กรณีศึกษา Playbasis และการจับมือกับ Visa เชื่อมต่อโลก Mobile Banking ให้สนุกกว่าเดิม | Techsauce

กรณีศึกษา Playbasis และการจับมือกับ Visa เชื่อมต่อโลก Mobile Banking ให้สนุกกว่าเดิม

เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาเพิ่งมีข่าวน่ายินดีของบริษัทในประเทศไทยอย่าง เพลย์เบสิส (Playbasis) ได้จับมือเป็น Strategic partner กับ วีซ่า (Visa) ที่เรารู้จักกันดีในฐานะองค์กรระดับโลกด้านการชำระเงิน พอได้ศึกษารายละเอียด ก็พบว่าเจ้าโซลูชันส์ใหม่ Pay & Play ที่ร่วมกับวีซ่ามีความน่าสนใจมาก จนอยากหยิบมาเล่าเป็นกรณีศึกษา

playbasis-visa-partnership

ขอปูพื้นกันก่อนว่า เดิมทีเพลย์เบสิส เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านการสร้าง Customer engagement โดยเฉพาะเรื่อง Gaming และ Gamification และเพลย์เบสิส  ได้พัฒนาโซลูชันส์ของตน ช่ือ Playbook สำหรับให้ลูกค้าสถาบันการเงิน และบริษัทประกัน นำไปใช้เป็น Backbone ของ Mobile platform ของตนเอง ซึ่งมาพร้อมฟีเจอร์ที่สมบูรณ์ในตัว  เช่น Member Profile, Social Feed, Data Analytics, Mini-Game Rooms และ Point and Reward system เป็นต้น

วงจรแห่ง Engagement ในกิจกรรมทางการเงิน

ธนาคารสามารถประยุกต์ใช้ศาสตร์ Gamification ในแอปทางการเงินได้ โดยสร้างวงจรแห่ง Engagement ซึ่งก็คือ Act-Play-Win โดย Act ในที่นี้ คือการทำ Transaction อะไรก็ได้แล้วแต่ทางธนาคารจะต้องการกำหนด เช่น ชำระเงิน โอนเงิน หรือ ชำระค่าบริการผ่านแอปธนาคาร เป็นต้น

ทั้งนี้ไม่ว่าคุณจะเป็นสถาบันทางการเงินแนวไหน Personal Finance, Investing, Payment หรือ Credit and lending ก็สามารถใช้บริการโซลูชันส์ของ Playbook เพื่อสร้างแอปของตัวเองที่เด่นเรื่อง Gamification ได้ หรือ หากมีแอปพลิเคชันของตัวเองอยู่แล้ว และต้องการเพิ่มฟีเจอร์หรือนำไอเดียเกมไปใช้ ก็สามารถเลือกบริการ ของ Playbasis Plugin (SDK) ได้เช่นเดียวกัน

อ่านเพิ่มเติม: ตัวอย่างการประยุกต์ Gamification กับแอปพลิเคชันสายการเงิน

Playbasis จับมือกับ Visa ความสนุกจึงสมบูรณ์ขึ้น

ทีนี้เรื่องการร่วมมือระหว่างเพลย์เบสิส และวีซ่าหมายถึงอะไร? ก่อนหน้านี้ผู้เล่นสามารถเข้าสู่วงจรได้ ด้วยการกระทำ Act บางอย่างผ่านแอปพลิเคชัน เช่น กดโอนเงิน ก็จะมีเกมตามมา ให้ Play และ Win รางวัล

แต่ถ้า Act นั้นไม่ได้เกิดบนแอปพลิเคชันตรงๆ ล่ะ? อย่างเช่น การรูดบัตรเครดิต เป็นต้น ผู้ใช้มีกิจกรรมเกิดขึ้น แต่น่าเสียดายว่าแอปพลิเคชันยังไม่สามารถ Engage กับกิจกรรมนี้ของเขาได้

ซึ่งนั่นเป็นอดีตแล้ว เพราะตอนนี้ การที่เพลย์เบสิสร่วมงานกับวีซ่านั้น จะเป็นการช่วยส่งเสริม Act ที่เป็น Transaction ของบัตรเครดิต มีความสนุกมากยิ่งขึ้น เป็นที่มาของ Pay & Play ที่ช่วยเป็น Plugin สำหรับแอปของธนาคารเอง รวมถึงแอปที่สร้างผ่าน Playbook ให้มีความสนุกยิ่งกว่าเดิม ผ่านการเชื่อมต่อข้อมูลกับผู้ให้บริการบัตรเครดิตอย่างวีซ่าโดยตรง เกิดเป็นวงจร Act-Play-Win ที่สมบูรณ์ ไม่เว้นแม้กระทั่งกิจกรรมบนบัตรเครดิต

วิธีการทำงานของ Pay & Play คือ Engine ของเพลย์เบสิส จะรับข้อมูล Transaction จากวีซ่า นำมาประมวลผล เลือก Reward ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และส่งผลลัพธ์ไปให้ผู้ใช้งานบนแอปพลิเคชัน หากชำระเงินกับบัตรเครดิตวีซ่า ก็สามารถเล่นเกมสนุกๆ ต่อได้บนแอป และรับของรางวัลจากผลงานการเล่นเกมของเขา แทนที่เดิมที่จะเป็นการให้คะแนนสะสม ซึ่งผู้ใช้ไม่มีโอกาสได้ Engage กับแอปของคุณเลย

pay-and-play-playbasis-visa

โซลูชันส์ของเพลย์เบสิสเอง ก็ยิ่งย้ำให้เห็นเรื่องความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น จากเดิมทีแอปของสถาบันการเงินจะเป็นแอปที่เชื่อมระหว่างสถาบันการเงินและผู้บริโภคตรงๆ สองฝ่าย แต่การจับมือกันกับวีซ่า ทำให้โซลูชันส์นี้มีความครบถ้วน และสนุกมากยิ่งขึ้น ทำให้เรื่องของการจ่ายเงินที่ดุน่าเคร่งเครียดหรือน่าเบื่อ ให้เป็นเรื่องที่ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป

มาถึงตรงนี้แฟนๆ Techsauce คงมีคำถามว่า ทำไมวีซ่าถึงเลือกจับมือกับเพลย์เบสิส ทางคุณเจมส์ ลิม Head of Product ประจำเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของวีซ่า ได้กล่าวอย่างน่าสนใจว่า การให้บริการชำระเงินได้สะดวกขึ้น เร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น เป็นเพียงส่วนประกอบหนึ่งเท่านั้น ในบรรดานวัตกรรมใหม่ๆ ที่มาเรื่อยๆ สิ่งสำคัญที่ยังต้องคำนึง คือเรื่องการนำเทคโนโลยีมาใช้สร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า ซึ่งทางเพลย์เบสิส  ก็พัฒนาเจาะลึกในเรื่องนี้มาเสมอ และได้รับความไว้วางใจจากสถาบันชั้นนำมาแล้วมากมาย

สถาบันทางการเงินที่ใช้บริการของวีซ่า ทั้งที่เป็น Issuer (ธนาคารผู้ออกบัตร) หรือ Acquirer (ธนาคารที่ให้บริการร้านค้าในการรับบัตร) สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ Playbasis.com

 

บทความนี้เป็น Advertorial

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...