ปัญหา 108 รุมเร้า จนรู้สึกว่าเราไม่ดีพอ CEO สหรัฐ 71% โดน Imposter Syndrome เล่นงาน

รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งพอ ใครว่าไม่สำคัญ ผลสำรวจของ Korn Ferry เผย CEO ในสหรัฐฯ กว่า 71% ตกอยู่ในสภาวะ Imposter Syndrome

 

จุดเปลี่ยนหลังโควิด เล่นงาน CEO 

การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ นำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมและเศรษฐกิจที่ผู้บริหารต้องเผชิญ ผลสำรวจชี้ว่า ทั้งการบูมของ AI แรงต่อต้านของพนักงานที่ไม่อยากเข้าออฟฟิศ เป็นความท้าทายสำหรับผู้บริหารระดับสูง 

นอกจากนี้ยังมีแรงกดดันจากผู้คนต่อการแสดงจุดยืนในประเด็นสังคมต่างๆ จากการสำรวจของ Edelman ในปี 2022 พบว่าพนักงาน 70% ในสหรัฐฯ คาดหวังให้ CEO แสดงจุดยืนเรื่องผู้อพยพ และ 74% คาดหวังจุดยืนเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 

ยังมีปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อที่สูง ภาวะเศรษฐกิจที่ไม่แน่นอน ความวิตกกังวลของผู้บริโภคและความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ ทำให้ CEO หลายคนมองไม่เห็นหนทางพาองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้ในตอนนี้

Mark Arian CEO ของ Korn Ferry บริษัทที่ปรึกษาผู้ทำผลสำรวจนี้ให้ความเห็นว่า แม้โดยปกติผู้นำองค์กรจะต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลง แต่ปัญหามันไม่เคยมีมากขนาดนี้ และไม่ได้มาพร้อมกันหมดในเวลาเดียวกัน ซึ่งสร้างแรงกดดันมหาศาลให้เหล่าผู้นำ 

CEO 71% มีภาวะ Imposter Syndrome คิดว่าตัวเองไม่ดีพอ 

ด้วยปัญหาหลายอย่างที่รุมเร้า สร้างแรงกดดันมหาศาล ถึงแม้ CEO จะมีการพยายามจัดการกับปัญหา อาทิเช่น การกำหนดแนวทาง Work From Home และการปรับปรุงออฟฟิศเพื่อเรียกพนักงานกลับมาทำงาน 

แต่จากการสำรวจของ Korn Ferry พบว่า CEO ในสหรัฐฯ กว่า 71% กังขาในความสามารถของตนเองและรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ดีพอในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้น หรือที่เรียกกันว่า Imposter Syndrome ภาวะที่คิดว่าตัวเองยังไม่เก่งพอ

ปี 2024 มี CEO ทั่วโลกลาออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยภายในไตรมาสแรกพบว่ามี CEO ลาออกไปแล้วกว่า 51 ครั้ง และแต่งตั้งใหม่ถึง 68 ครั้งในบริษัทกลุ่มดัชนีตลาดหุ้นหลักเช่น เช่น S&P 500, FTSE 100 และอื่นๆ ตามรายงานของ Russell Reynolds Associates และ CEO กว่า 15% ที่ลาออกในไตรมาสแรกนี้เป็น CEO ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งไม่ถึงสองปี ซึ่งถูกนิยามว่าเป็นการตั้งผู้นำที่ล้มเหลว 

ถึงแม้ค่าตอบแทนของ CEO จะอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 16.3 ล้านดอลลาร์หรือราว 5.8 ล้านบาท ในปี 2023 และจากการสำรวจของ The Associated Press พบว่ามีการจ่ายค่าจ้างสูงกว่าเดิมกว่า 50% แต่ค่าตอบแทนที่สูงก็ไม่ได้ช่วยลดปัญหา Imposter Syndrome เหล่า CEO ต้องจัดการกับปัญหาและรับแรงกดดันจากทั้งจากการบริหารภายในบริษัทรวมถึงจากความต้องการของสังคม

อ้างอิง: cnbc

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ถอดรหัส ‘Frontier Firm’ โมเดลองค์กรแห่งอนาคตจาก Microsoft ที่ SCBX, SCGC และ สนง.กฤษฎีกา เริ่มใช้แล้ว

Microsoft ได้เปิดเผยมุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับองค์กรแห่งอนาคตภายใต้แนวคิด Frontier Firm ซึ่งเป็นองค์กรต้นแบบที่นำ AI เข้ามาผสานการทำงานกับมนุษย์ได้อย่างลงตัว เพื่อรับมือกับความท้าทา...

Responsive image

เก่งเกินไปแล้ว! เด็กอินเดียวัย 14 ปี พัฒนาแอป AI ตรวจโรคหัวใจ แม่นยำ 96%

Siddharth Nandyala เด็กหนุ่มคนนี้ได้พัฒนาแอปที่ชื่อว่า Circadian AI ซึ่งใช้แค่โทรศัพท์เครื่องเดียว ก็สามารถบอกได้ว่าหัวใจของเรามีความเสี่ยงหรือไม่ และใช้เวลาไม่กี่วินาทีเท่านั้น...

Responsive image

'AI Home' ส่องวิสัยทัศน์จาก Samsung ที่จะเปลี่ยนบ้านให้ 'คิด' และ 'เข้าใจ' เราได้จริง

เป้าหมายของเราในปีนี้ คือการยกระดับและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้บริโภค นี่คือคำกล่าวเปิดของ ดาเรน เทย์ รองประธานและหัวหน้าฝ่ายเครื่องใช้ไฟฟ้าดิจิทัล ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใ...