เจาะลึกการทำ Pitch Deck ของสตาร์ทอัพ ควรมีอะไรบ้าง ? | Techsauce

เจาะลึกการทำ Pitch Deck ของสตาร์ทอัพ ควรมีอะไรบ้าง ?

สำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพ Pitch Deck หรือ การนำเสนอไอเดียแบบสั้น ๆ ที่ช่วยให้นักลงทุนและลูกค้าได้เห็นภาพรวมของธุรกิจ แผนธุรกิจ และแนวโน้มการเติบโตจะเป็นตัวช่วยสร้างโอกาสให้กับธุรกิจได้ 

Pitch DeckPaul O'Brien ผู้บริหารของ MediaTech Venture ได้ออกมาแชร์เรื่องราวเกี่ยวกับการนำเสนอไอเดียจากผู้ก่อตั้งสตาร์ทอัพที่เขาพบเจอมา และได้ให้คำแนะนำพร้อมเทคนิคดีๆ กับสิ่งที่ควรมีในการนำเสนอไอเดีย (Pitch Deck) 

หลายครั้ง Paul ต้องเจอกับสตาร์ทอัพที่ต้องการทดลองสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ให้เขาดู ซึ่งทำให้เสียเวลา เพราะที่จริงแล้วการสาธิตผลิตภัณฑ์นั้น เหมาะสำหรับคนที่จะซื้อมากกว่า หากคุณต้องการให้นักลงทุนมาลงทุน คุณก็ควรที่จะขายไอเดียมากกว่า (Pitch) เพราะนักลงทุนไม่ได้ต้องการจะซื้อ แต่ต้องการจะร่วมรับความเสี่ยงว่าบริษัทนั้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่

ในบทความนี้ Techsauce ได้นำเทคนิคที่ Paul แชร์มาให้ทุกท่านอ่านกันว่า สตาร์ทอัพที่กำลังอยู่ในระยะเริ่มต้นและต้องการระดมทุนนั้น ต้องมีอะไรในการนำเสนอไอเดียบ้าง (What Shoud Be On Your Pitch deck)

6 สิ่งที่ต้องมีใน Pitch deck

Pitch Deck คือ สื่อในการนำเสนอที่เราใช้ในการนำเสนอ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารเพื่อสรุปให้ผู้ฟังเข้าใจธุรกิจภายในระยะเวลาอันสั้น ใช้เวลาไม่เกิน 3-7 นาทีและมีเพียงแต่ 13-15 Slides พูดง่ายๆ คือเอาแต่เนื้อไม่เอาน้ำ ทำให้สิ่งจำเป็นที่ควรใส่มี 6 อย่าง ดังนี้

  1. Problem - มีปัญหาที่ต้องการจะแก้ไขจริงๆ หรือเปล่า ? (และโอกาส) 

  2. Solution & Value Proposition - มีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง และจะสร้างมูลค่าได้อย่างไร เพราะถ้าสร้างมูลค่าไม่ได้ก็ไม่มีใครจะให้ทุน

  3. Business Model - ใช้โมเดลธุรกิจรูปแบบไหน และจะสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันอย่างไรบ้าง โมเดลธุรกิจไม่ใช่วิธีการทำเงินเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการคำนึงถึงทั้งรายได้ละต้นทุน (Revenue & Cost)

  4. Competition - อย่าคิดว่าผลิตภัณฑ์เราดีที่สุด หรือเราไม่มีคู่แข่ง และจงให้ความสำคัญกับการตลาดเป็นอันดับแรก

  5. Founding Team - คุณและทีมของคุณจะทำได้จริงหรือเปล่า? ถ้าทำไม่ได้จริงนั่นแปลว่าคุณยังไม่พร้อมที่จะระดมทุนเพราะคุณยังอยู่ในขั้นตอนของการสร้างทีมอยู่

  6. Fundrasing - อธิบายว่าต้องการเงินทุนในรูปแบบไหน และเมื่อได้เงินทุนไปแล้วจะสร้างมูลค่าให้กับธุรกิจอย่างไรบ้าง เหตุผลจริงๆ ที่ต้องการเงิน และนักลงทุนจะได้อะไรกลับมาบ้าง

ถ้าทำ 6 ข้อข้างบนได้แล้ว ก็เสริมอีก 5 ข้อ

  1. โฟกัสที่ Market Validation มากกว่า Customer Validation - Market Validation คือ การสำรวจและวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของตลาดว่าผลิตภัณฑ์หรือบริการของเรามีศักยภาพในการเติบโตมาแค่ไหน ขณะที่ Customer Validation คือ การเข้าหาลูกค้าเพื่อรับฟีดแบคของสินค้าและบริการว่าเป็นที่ต้องการของตลาดจริงหรือไม่

  2. Market Size - ตลาดสินค้าหรือบริการของคุณมีขนาดใหญ่แค่ไหน

  3. Marketing Plan - มีแผนการตลาดอย่างไรบ้าง

  4. Traction / Milestones -  มีลูกค้าใช้งานจริงหรือไม่ เช่น จำนวนผู้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน หรือ จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ (traction) และมีเป้าหมายอะไรบ้าง (ถ้าข้อข้างบนยังโน้มน้าวนักลงทุนไม่ได้ให้เพิ่มข้อนี้ไป)

  5. Use of Funds - รายละเอียดงบการเงินและการใช้เงิน

ที่มา : LinkedIn

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

SpaceX เปิดตัว Starlink เชื่อมมือถือโดยตรงกับเน็ตอวกาศ ปฏิวัติการสื่อสารสู่โลกไร้พรมแดนแม้อยู่ในพื้นที่ห่างไกล

SpaceX ประสบความสำเร็จในการปล่อยดาวเทียม Starlink จำนวน 20 ดวงขึ้นสู่วงโคจร เป็นการปูทางสู่การเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือโดยตรงจากทุกที่บนโลกใบนี้...

Responsive image

เปิดเส้นทางซานต้า ผจญภัยทั่วโลกเรียลไทม์ ส่งมอบความสุขบน Flightradar24 เทศกาลคริสต์มาสนี้

เทศกาลคริสต์มาสปีนี้ Flightradar24 ได้เปิดระบบพิเศษให้เราตามรถเลื่อนของซานตาคลอสได้แบบเรียลไทม์เลย! ไม่ใช่แค่เครื่องบินธรรมดา แต่เป็นรถลากเลื่อนที่ลากด้วยกวางเรนเดียร์คู่ใจของซานต้...

Responsive image

ครั้งแรกของโลก! นักวิจัยไทยพัฒนาชุดตรวจความเครียดจากเหงื่อ แม่นยำสูง ไม่ต้องเจาะเลือด

นวัตกรรมนี้ใช้เพียงก้านสำลีเก็บตัวอย่างเหงื่อจากรักแร้ 15 นาที สามารถตรวจพบสารเคมีที่บ่งชี้ภาวะเครียดได้อย่างแม่นยำสูง แก้ปัญหาการคัดกรองแบบเดิมที่ต้องพึ่งการสังเกตพฤติกรรมและการปร...