สานต่อ ครม. กรมสรรพากร ออก 6 มาตรการทางภาษี เยียวยาผู้ประกอบการที่รับผลกระทบ COVID-19 | Techsauce

สานต่อ ครม. กรมสรรพากร ออก 6 มาตรการทางภาษี เยียวยาผู้ประกอบการที่รับผลกระทบ COVID-19

สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ส่งผลกระทบรุนแรงทั่วโลกในทุกภาคส่วน ซึ่งส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจทั้งระบบ ทำให้รัฐบาลต้องมีมาตรการออกมาเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบตรงนี้ สำหรับประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อหารือถึงมาตรการดังกล่าว โดยเฉพาะผู้ประกอบการทั้งหลายกำลังได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็น SMEs หรือรายใหญ่ รวมไปถึงส่งผลกระทบต่อการจ้างงานของประชาชนด้วย โดยล่าสุดกรมสรรพากร ก็ได้มีการดำเนินการต่อจากการประชุม ครม. ซึ่งได้ออกมาตรการเยียวยาทางด้านภาษีมาทั้งหมด 6 มาตรการด้วยกัน ดังนี้ 

**อ่านประกอบ : มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการ และประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ จากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ชุดที่ 1 

ลดอัตราภาษี หัก ณ ที่จ่าย

โดยจะลดจาก 3% เหลือ 1.5%  วิธีการนี้ถือเป็นหนึ่งในมาตรการทางด้านภาษี ที่ออกมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการและบุคคลธรรมดา

  • บริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ยกเว้นมูลนิธิหรือสมาคม) โดยเงินที่จะได้รับสิทธิ ได้แก่ ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ ค่านายหน้า ค่าวิชาชีพอิสระ
  • บุคคลธรรมดา โดยเงินที่จะได้รับสิทธิ ได้แก่ ค่าจ้างทำของ ค่าบริการ และค่าวิชาชีพอิสระ

กรอบระยะเวลา 

  • อัตราภาษี 1.5% ตั้งแต่เดือนเมษายน -  เดือนกันยายน 2563 สามารถจ่ายด้วยวิธีการใดก็ได้ 
  • อัตราภาษี 2% ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2563 - เดือนธันวาคม 2564 สามารถจ่ายผ่าน e-Withholding Tax เท่านั้น 

ลดภาระดอกเบี้ยจ่าย

มาตรการภาษีเพื่อลดดอกเบี้ยจ่ายให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่เขาร่วมโครงการสินเชื่อพิเศษซอฟท์โลน และผู้ประกอบการที่ทำบัญชีเดียว ให้สามารถนำภาระดอกเบี้ยเงินกู้มาคำนวณเป็นรายจ่ายหักลดหย่อนภาษีได้  โดย SMEs ที่เข้าร่วมมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำของรัฐบาล หักรายจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม 1.5 เท่า 

บริษัทที่เข้าเกณฑ์มีคุณสมบัติดังนี้ 

  • มีรายได้ครบ 12 เดือน (รายได้ไม่เกิน 500 ล้าน/ปี)
  • จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน
  • จัดทำบัญชีเดียว
  • มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2562

กรอบระยะเวลา : สามารถจ่ายดอกเบี้ยได้ตั้งแต่ เดือนเมษายน - เดือนธันวาคม 2563

สนับสนุน SMEs จ้างงานต่อเนื่อง 

มาตรการส่งเสริมการจ้างงาน ให้ผู้ประกอบการ SMEs นำรายจ่ายค่าจ้างลูกจ้าง มาหักลดหย่อนภาษีได้ 3 เท่า เพื่อดูแลพนักงานลูกจ้าง 

บริษัทที่เข้าเกณฑ์มีคุณสมบัติดังนี้ 

  •  มีรายได้ครบ 12 เดือน ไม่เกิน 500 ล้าน
  • จำนวนลูกจ้างไม่เกิน 200 คน
  • มีรอบบัญชีสิ้นสุดก่อนหรือในวันที่ 30 กันยายน 2562
  • คงการจ้างงานของลูกจ้างที่ประกันตนและมีค่าจ้างไม่เกิน 15,000 บาทต่อคน ต่อเดือน
  • จำนวนลูกจ้าต้องไม่น้อยกว่าจำนวนลูกจ้าง ณ วันสุดท้ายของเดือน ธันวาคม 2562

กรอบระยะเวลา : สำหรับรายจ่ายค่าจ้าง ตั้งแต่เดือนเมษายน -  เดือนกรกฎาคม 2563

เพิ่มสภาพคล่อง ให้กับผู้ส่งออกที่ดี 

ตามประกาศของ ครม. กระทรวงการคลังจะเร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้ส่งออกที่ดี  (ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพการ) ให้เร็วขึ้น  โดยการคืน VAT ให้เร็วขึ้นภายใน 15 วัน สำหรับช่องทางและระยะเวลาในการยื่นของบริษัท หรือ บริษัทมหาชน สามารถทำได้โดย 2 วิธีดังนี้

  • ยื่นผ่านทางอินเทอร์เน็ต ภายใน 15 วัน จากปกติ 30 วัน
  • ยื่นผ่านสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา ภายใน 45 วัน จากปกติ 60 วัน

เพิ่มความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน และตลาดทุน

มาตรการสร้างความเชื่อมั่นช่วยเหลือตลาดทุน โดยการขยายวงเงินการซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) วงเงินพิเศษ โดยให้มีการลงทุนในกองทุน  SSF ลดหย่อนภาษีเพิ่มได้ถึง 2 แสนบาท 

กองทุนที่สามารถลดหย่อนภาษีได้นั้นมีเกณฑ์ดังนี้

  • ต้องเป็นกองทุน SSF ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไม่น้อยกว่า 65% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ
  • ต้องถือในหน่วยลงทุนดังกล่าวไม่น้อยกว่า 10 ปี
  • ลดหย่อนตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 2 แสนบาท แยกจากวงเงิน SSF
  • ไม่อยู่ใต้เพดานเงินสะสมเพื่อการเกษียณอายุ 5 แสนบาท 

กรอบระยะเวลาของการลงทุน :  สามารถทำได้ตั้งแต่ 1 เมษายน - 30 มิถุนายน 2563 

สนับสนุนให้บริจาคเงิน เพื่อลดหย่อนภาษี

นอกเหนือจาก 5 มาตรการที่กล่าวมาข้างต้น ตามที่ ครม.ได้มีการประชุมออกมาตรการเยียวยาชุดแรกแล้ว ประชาชนยังสามารถร่วมบริจาคเงิน เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหา COVID-19 ซึ่งการบริจาคตรงนี้จะสามารถลดหย่อนภาษีได้  หักรายจ่ายได้ และยกเว้น VAT ได้

  • สำหรับบุคคลธรรมดา เมื่อบริจาคเงิน สามารถหักลดหย่อนได้ ไม่เกินร้อยละของเงินได้หลังหักค่าใช้จ่าย
  • สำหรับบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล เมื่อบริจาคเงินรือทรัพย์สิน สามารถหักรายจ่ายได้ ไม่เกินร้อยละ 2 ของกำไรสุทธิ
  • สำหรับผู้ประกอบการ VAT เมื่อบริจาคทรัพย์สิน สามารถยกเว้น VAT ได้ 

ทั้งนี้สามารถบริจาคได้โดยผ่าน e-Donation (ระบบบริจาคอิเล็กทรอนิกส์) เข้าบัญชีสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อบริจาคสนับสนุนการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 เลขที่ 067-0-13829-0

อ้างอิงข้อมูลจาก Facebook กรมสรรพากร

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...