Samsung ให้ผู้บริหาร ทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ จะได้รู้สึกถึงวิกฤตที่บริษัทกำลังเจอ

Samsung ประกาศมาตรการฉุกเฉิน สั่งผู้บริหารทำงาน 6 วัน/สัปดาห์ สู้พิษเศรษฐกิจโลก และเพื่อพยุงธุรกิจของบริษัทให้ไปต่อได้ท่ามกลางการแข่งขันสูง

The Korea Economic Daily รายงาน ผู้บริหารทั้งหมดของ Samsung จะเริ่มทำงาน 6 วันตั้งแต่สัปดาห์นี้ เพื่อให้ตระหนักถึงวิกฤต และใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อก้าวข้ามมัน อย่างไรก็ตามพนักงานตำแหน่งต่ำกว่าระดับบริหารยังคงทำงานแบบปกติ 5 วัน/สัปดาห์

จากวิกฤตเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้เงินวอนอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว ราคาน้ำมันสูง ดอกเบี้ยและต้นทุนการกู้ยืมสูง ส่งผลให้ธุรกิจของ Samsung ชะลอตัว ในปีที่ผ่านมาธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ของ Samsung ขาดทุนจากการดำเนินงานถึง 11,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แผนก Device Solutions ซึ่งดูแลธุรกิจเซมิคอนดักเตอร์ มีรายได้คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 80% ของรายได้ทั้งหมดของ Samsung

แม้จะทำกำไรได้มากกว่า 10 เท่า ในไตรมาสแรกของปี 2024 แต่ Samsung ยังส่งสัญญาณถึงภาวะถดถอยในตลาดชิปทั่วโลก เพราะต้องเผชิญกับแรงกดดันจากการอ่อนค่าของสกุลเงินวอน และราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น นอกจากนั้นยังมีความไม่แน่นอนจากสถานการณ์การเมืองรอบโลก เช่น การเลือกตั้งในสหรัฐฯ ซึ่งจะเกิดขึ้นเดือนพฤศจิกายน

ในตลาดเซมิคอนดักเตอร์ Samsung ต้องแข่งกับเพื่อนร่วมชาติอย่าง SK Hynix ในตลาดหน่วยความจำแบนด์วิธสูง (HBM) ที่กำลังเติบโต ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายสำหรับ AI นอกจากนั้นยังต้องต่อสู้กับคู่แข่งรอบโลก ไม่ว่าจะเป็น Intel หรือ TSMC 

อ้างอิง : KED 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Anthropic ตั้งเป้า ต้องเข้าใจ "สมองของ AI" ให้ได้ภายในปี 2027

Anthropic ตั้งเป้าเข้าใจวิธีคิดของ AI ให้ได้ภายในปี 2027 หวัง "ถอดรหัสสมอง AI" เพื่อความปลอดภัยของสังคมและการใช้เทคโนโลยีอย่างมีความรับผิดชอบ...

Responsive image

MIT เปิดคลังคอร์สฟรี โอกาสเรียนรู้ระดับโลก

MIT หนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก ได้เปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้เข้าถึงความรู้คุณภาพสูงได้ฟรี ผ่านคอร์สเรียนออนไลน์บนแพลตฟอร์ม edX...

Responsive image

ลืมบัตร ATM? ไม่ใช่ปัญหา ส่องบริการ "Cardless ATM Withdrawal" ถอนเงินสดข้ามธนาคาร แค่มีมือถือเครื่องเดียว

บริการ "Cardless ATM Withdrawal" หรือ บริการถอนเงินสดแบบไม่ใช้บัตรข้ามธนาคาร ที่พัฒนาโดย บริษัท เนชั่นแนล ไอทีเอ็มเอ๊กซ์ จำกัด (NITMX) ผู้ดูแลโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินของประเทศ...