บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน) ได้แจ้งผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 1/2563 มีผลขาดทุนสุทธิใน ไตรมาส1/2563 จํานวน 1,554 ล้านบาท โดยมีกําไรสุทธิลดลง จํานวนประมาณ 19,000 ล้านบาท หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 100.0 จากกําไรสุทธิในไตรมาส 4/2562 ที่จํานวน 17,446 ล้านบาท
โดยใน ไตรมาส1/2563 เกิดขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจากเงินกู้สกุลต่างประเทศ เนื่องจากค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐฯ และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้เพิ่มขึ้น โดยหลักจาก ผลกระทบของค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียม แม้ว่าจะมีกําไรจากตราสารอนุพันธ์เพิ่มขึ้น
ขณะที่เมื่อเทียบผลการดําเนินงานไตรมาส 1 ปี 2563 กับไตรมาส 1 ปี 2562 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายลดลง 67,307 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.2 รายได้จากการขายที่ลดลงมาจากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ เนื่องจากราคาขายเฉลี่ย และปริมาณขายเฉลี่ยลดลง
ยกเว้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรม มีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเนื่องจาก การเข้าซื้อ บมจ. โกลว์ พลังงาน (GLOW) ของ บมจ. โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ (GPSC) ในช่วงปลายไตรมาส1/2562 และรายได้จากการขายธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจากปริมาณขายเฉลี่ยโดยรวมที่เพิ่มขึ้น จากการเข้าซื้อธุรกิจ โครงการมาเลเซีย และกลุ่มพาร์เท็กซ์ (Partex) ในช่วงครึ่งหลังของปี 2562 และโครงการ บงกชมีปริมาณการขายเพิ่มขึ้นจากจํานวนวันในการปิดซ่อมบํารุงลดลง แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยลดลง
ทั้งนี้ปตท. และบริษัทย่อยในไตรมาส1/2563 มีขาดทุนสุทธิ โดยมีกําไรสุทธิลดลงจํานวนประมาณ 30,866 ล้าน บาท หรือลดลงมากกว่าร้อยละ 100.0 จากในไตรมาส1/2562 ที่มีกําไรสุทธิจํานวน 29,312 ล้านบาท ตาม EBITDA ที่ลดลงและค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่ายที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียม และธุรกิจเทคโนโลยี และวิศวกรรมจากการเข้าซื้อกิจการดังกล่าวข้างต้น
สำหรับ EBITDA ที่ลดลงมีสาเหตุหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นที่ มีขาดทุนจากสต็อกน้ํามันในไตรมาสที่ 1/2563 โดย Market GRM ปรับลดลงตามส่วนต่างราคาน้ํามัน อากาศยาน น้ํามันดีเซลและน้ํามันเตาที่มีกํามะถันสูงกับน้ํามันดิบที่ลดลง อีกทั้งส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับ วัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งสายโอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง
นอกจากนี้ กลุ่ม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดําเนินงานลดลง โดยหลักจากธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายและปริมาณ ขายที่ลดลง และธุรกิจจัดหาและจัดจําหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายอ้างอิงราคาน้ํามันเตาที่ลดลง สําหรับกลุ่มธุรกิจน้ํามันมีผลการดําเนินงานลดลงจากขาดทุนสต็อกน้ํามันที่เพิ่มขึ้นและปริมาณขายที่ลดลงจากผลกระทบ ของ COVID-19
ปตท. และบริษัทย่อยมีสินทรัพย์รวม 2,499,666 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15,227 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.6 จาก ณ 31 ธันวาคม 2562 โดยหลักจากสินทรัพย์สิทธิการใช้ที่เพิ่มขึ้น 70,404 ล้านบาท เนื่องจากเริ่มใช้ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาเช่า ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2563
ในขณะที่มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 1,222,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 39,303 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.3 ซึ่งเป็นหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น 46,462 ล้านบาท โดยหลักเป็นผลจากหนี้สินตามสัญญาเช่าที่เพิ่มขึ้น จากการเริ่มใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน เรื่อง สัญญาเช่าดังกล่าว และมีส่วนของผู้ถือหุ้น 1,276,964 ล้านบาท ลดลง 24,076 ล้านบาทหรือลดลงร้อยละ 1.9 โดยหลักจากการจ่ายเงินปันผลและขาดทุนสุทธิของไตรมาส1/2563
เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 และสงครามราคาน้ํามัน ได้ส่งผลกระทบต่อ เศรษฐกิจโลกในทุกภาคอุตสาหกรรม รวมถึงอุตสาหกรรมพลังงานและผลการดําเนินงานของกลุ่มปตท. เช่นกัน อย่างไรก็ตาม กลุ่มปตท. ได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และมีการบริหารจัดการและมาตรการ ต่างๆ
โดยการจัดตั้ง PTT Group Vital Center เพื่อวางแผนและดําเนินการทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดย มาตรการระยะสั้น ได้แก่ การบริหารจัดการค่าใช้จ่ายผ่านนโยบาย “ลด-ละ-เลื่อน” ความร่วมมือในการทํา PTT Group Value Chain Optimization เพื่อบริหารอุปสงค์ อุปทาน ปริมาณสินค้าคงคลังให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งการบริหารสภาพคล่องและรักษาความแข็งแกร่งทางด้านการเงิน ของกลุ่มปตท.
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด