กล่าวว่า “การเปิดตัวระบบที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพอย่าง LINE GAME Platform เป็นส่วนสำคัญในการขยายตัวทั่วโลกของ LINE กับนักพัฒนาเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับบริการ AIR เรามุ่งเน้นการสร้างสภาพแวดล้อมที่มีเสถียรภาพในการปกป้องแอปบนมือถือและป้องกันการโจมตี โดยเรายังคงมุ่งมั่นในการขยายและพัฒนาแพลตฟอร์มด้านความปลอดภัยของเราให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป”

 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

อีคอมเมิร์ซจีนเร่งบุกตลาดต่างประเทศ รับมือเศรษฐกิจซบเซา ผ่านแคมเปญ Singles Day

หลังจากเทศกาลช้อปปิ้งวันคนโสดปีที่แล้วที่ซบเซาที่สุดในประวัติศาสตร์ แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของจีนจึงตระหนักว่าการขยายตลาดไปต่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น...

Responsive image

Pink Tech ไทย กำลังมา! ศูนย์ AI มธ. ชี้ กรุงเทพฯ จ่อขึ้นแท่นศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

รายงานล่าสุด "Unlocking the Power of Pink Tech in Thailand" โดยศูนย์ AI มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ร่วมกับ Canvas Ventures International (CVI) เผยให้เห็นศักยภาพอันมหาศาลของประเทศไทยในกา...

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...