RS Group เปิดกลยุทธ์โตอย่างไร? ท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน กับโมเดล Entertainmerce | Techsauce

RS Group เปิดกลยุทธ์โตอย่างไร? ท่ามกลางวิกฤตรอบด้าน กับโมเดล Entertainmerce


จากการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจในปัจจุบัน หลายองค์ต่างต้องปรับตัวเพื่อให้ทันกับกระแสและปัจจัยกดดันต่างๆเพื่อความอยู่รอด ซึ่ง บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS Group ถือเป็นหนึ่งในไม่กี่องค์กรของไทยที่สามารถก้าวผ่านสถานการณ์ COVID-19 และพาธุรกิจให้เติบโตอย่างมั่นคงได้ในปีที่ผ่านมา และวันนี้เราจะมาเจาะลึกถึงกลยุทธ์และแผนงานของ RS Group ในปี 2564 ว่าจะมีทิศทางต่อไปอย่างไรบ้าง ภายใต้โมเดลธุรกิจEntertainmerce ร่วมกับการเติบโตของกลุ่มธุรกิจคอมเมิร์ซซึ่งสอดรับกับเมกะเทรนด์สำคัญของโลก และการเริ่มต้นธุรกิจใหม่ๆ ที่จะช่วยผลักดันบริษัทให้มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด สร้าง All Time High

คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แม้ปี 2563 ที่ผ่านมาสถานการณ์การระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อทุกภาคส่วน และเป็นผลกระทบที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ แต่ RS Group เป็นองค์กรที่ปรับตัวเร็ว สามารถตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที มีการปรับแผนให้เหมาะสมและสอดคล้อง รวมไปถึงโมเดลธุรกิจ Entertainmerce ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำเร็จ ทำให้ผลประกอบการในปีที่ผ่านมา สามารถทำรายได้ New  High ได้อย่างต่อเนื่องในทุกไตรมาส และพื้นฐานสำคัญของบริษัทในตอนนี้คือคนในองค์กรมีความยืดหยุ่นสูงและสามารถปรับตัวได้อย่างรวดเร็วตามสถานการณ์ 

กลยุทธ์ดำเนินงานในปี 2564 

สำหรับเป้าหมายปี 2564 บริษัทตั้งเป้าทำรายได้มากกว่า 5,700 ล้านบาท และมีผลงานเติบโตแบบก้าวกระโดด สร้าง All Time High จากกลยุทธ์ของ 3 ธุรกิจดังนี้

1. ธุรกิจคอมเมิร์ซ

RS Mall แพลตฟอร์มที่จำหน่ายสินค้าและบริการในหลากหลายกลุ่ม เพื่อเติมความสุขให้ทุกชีวิต โดยตั้งเป้าในการเป็นพันธมิตรทางด้านสุขภาพให้กับลูกค้า ซึ่งเมกะเทรนด์ที่สำคัญในปีนี้มุ่งเน้นไปที่การดูแลและใส่ใจในเรื่องสุขภาพ และกลุ่มคนรุ่นเก่า (Silver Generation หรือ Young Old) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อสูง เป็นหัวใจสำคัญของ Business Model ของอาร์เอส มอลล์ สำหรับการเติบโตทางธุรกิจ อาร์เอส มอลล์ ตั้งเป้าไว้ที่ 30% จาก Inbound ที่มาจากช่อง 8 ช่องทีวีดิจิทัลพันธมิตร และช่องทีวีดาวเทียม ช่องทาง Outbound จากเทเลเซลล์ และเติบโต 2 เท่าสำหรับช่องทางออนไลน์ จากปัจจัยดังต่อไปนี้

  • การเติบโตอย่างก้าวกระโดดของกลุ่มสินค้าที่ตอบโจทย์เรื่องการดูแลสุขภาพในทุกมิติ ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าหลักของอาร์เอส มอลล์ และจัดหาสินค้าเฉพาะ ผ่าน RS Mall เท่านั้น ซึ่งตอบโจทย์ลูกค้าแต่ละกลุ่มอย่างชัดเจน


  • การเป็น Virtual Store ที่ยังคงเป็นข้อได้เปรียบจากสถานการณ์โรคระบาดที่ยังไม่มีความแน่นอน ในขณะเดียวกัน รูปแบบการให้บริการผ่านเจ้าหน้าที่ที่พร้อมจะให้คำอธิบายบนทุกปัญหาสุขภาพ กลับสามารถทำให้ลูกค้ามั่นใจและปิดการขายได้มากกว่าร้านค้าออนไลน์ทั่วไป


  • การสร้างระบบ CRM ที่แข็งแรง จะสามารถสร้างการซื้อซ้ำได้กว่า 2.4 ครั้งต่อปี ทั้งจากคุณภาพของสินค้า ปริมาณของสินค้าที่หลากหลายในการตอบโจทย์ความต้องการทางด้านสุขภาพ และเมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพหรือ Wellbeing การได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้จะทำให้ลูกค้าเกิดความมั่นใจในผลิตภัณฑ์มากขึ้น 


  • การนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เพื่อทำให้เราเข้าใจลูกค้ามากขึ้น ทั้งในแง่ของการสร้าง Customer Data Platform ที่นำข้อมูลของลูกค้าในหลากหลายมิติมาประมวลผลให้สามารถนำเสนอสินค้าและบริการได้ตรงใจ และตรงเวลากับลูกค้ามากที่สุด และการนำระบบ Voice Analytics มาปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ โดยการนำเครื่องมือไปใช้วิเคราะห์ไฟล์เสียงทั้งหมดเพื่อหา Unmet Demand จากบทสนทนาระหว่างเจ้าหน้าที่และลูกค้า และการขยายระบบ Predictive dialing system (PDS) สู่ลูกค้าทุกกลุ่ม ทำให้ประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่เพิ่มขึ้นเท่าตัว


นอกจากนี้ยังมี บริษัท ไลฟ์สตาร์ จำกัด ในฐานะผู้ผลิตนวัตกรรมด้านสุขภาพและความงามระดับโลก ในปีนี้นับเป็นปีที่ก้าวกระโดดของไลฟ์สตาร์ เนื่องจากจะมีการเสนอสินค้าที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นเพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนรักสุขภาพและเทรนด์การใช้ชีวิตแบบใหม่ โดยเพิ่มประเภทสินค้าใหม่ภายใต้แบรนด์ใหม่ เข้าสู่ Mass Market อย่างเต็มตัว การเปิดตัวและก้าวสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ Functional Drink ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ใช้นวัตกรรมขั้นสูง และอาหารสัตว์เลี้ยง โดยไลฟ์สตาร์จะขยายช่องทางการจำหน่ายไปสู่ช่องทางการขายที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทสินค้า ผ่าน Mass Market หลากหลายช่องทาง วางขายผ่าน E-Commerce และยังคงจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากไลฟ์สตาร์ผ่าน RS Mall ด้วย 

2.ธุรกิจสื่อและบันเทิง

สถานีโทรทัศน์ช่อง 8

ชูกลยุทธ์ Content-Driven Marketing ผลิตคอนเทนต์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย จัดวางแต่ละคอนเทนต์ในช่วงเวลาและเลือกใช้วิธีที่เข้าถึงผู้ชมตามกลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการจัดวางคอนเทนต์อย่างเหมาะสมให้เข้าถึงง่ายในแต่ละช่องทาง ดำเนินตามกลยุทธ์เก้าอี้ 4 ขาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงจากปีก่อน ซึ่งทำให้ช่อง 8 แตกต่างจากช่องทีวีดิจิทัลอื่น เพราะเป็นช่องเดียวที่มีรายได้ทั้งจากการโฆษณา รายได้จาก RS Mall หรือธุรกิจคอมเมิร์ซของบริษัท รายได้จากการจัดอีเว้นท์ และรายได้จากการขายคอนเทนต์ สู่การทำรีเมคออริจินัล      คอนเทนต์ ทั้งการรับชมผ่านทาง Official account ของช่อง 8 เอง และผ่านพันธมิตรอื่นๆ ด้วย จากกลยุทธ์หลักที่เข้าถึงไลฟ์สไตล์ที่ถูกต้อง คาดว่าจะสร้างยอดการเข้าถึงผู้ชมในแต่ละช่องทางรวมกันมากกว่า 50 ล้านคน ณ สิ้นปี 2564 

COOLISM

มุ่งเน้นกลยุทธ์แม่น้ำ 3 สาย นำโดย COOLfahrenheit สถานีเพลงไทยสากลอันดับหนึ่งที่ผู้ฟังเหนียวแน่นทั้งบนออนแอร์และออนไลน์รวมกันกว่า 3.7 ล้านคน เจาะกลุ่มพรีเมียมแมสที่มีไลฟ์สไตล์ชัดเจนผ่านไลฟ์สไตล์การกิน เที่ยว ช้อปปิ้งออนไลน์ และชมอีเว้นท์ต่างๆ ขยายฐานสู่ Young Generation ผ่านการพาร์ทเนอร์กับออนไลน์แพลตฟอร์มอื่นๆ และธุรกิจ COOLive ที่ร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจเพลง จัดคอนเสิร์ตและกิจกรรมตลอดทั้งปี เพื่อเชื่อมโยงลูกค้าทุกแพลตฟอร์ม รักษาเรตติ้งอันดับหนึ่ง นอกจากนี้ ยังต่อยอดโมเดล Entertainmerce ด้วยการพัฒนาเมนูช้อปปิ้ง COOLanything ทั้งบนแอปพลิเคชัน และเว็บไซต์เพื่อตอบโจทย์กลุ่มคนฟังให้ช้อปปิ้งและฟังเพลงไปพร้อมกับการคัดสรรสินค้าและโปรโมชั่นที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ผู้ฟัง COOLfahrenheit

RS Music

ยังคงให้ความสำคัญกับการบริหารลิขสิทธิ์คลังเพลงที่แข็งแรงและการกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งจนเกิดกระแส "โตมากับอาร์เอส" เน้นการเพิ่มมูลค่าจากโซเชียลมีเดียของแต่ละศิลปิน ทั้งศิลปินใหม่ 9 คนจาก 3 ค่ายเพลง รวมถึงศิลปินเดิมที่มีฐานผู้ฟังเหนียวแน่น พัฒนาขึ้นเป็น influencer จากไลฟ์สไตล์ที่แตกต่าง และต่อยอดสู่การเป็น business partner ตามโมเดล Music Star Commerce รวมไปถึงการจัดคอนเสิร์ตและอีเว้นท์ต่างๆ

3. ธุรกิจบริหารสินทรัพย์-สินเชื่อรายย่อย

ขณะที่ล่าสุดบริษัทได้ทำ Mergers and Acquisitions (M&A) กับบริษัท เชฎฐ์ เอเชีย ซึ่งเป็นการรุกเข้าสู่ธุรกิจ บริหารสินทรัพย์-สินเชื่อรายย่อย สร้างการเติบโตในแนวราบ จากภาวะแนวโน้มเศรษฐกิจในปัจจุบัน จำนวนหนี้ด้อยคุณภาพมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น บริษัทฯ จึงมองเห็นโอกาสในการต่อยอดโมเดลธุรกิจ Entertainmerce โดยใช้โอกาสนี้ในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับกลุ่มธุรกิจของอาร์เอส และร่วมมือกันเสริมศักยภาพกลุ่มบริษัทเชฎฐ์ให้เทียบเท่าบริษัทชั้นนำในตลาดหลักทรัพย์ฯ และปูทางเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้อย่างรวดเร็ว เพื่อเร่งการระดมทุนและจะช่วยสนับสนุนทำให้กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ภายใน 2 ปี ซึ่งกลุ่มบริษัทเชฎฐ์จะกลายเป็นบริษัทที่มีความโดดเด่นและแตกต่างโดยใช้กลยุทธ์ Entertainmerce ของ RS เข้าไปสนับสนุน และเชื่อว่า RS Group และ กลุ่มบริษัทเชฎฐ์ จะเติบโตไปด้วยกันอย่างแข็งแกร่ง

พร้อมกันนี้บริษัทจะนำโซลูชั่นใหม่ๆ เพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ ซึ่งจะช่วยเพิ่มความหลากหลายในธุรกิจ Commerce ของบริษัทได้ และภายในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า (2565-2566) บริษัทก็มีแผนนำ บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งระหว่างนี้บริษัท เชฎฐ์ เอเชีย จะต้องทำการปรับโครงสร้างธุรกิจเพื่อเตรียมความพร้อมตามเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ก่อน 

'เรายังคงมองหาพารท์เนอร์ทางธุรกิจเพื่อเข้าซื้อหุ้นเพิ่มอีก 1 - 2 ดีลภายในปีนี้ เพื่อต่อยอดจากโมเดลธุรกิจ Entertainmerce และทำให้ Ecosystem ของอาร์เอส กรุ๊ป ขยายตัวอย่างไม่สิ้นสุด จากกลยุทธ์ทั้งหมดในปี 2564 พร้อมกับการรุกเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆ จึงเชื่อมั่นว่า RS Group จะมีรายได้รวม ทะลุ 5,700 ล้านบาทได้อย่างแน่นอน ' คุณสุรชัย กล่าว

คุณสุรชัย กล่าวเสริมว่า อย่างไรก็ตามธุรกิจหลัก (CORE BUSINESS) ของ RS Group ยังคงเป็นธุรกิจบันเทิงและมีเดีย ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีการแข่งขันที่สูง แต่บริษัทยังมองว่ามีโอกาสที่เติบโต จากกลยุทธ์ต่างๆที่ได้กล่าวไปข้างต้น และที่สำคัญบริษัทมีจุดแข็งทางธุรกิจที่แตกต่างจากผู้เล่นรายอื่นๆ




ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ไทยก้าวสู่ยุคเซมิคอนดักเตอร์เต็มตัว! 4 เดือนก่อนสิ้นปี ปิดดีลลงทุนไปกว่า 22,000 ล้านบาท เสริมฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง พร้อมผลักดันบุคลากรสู่อุตสาหกรรมแห่งอนาคต...

Responsive image

ลิซ่า ซู จาก AMD คว้า CEO แห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME

ลิซ่า ซู ซีอีโอ AMD ได้รับเลือกให้เป็นซีอีโอแห่งปี 2024 จากนิตยสาร TIME โดยได้รับการยกย่องในวิสัยทัศน์และความเป็นผู้นำที่สามารถพลิกฟื้น AMD จากการเกือบล้มละลายเมื่อ 10 ปีก่อน กลายเ...

Responsive image

EV ซื้อแล้ว ซื้อซ้ำ 9 ใน 10 ไม่หันกลับไปหารถน้ำมัน เหตุค่าใช้จ่ายถูก แถมยังรักโลก

ใช้อยู่ ใช้ต่อ ไม่ขอกลับไปซบรถน้ำมันอีกต่อไป เมื่อ 9 ใน 10 ของผู้ใช้รถ EV จะยังคงเลือกใช้ต่อถ้าต้องเปลี่ยนคันใหม่อีกครั้ง ด้วยเหตุผลด้านต้นทุนค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาเป็นอันดับหนึ่ง...