ในวันที่ 1 มิถุนายนที่ผ่านมาเกณฑ์ใหม่ประกัน EV ได้เริ่มบังคับใช้อย่างเป็นทางการกับธุรกิจประกันภัยรถยนต์ในประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าทุกคน (EV) หากต้องการทำประกันรถยนต์จะต้องยอมรับเงื่อนไขใหม่ๆ ทั้งหมดของเกณฑ์ใหม่ประกัน EV โดยมี 4 ข้อสำคัญที่ต้องรู้ก่อนทำประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ดังนี้
จุดมุ่งหมายหลักของเกณฑ์ใหม่ประกันEV ในครั้งนี้ ไม่ได้มุ่งที่จะทำให้ประกันรถยนต์ไฟฟ้าถูกลงตั้งแต่ปีแรก แต่มีจุดมุ่งหมายที่จะทำให้ประกันรถยนต์ไฟฟ้า 'ถูกลงสำหรับคนที่มีประวัติการขับรถดีแบบต่อเนื่อง'
เนื่องจากเงื่อนไขข้อนึงที่ถูกกำหนดมากับเกณฑ์ใหม่ประกัน EV คือ ‘ส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่’ โดยส่วนลดตัวนี้จะถูกกำหนดว่า ถ้าในปีแรก คนขับคนไหนที่ไม่ได้มีการ 'เคลมประกันแบบเป็นฝ่ายผิดหรือฝ่ายประมาทเลย' จะทำให้ได้รับส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่ในปีต่อๆ ไป
นอกจากนี้รถแต่ละคันก็มีสิทธิ์ที่จะได้รับ ‘ส่วนลดประวัติดี’ เพิ่มอีก 40% เท่ากับว่าถ้าหากไม่มีชนเลยเป็นระยะเวลา 4 ปี ติดต่อกัน ก็มีสิทธิ์จะได้รับส่วนลด 40% + 40%
เบี้ยประกันภัยปกติราคา 20,000 บาท และ ไม่มีประวัติการชนเลยตลอด 4 ปีติดต่อกัน
นำไปลดจาก ‘ส่วนลดประวัติดี’ เพิ่มอีก 40%
หลายๆ คนน่าจะทราบอยู่แล้วว่าเกณฑ์ใหม่ประกัน EV หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นมา มีความเสี่ยงว่าประกันรถยนต์จะรับผิดชอบความเสียหายของแบตเตอรี่รถของเราแค่ ‘บางส่วน’
แต่นั่นอาจจะเป็นความเข้าใจเพียงส่วนเดียว เพราะว่าการ ‘ลดความคุ้มครองแบตเตอรี่’ จะถูกแบ่งการเกิดอุบัติเหตุออกเป็น 2 กรณีคือ
ในกรณีที่ 1. ชนจนแบตเตอรี่เสียหายจนต้องเปลี่ยนแบตเตอรี่ทั้งลูก แบบนี้จะถูกนำการ ‘ลดความคุ้มครองแบตเตอรี่’ มาใช้ โดยคำนวณค่าเสื่อมลดลงไปปีละ 10% (ลดสูงสุดเหลือ 50%)
ส่วนในกรณีที่ 2. ชนแบตเตอรี่แต่สามารถซ่อมได้ หากเกิดอุบัติเหตุแบบนี้บริษัทประกันจะรับผิดชอบค่าซ่อมเต็ม 100% ไม่มีการลดความคุ้มครองใดๆ
การทำประกันภัยรถยนต์แบบระบุผู้ขับขี่ก่อนหน้านี้จะเป็นตัวเลือกที่ทุกคนสามารถเลือกหรือไม่เลือกระบุผู้ขับขี่ก็ได้ แต่สำหรับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าในวันนี้ จะเป็นการบังคับให้ระบุผู้ขับขี่เท่านั้น
โดยเหตุผลที่ต้องบังคับระบุผู้ขับขี่ นั่นก็เป็นเพราะว่าทางผู้ออกเกณฑ์ใหม่นี้ ต้องการที่จะเก็บรวบรวม ข้อมูลและประวัติการขับขี่ ของผู้ขับรถยนต์ไฟฟ้า ‘ทุกคน’ เพื่อที่จะนำไปใช้เป็น ‘ส่วนลดพฤติกรรมการขับขี่’ ในอนาคต
หากใครเลือกที่จะ 'ไม่ระบุผู้ขับขี่ หรือ ให้ผู้ที่ไม่ได้ระบุชื่อไว้เป็นคนขับรถ' แล้วเกิดอุบัติเหตุเป็นฝ่ายผิด จนต้องเคลมกับประกันขึ้นมา ก็สามารถเคลมได้ แต่จะต้องจ่ายเงิน ค่าเสียหายส่วนแรกก่อนจำนวน 6,000 บาทก่อนที่บริษัทประกันจะเคลมให้
นอกจากนี้ยังมีแหล่งข่าวเผยว่า การบังคับระบุผู้ขับขี่นี้อาจจะเริ่มทดลองใช้กับประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้าก่อน และจะขยายผลไปยังประกันภัยรถยนต์ทุกชนิดในอนาคต
‘ยกเว้นความรับผิดชอบต่อความผิดพลาดของ software’ เพราะการประกันทำประกันภัยรถยนต์มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันความผิดพลาดและคุ้มครองอุบัติเหตุที่เกิดจากมนุษย์เท่านั้น แต่ถ้าหากเกิดข้อผิดพลาดจนเกิดอุบัติเหตุจากระบบ software ของตัวรถเองอย่างเช่น ระบบ auto-pilot บริษัทประกันภัยจะไม่ได้รับผิดชอบในส่วนนี้
ประกาศจากคปภ. ระบุไว้ดังนี้
3.2 กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความเสียหาย หรือความเสียหายต่อเนื่อง อันเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อม ซึ่งเกิดขึ้นจากการถูกทำลาย หรือการถูกลบ จากปัจจัยภายนอก (Cyber Breach) ที่ไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิต รถยนต์หรือศูนย์จำหน่ายรถยนต์ยี่ห้อนั้น ส่งผลให้เกิดความผิดปกติหรือขัดข้องของคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือ ระบบปฏิบัติการที่ใช้ควบคุมการทำงานของรถยนต์ (Software) ได้แก่ การขับเคลื่อนรถ การหยุดรถอัตโนมัติ และการควบคุมการทำงานในส่วนต่าง ๆการปฏิเสธไม่คุ้มครองตามข้อยกเว้น 3.2 บริษัทจะต้องมีหลักฐานการพิสูจน์จากผู้เชี่ยวชาญ หรือหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง
8. การยกเว้นความเสียหายต่อรถยนต์การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง
ทั้งหมดนี้ก็คือสรุปประเด็นสำคัญที่ต้องรู้ก่อนที่ทุกคนจะทำประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า ในปี 2567 นี้
นอกจากนี้บุคลากรในวงการประกันภัยที่อยากทราบเรื่อง #เกณฑ์ใหม่ประกันEV ก็ห้ามพลาดงาน event แห่งปีของวงการประกันภัยอย่าง InsureX FORUM 2024 Insurance Technology & Marketing ที่ 1 ในหัวข้อ highlight คือ Future of EV Insurance อนาคตของประกันภัยรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่ตัวจริงในวงการจะมานั่งเล่า #เกณฑ์ใหม่ประกันEV แบบละเอียดในงานนี้เลย !
ลงทะเบียนได้ที่ https://www.zipeventapp.com/e/InsureX-Forum-2024
อ้างอิง: money.priceza, oiceservice.oic.or.th
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด