จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4 | Techsauce

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ถึงเวลาของการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในรอบเกือบ 20 ปี เมื่อ ลี เซียนลุง (Lee Hsien Loong) ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง (Lawrence Wong) รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรัฐมนตรีรุ่นที่ 4 ของสิงคโปร์ 

สำนักนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ได้ออกแถลงการณ์แต่งตั้ง Lawrence Wong ให้เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่อย่างเป็นทางการ โดยจะเข้าพิธีสาบานตนที่ทำเนียบอิสตานา ในเวลา 20:00 น. ของวันที่ 15 พฤษภาคม 2024

ทางด้านลี เซียนลุง ได้โพสต์ข้อความบน Facebook ถึงการเปลี่ยนแปลงผู้นำในครั้งนี้ว่า “นายหว่อง และกลุ่ม 4G ได้รับความไว้วางใจจากประชาชนอย่างมาก โดยเฉพาะในช่วงการเกิดโรคระบาด Covid-19 ที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีโรดแมป Forward Singapore ที่พวกเขาได้ทำงานร่วมกับชาวสิงคโปร์เป็นจำนวนมาก เพื่อพัฒนาวาระแห่งชาติสำหรับคนรุ่นใหม่”

ทั้งนี้ โรดแมป Forward Singapore คือสัญญาประชาคมจากชาวสิงคโปร์ร่วมกันสร้างประเทศเพื่อวันข้างหน้า โดยมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของนโยบายในแง่มุมต่างๆ ของสังคม อาทิ เรื่องการศึกษา การเรียนแบบไม่เน้นเกรดแต่เน้นการพัฒนาทักษะชีวิต เรื่อง Aging Society ระบบ healthcare ที่ยกระดับสุขภาพของผู้สูงอายุ และเรื่องการลงทุนในอนาคต การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น  

ในพิธีเปิดงาน Forward Singapore ในปี 2023 นายหว่อง ซึ่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงการคลังในขณะนั้น กล่าวว่า เมื่อก่อนคนสิงคโปร์จะพูดถึงการไล่ล่าถึง 5C ประกอบด้วย คอนโด รถยนต์ เงินสด บัตรเครดิต และคันทรีคลับ แต่วันนี้เราไม่เห็น C เหล่านั้นแล้ว ในฐานะรัฐบาลเราเข้าใจถึงความกังวลของประชาชนในเรื่องที่อยู่อาศัยและค่าครองชีพ ซึ่งรัฐบาลกำลังแก้ปัญหาเหล่านี้อย่างเต็มที่ โดยมีเป้าหมายที่ Singapore Dream ซึ่งเราให้ความสำคัญกับประชาชนทุกคน สร้างแรงบันดาลใจที่หลากหลาย และเฉลิมฉลองความสำเร็จไปด้วยกัน

หากย้อนไปช่วงก่อนเกิดโรคระบาด เดิมที ลี เซียนลุงมีความตั้งใจที่จะลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ก่อนแล้ว เกิดวิกฤตโควิดขึ้นมาทำให้แผนการดังกล่าวต้องล้มเลิกไปก่อน ซึ่งในเวลานั้นเขาจะส่งไม้ต่อให้เฮง สวีเกียต (Heng Swee Keat) อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งนายเฮงได้ตัดสินใจลาออกจากตำแหน่งดังกล่าว ด้วยเหตุผลด้านความเหมาะสมและอายุที่มากถึง 63 ปี 

นั่นจึงทำให้นายหว่อง ในวัย 51 ปีได้รับการเสนอชื่อเมื่อ 2 ปีที่แล้วให้เป็นผู้นำของรุ่นที่ 4 (4G หรือ Fourth Generation) ของพรรคกิจประชาชน (People’s Action Party: PAP) ทำให้เขาก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนต่อไป 

หากทุกอย่างเป็นไปตามที่กำหนดไว้ คาดว่านายลี จะส่งไม้ต่อให้นายหว่องได้ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปของสิงคโปร์ ภายในเดือนพฤศจิกายน 2025 

รู้จักกับ ลอว์เรนซ์ หว่อง

 ลอว์เรนซ์ หว่อง เป็นชาวจีนไหหลำ จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ในระดับปริญญาตรีและปริญญา จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดในสหรัฐ โดยเขาได้นิยามตัวเองว่าเป็นหนอนหนังสือ ชอบเล่นกีต้าร์ และเป็นทาสน้องหมา

สำหรับชีวิตวัยเด็กนายหว่องไม่ได้เกิดจากครอบครัวนักการเมือง พ่อเป็นพนักงานทั่วไป แม่เป็นครูโรงเรียนประถม ส่วนตัวเขาเองก็เรียนในโรงเรียนที่แม่สอน ซึ่งเป็นโรงเรียนใกล้บ้าน เขาให้เหตุผลว่า ไม่อยากเดินทางไกล และต้องการใช้เวลาช่วงวัยเด็กไปกับเพื่อนๆ ของเขา

เส้นทางการเมืองของหว่องก็ไม่ธรรมดา นายหว่องเริ่มเข้าสู่สนามการเมืองในวัย 40 ปี ด้วยการได้รับเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาระหว่างการเลือกตั้งทั่วไป ต่อมาจึงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงกลาโหม 

จากนั้นในปี 2005 นายหว่อง กลายเป็นเลขาธิการนายกรัฐมนตรีลีเซียงลุงในขณะนั้น และ 3 ปีต่อมา (2008) เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บริหารระดับสูงของการกำกับดูแลพลังงาน กระทั่งในปี 2010 นายหว่อง ได้ทำงานร่วมกับคณะรัฐมนตรีของลีเซียงลุง ด้วยการเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม สังคม และเยาวชน ก่อนที่ในปี 2012 จะย้ายเข้ารับตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาแห่งชาติ

 และปีที่นายหว่องได้รับสปอร์ตไลท์เต็มตัวคือปี 2020 โดยนายกัน คิมหยง รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขในขณะนั้น ต้องการรวมกลุ่มผู้นำเพื่อต่อสู้กับโรคระบาดโดยนายหว่องเป็น 1 ใน 3 ประธานร่วมของคณะทำงานเฉพาะกิจเรื่องโควิด 19 ในหลายกระทรวงของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นผู้นำที่มีบทบาทสำคัญในการรับมือและยับยั้งการแพร่ระบาดในประเทศ อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการประกาศข่าวสำคัญๆ ในงานแถลง ทำให้ประชาชนได้เห็นฝีมือของนายหว่องในการบริหารประเทศเมื่อเกิดวิกฤต 

นอกจากนี้ ในปี 2023 นายหว่องในฐานะรองนายกรัฐมนตรียังมีนโยบายเพิ่มจำนวนบุคลากรด้าน AI เป็น 3 เท่ารวม 15,000 คน โดยการฝึกอบรมคนในท้องถิ่น และการจ้างงานจากต่างประเทศ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ระดับชาติ ด้านเทคโนโลยี โดยเชื่อมั่นว่าจะใช้ประโยชน์จากความสามารถของ AI ได้เต็มที่ ด้วยการอาศัยนักวิทยาศาสตร์ และวิศวกรด้านการเรียนรู้ ที่ึขึ้นชื่อว่าเป็นกระดูกสันหลังของ AI

ในวีดีโอที่โพสต์บน Facebook เกี่ยวกับการเข้ารับตำแหน่ง นายหว่องกล่าวว่า “จะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนและสำนึกในหน้าที่อย่างลึกซึ้ง และให้คำมั่นสัญญาว่า จะทุ่มเทพลังงานทั้งหมดเพื่ออุทิศให้กับการรับใช้ชาติและประชาชน”

น่าจับตามองกันต่อไปว่าสิงคโปร์ในช่วงผลัดใบจะเป็นอย่างไร

อ้างอิง Channelnewsasia 1, Channelnewsasia2, Straitstimes, Bloomberg 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

Elon Musk เยือนจีน หวังกู้สถานการณ์บริษัท จ่อเปิดใช้ฟีเจอร์ FSD ในจีน พร้อมแผนที่จาก Baidu

Elon Musk ซีอีโอของ Tesla ได้เดินทางไปยังกรุงปักกิ่งอย่างกระทันหัน เพื่อหารือเกี่ยวกับการเปิดตัวซอต์ฟแวร์ขับเคลื่อนรถอัตโนมัติแบบ Full Self-Driving (FSD) ในจีน รวมถึงการขออนุญาตในก...

Responsive image

CHANGAN Automobile เปิดตัว NEVO E07 : SUV พร้อมฟังก์ชันกระบะเปิดท้ายในงาน “ปักกิ่ง ออโต้ โชว์ 2024”

CHANGAN เปิดตัว NEVO E07 ในงานแสดงรถยนต์นานาชาติปักกิ่งครั้งที่ 18 ซึ่งเป็นยานพาหนะแปลงโฉมคันแรกของโลก ที่ผลิตขึ้นเป็นจำนวนมาก NEVO E07 เป็นรถยนต์รุ่นใหม่คันแรกของบริษัทในโฉม SUV ...

Responsive image

ลาออกแล้ว ไปทำงานกับคู่แข่งได้ สหรัฐฯ ออกกฎใหม่ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete

ลาออกแล้ว ไปทำงานบริษัทคู่แข่งได้ สหรัฐฯ เตรียมใช้กฎใหม่ ห้ามบริษัททำสัญญา Non Compete มองปิดโอกาสคนทำงาน ฉุดรั้งเศรษฐกิจประเทศ...