RingMD เป็น health tech startup ที่เชื่อมต่อคนไข้และแพทย์จากทั่วโลกได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ใช้งานเพียงแค่สมัครสมาชิกกับแพลตฟอร์มและขอรับคำปรึกษากับแพทย์ได้ผ่าน video call ซึ่งเหมาะกับอาการที่ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการตรวจเช็กทางร่างกาย แต่สามารถวินิจฉัยและให้คำปรึกษาจากการคุยทางไกลได้ ตั้งแต่ป่วยไข้ ไปจนถึงโรคเครียด อาการปวดหลัง โรคอ้วน และบาดแผลต่างๆ เป็นต้น
คนไข้ยังสามารถสวมใส่อุปกรณ์ที่ข้อมือที่ส่งสัญญาณการเต้นของหัวใจ ความดันโลหิต และสัญญาณอื่นๆ ไปหาคุณหมอได้แบบ real time
เว็บไซต์นี้เก็บค่าใช้จ่ายกับฝั่งแพทย์ ซึ่งต้องการบริการพิเศษ เช่น การเก็บข้อมูลด้วยระบบความปลอดภัยอย่างดี การให้ข้อมูล insight ต่างๆ เกี่ยวกับโรคภัย ที่แพลตฟอร์มเก็บรวบรวมจากประชากรปริมาณมากเอาไว้ให้
RingMD ทำงานกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพมากกว่า 10,000 รายทั่วโลก ประกอบไปด้วยแพทย์จากอินโดนีเซีย ที่ซึ่ง CEO ได้รับแรงบันดาลใจให้พัฒนาบริการนี้ขึ้นมา
ปัจจุบัน RingMD บริการจัดการประวัติคนไข้มากกว่า 1.5 ล้านคน ใน 50 ประเทศทั่วโลก บริษัทคาดว่าจะเติบโตขึ้นสิบเท่าในปีนี้ ภายในสิ้นปี 2016 พวกเขาคาดว่าจะทำงานร่วมกับ 100,000 ผู้ให้บริการด้านสุขภาพ และคนไข้ 15 ล้านคน
ในประเทศอินเดีย บริษัทนี้กำลังอยู่ในระหว่างการพูดคุยเป็นพันธมิตรกับรัฐบาลอินเดีย ภายใต้โปรแกรม Digital India ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าถึงประชากรอินเดียกว่า 883 ล้านคน
Fulcher ซีอีโอของบริษัทได้จับมือเป็นพันธมิตรกับเครือข่ายอุตสาหกรรมด้านสุขภาพ ตั้งแต่รัฐบาล โรงพยาบาล บริษัทประกัน บริษัทยา เป็นต้น เพื่อนำมาสู่การรวบรวมข้อมูล เกิดเป็น data-driven thinking ในอุตสากรรมสุขภาพ
เขากล่าวว่า "หน่วยงานด้านสุขภาพแทบไม่เคยใช้ data ในการตัดสินใจมาก่อน ส่วนใหญ่แล้วจะตัดสินใจจากประสบการณ์ส่วนตัว แต่พวกเรามองว่าการตัดสินใจส่วนตัวนั้นสามารถเก็บไว้เป็น backup เสริมแทนในเวลาที่ต้องใช้จะดีกว่า ถ้าหากเราเปลี่ยนมาใช้ data ในการตัดสินใจ อุตสาหกรรมนี้จะเปลี่ยนไปอย่างมหาศาล"
Justin Fulcher (ด้านซ้าย) บรรยายในงาน FT Asia Healthcare & Life Sciences Summit
RingMD ทำงานร่วมกับ Microsoft Azure ในการเก็บ ประมวลผล และสร้าง insight ของข้อมูล
หากบริษัทต้องการพาร์ทเนอร์หันมาใช้ data ในการตัดสินใจ ตัวบริษัทเองก็ต้องพิสูจน์ด้วย data ว่าสามารถได้รับประโยชน์จากมันได้
Fulcher กล่าวว่า "เราดูความสำเร็จของพาร์ทเนอร์ (โรงพยาบาล) ของเราด้วย จาก KPI ต่างๆ ที่โรงพยาบาลมี เช่น เราช่วยให้เขาประหยัดได้มากขึ้นไหม? เราช่วยให้คนไข้ได้รับบริการที่ดีขึ้นรึเปล่า? เราช่วยให้โรงพยาบาลขับเคลื่อนธุรกิจได้มีประสิทธิภาพขึ้นไหม? นั่นเป็นเพราะว่าเรา track ข้อมูลทุกอย่างบนแพลตฟอร์ม เราสร้างกราฟให้เห็นผลสัปดาห์ต่อสัปดาห์"
รับชมวีดีโอเกี่ยวกับ RingMD ได้ที่นี่
นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะช่วยตัดปัญหาเรื่องการเดินทางและการรอคอยได้ การพบหมอมีความสะดวกมากยิ่งขึ้น และสามารถใช้ได้กับหลายๆ อาการ ที่อาศัยการพูดคุยกัน ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือเฉพาะ
แม้คอนเซปต์ video call จะฟังดูเรียบง่าย แต่การทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบนี้ขึ้นจริงๆ ถือว่าไม่ง่ายเลย ต้องเกิดจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ทั้งฝั่งแพทย์และฝั่งคนไข้ หันมา "เชื่อใจ" ในระบบดิจิทัล และตัวแพลตฟอร์มเองนั้น ไม่เพียงแต่จะทำหน้าที่ด้าน video อย่างเดียว อย่างเคส RingMD นี้คือการใช้ data มาเป็นหัวใจสำคัญ และสามารถรับส่งสัญญาณสำคัญๆ ได้ใน real time
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด