Ricult ระดมทุนจากนักลงทุนญี่ปุ่นและสวิส รอบ Pre-A กว่า 110 ล้านบาท | Techsauce

Ricult ระดมทุนจากนักลงทุนญี่ปุ่นและสวิส รอบ Pre-A กว่า 110 ล้านบาท

บริษัท “Ricult” Startup ไทยด้าน AgriTech ประสบความสำเร็จในการปิดการลงทุนรอบ Pre-A มูลค่ากว่า 110 ล้านบาท จาก 2 นักลงทุนรายใหญ่ได้แก่ บริษัท Sojitz จากประเทศญี่ปุ่น และ elea Foundation จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยเป็นการได้รับเงินลงทุนเพิ่มเติมจากที่ได้รับก่อนหน้านี้จาก Bualuang Ventures (ธนาคารกรุงเทพ) และ Krungsri Finnovate (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา) ตั้งเป้านำเงินลงทุนขยายตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเกษตรและขับเคลื่อนสังคมตามหลัก UN SDG Goals ของสหประชาชาติ

นายอุกฤษ อุณหเลขกะ Co-Founder และ CEO ของ Ricult เปิดเผยว่า บริษัทได้เปิดระดมทุนเพื่อนำเงินมาลงทุนขยายตลาดและพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์ให้สามารถตอบโจทย์อุตสาหกรรมเกษตรได้หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร ช่วยโรงงานแปรรูปเกษตรในการบริหารผลผลิตเข้าโรงงาน ช่วยธนาคารลดความเสี่ยงในการปล่อยสินเชื่อให้กับเกษตกร และช่วยเกษตรกรขายเศษซากพืชเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังงานสะอาด

ถือว่าเป็นเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ Ricult ได้รับความสนใจจากนักลงทุนต่างชาติ โดยบริษัท Sojitz จากประเทศญี่ปุ่นถือว่าเป็นเป็นหนึ่งใน Sogo shosha หรือ บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ส่วน elea Foundation จากประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ถือว่าเป็น Impact Investor ด้านสังคมระดับโลก โดยนักลงทุนทั้งสองเห็นศักยภาพของ Ricult ในการเติบโตทางธุรกิจไปตลาดต่างประเทศและนําเทคโนโลยีมาช่วยสังคมไปพร้อมๆกันได้

ซึ่งปัจจุบัน “รีคัลท์” นับเป็นผู้บุกเบิกด้านการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรในประเทศไทย และปากีสถาน โดยผสมผสานระหว่างความเชี่ยวชาญเชิงลึกด้านการวิเคราะห์สภาพอากาศกับเทคโนโลยีดาวเทียม เพื่อพัฒนาดาต้าแพลตฟอร์ม (Data Platform) ที่ช่วยให้เกษตรกรและธุรกิจด้านการเกษตรสามารถบริหารจัดการผลผลิตและความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“รีคัลท์” ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) รวมถึงใช้ AI และ Machine Learning มาช่วยประมวลผลและจัดการข้อมูลด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและแม่นยำ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรไทยที่มีจำนวนราว 1 ใน 3 ของคนทั้งประเทศ รวมทั้งเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจการเกษตร ซึ่งเป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมหลักของไทยที่มีมูลค่าหลายแสนล้านบาทให้สามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ รวมทั้งสร้างโมเดลธุรกิจที่สามารถขยายการเติบโตไปต่างประเทศได้ในอนาคต โดย “รีคัลท์” ยังได้รับการยอมรับว่าเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพที่ช่วยสร้างประโยชน์แก่สังคม ช่วยเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรและเพิ่มประสิทธิผลของการทำการเกษตรไม่น้อยกว่า 20%

ปัจจุบัน “รีคัลท์” รวบรวมข้อมูลเกษตรกรชาวไทยไว้บนแพลตฟอร์มประมาณ 4 แสนราย และทั่วโลกอีกกว่า 5 แสนราย โดยคาดว่าจำนวนเกษตรกรในประเทศไทยจะเติบโตได้แตะหลักล้านราย ในอีก 2 ปีข้างหน้า ส่วนทั่วโลกคาดว่าจะเติบโตได้เพิ่มขึ้นรวมแล้วกว่า 4 ล้านราย รวมทั้งการสร้างโมเดลธุรกิจที่สามารถขยายสเกลให้ไปเติบโตได้ในประเทศโดยรอบ อาทิ ลาว เวียดนาม อินโดนีเซีย เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจชั้นนำด้านการเกษตรในตลาดหลักทรัพย์ไทยหลายราย ได้ใช้บริการระบบ “รีคัลท์” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมีมูลค่าผลผลิตการเกษตรกรอยู่ในระบบ “รีคัลท์” กว่าหนึ่งหมื่นล้านบาท

ความสำเร็จของ “รีคัลท์” มีส่วนสำคัญมาจากการรวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี (Tech Talent)  ทั้งไทยและทั่วโลกมาไว้ด้วยกัน เพื่อสร้างและบริหารแพลตฟอร์มที่ทันสมัยและอาศัยการวิเคราะห์ที่ซับซ้อนได้ ซึ่งจะนำไปสู่การถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน และเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันให้กับประเทศไทยในอนาคตอีกด้วย

“รีคัลท์” ก่อตั้งขึ้นโดยผู้ประกอบการ 4 คน ที่จบการศึกษาจาก MIT โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนในช่วง Seed Round จากนักลงทุนอิสระ (Angel Investor) VC หลายราย รวมถึงได้รับเงินทุนจากมูลนิธิบิลและเมลินดาเกตส์ (Bill and Melinda Gates Foundation)

ปัจจุบัน Ricult เป็นสตาร์ทอัพที่กำลังเติบโตและระดมทุนไปแล้วกว่า $6 ล้านเหรียญ หรือ 190 ล้านบาท และคาดว่าจะระดมทุน Series A อีกทีในปี 2565

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

มองศึก Virtual Bank ไทย เทียบชั้นผู้เล่นบนเวทีโลกได้หรือไม่

หลังจาก ธปท. เปิดให้ผู้ประกอบการที่สนใจจัดตั้ง Virtual Bank ยื่นขอเข้ามา ส่งผลให้ธุรกิจการเงินในไทยกลับมาคึกคักมากขึ้น...

Responsive image

Google Workspace อัปเกรดครั้งใหญ่ ! ดึงพลัง AI พลิกโฉมการทำงาน

Google Workspace บริการชุดแอปพลิเคชันผ่านระบบคลาวด์ ได้รับการยกเครื่องครั้งใหญ่ด้วยการผสานความสามารถของ Generative AI ในหลากหลายแอปพลิเคชันยอดนิยม เพื่อช่วยให้การทำงานเป็นเรื่องที่...

Responsive image

จาก ลี เซียงลุง สู่ ลอว์เรนซ์ หว่อง ว่าที่นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์คนที่ 4

ลี เซียนลุง ได้สิ้นสุดการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ในวันที่ 16 เมษายน 2024 ก่อนจะส่งไม้ต่อให้ ลอว์เรนซ์ หว่อง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง ก้าวขึ้นสู่การเป็นนายกรั...