รวม 13 บริษัท tech ตัวแม่ใน SE Asia ที่ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ | Techsauce

รวม 13 บริษัท tech ตัวแม่ใน SE Asia ที่ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SE Asia) เรียกได้ว่ายังมีบริษัทด้าน tech ที่ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์จำนวนน้อยอยู่เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ทั้งนี้เรามีมาเลเซียและสิงคโปร์ เป็นสองประเทศที่ครองตำแหน่งมี Tech IPOs มากที่สุด ยังมีข้อสังเกตอีกว่า ในจำนวน 13 บริษัทที่รวบรวมในบทความนี้ มีถึง 4 บริษัทที่มาจาก Catcha Group กลุ่มธุรกิจของคุณ Patrick Grov ที่ขยายสู่หลายอุตสาหกรรม ทั้ง media, property และ e-commerce

IPO ย่อมาจาก Initial Public Offering หมายถึงการเสนอขายหุ้นใหม่แก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก หุ้น IPO กล่าวง่าย ๆ ก็คือหุ้นของบริษัทที่กำลังจะเข้าตลาดหลักทรัพย์นั่นเอง

สิงคโปร์

ประกอบไปด้วย 4 ราย ได้แก่

1. Netccentric

ปีที่ก่อตั้ง: 2006 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2015 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX) ชื่อย่อหลักทรัพย์: NCL

เป็น tech IPO ตัวล่าสุดในรายชื่อทั้งหมดนี้ เริ่มต้นซื้อขายใน ASX เมื่อเดือนกรกฎาคม 2015  Netccentric เป็นบริษัทด้าน digital media marketing โดยสามารถระดมทุนเพิ่มได้ 9.35 ล้านเหรียญสหรัฐในการเข้าตลาดครั้งนี้

Netccentric มีบริษัทลูกอีก 6 หน่วยธุรกิจ เช่น advertising network ชื่อ Nuffnang, mobile blogging platform  ชื่อ Dayre และ social media advertising network ชื่อ Churp Churp

2. Migme

ปีที่ก่อตั้ง: 2006 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2014 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX) ชื่อย่อหลักทรัพย์: MIG

Migme ได้เข้าสู่ตลาด ASX จากการทำ reverse takeover ซึ่งหมายถึงการให้บริษัทที่อยู่ในรายชื่อ ASX อยู่แล้วมาเข้าซื้อกิจการ แต่ในภายหลังการควบรวมแล้ว ตนได้มีส่วนแบ่งความเป็นเจ้าของที่ใหญ่กว่า ว่ากันว่านี่เป็นวิธีเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ที่สะดวกกว่า เพราะผ่านขั้นตอนต่างๆน้อยกว่าวิธีปกติ

ในกรณีของ Migme (หรือชื่อก่อนหน้าคือ Mig33) ได้ถูกซื้อโดย Latin Gold ซึ่งเป็นบริษัทด้านเหมืองแร่ของออสเตรเลีย

3. Ensogo

ปีที่ก่อตั้ง: 2013 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2013 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX) ชื่อย่อหลักทรัพย์: E88

Headquarter อยู่ที่สิงคโปร์ iBuy Group ของ Patrick Grove กระโดดเข้าสู่ตลาด e-commerce อย่างรวดเร็ว โดยวิธีการซื้อกิจการธุรกิจต่างๆรอบ SE Asia โดยบริษัทที่เข้ามาอยู่ภายใต้กลุ่มนี้ ได้แก่ Dealguru จากสิงคโปร์, Dealmates จากมาเลเซีย, LivingSocial ที่ดำเนินธุรกิจทั้งใน ฟิลิปปินส์ ไทย อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ต่อมา iBuy Group ได้รีแบรนด์ชื่อใหม่มาเป็น Ensogo

4. Asiatravel

ปีที่ก่อตั้ง: 1995 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2001 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ (SGX) ชื่อย่อหลักทรัพย์: 5AM

Asiatravel เป็นรายใหญ่ของ online travel agencies ในภูมิภาคนี้ ซึ่งได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 1995 และได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ในปี 2001

มาเลเซีย

ประกอบไปด้วย 6 ราย ได้แก่

1. MOL

ปีที่ก่อตั้ง: 2000 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2014 ตลาดหลักทรัพย์: NASDAQ ชื่อหลักทรัพย์: MOLG

ย้อนกลับไปในเดือนตุลาคม 2014 บริษัท MOL Global ซึ่งเป็นบริษัทด้าน online payment ได้จารึกประวัติศาสตร์ด้วยการเป็น tech company จาก SE Asia ที่แรก ที่ได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ในสหรัฐอเมริกา

แต่น่าเสียดายที่ผลลัพธ์ออกมาไม่ดีนัก MOL สามารถระดมทุนได้เพียง $169 ล้านเหรียญสหรัฐ ในการเข้าเป็น IPO บน NASDAQ ในขณะที่บริษัทตั้งเป้าหมายไว้ที่  $300 ล้านเหรียญ นอกจากนี้ราคาหุ้นของ MOL ยังร่วงลงค่อนข้างมากหลังจากช่วง IPO และยังคงดำเนินการได้ไม่ดีนักในปัจจุบัน

2. iCar Asia

ปีที่ก่อตั้ง: 2012 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2012 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX) ชื่อย่อหลักทรัพย์: ICQ

iCar Asia เป็นบริษัทที่สามที่ Patrick Grove นำเข้าสู่ IPO โดย iCar Asia นั้นเหมือนกับ iBuy หรือ Ensogo ตรงที่เป็นการควบรวมของ marketplace ด้านยานยนตร์ของแต่ละท้องถิ่นหลายๆตัว เช่น Mobil123 จากอินโดนีเซีย One2Car จากไทย Carlist และ LiveLifeDrive จากมาเลเซีย เป็นต้น

3. iProperty Group

ปีที่ก่อตั้ง: 2003 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2007 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์ออสเตรเลีย (ASX) ชื่อย่อหลักทรัพย์: IPP

Patrick Grove ไม่พลาดกับอสังหาริมทรัพย์เช่นกัน ปี 2007 Patrick ได้เข้าซื้อกิจการมาเลเซียชื่อ iProperty รวมถึงเข้าซื้อกิจการที่คล้ายๆกันทั่วภูมิภาค เช่น Rumah123 ของอินโดนีเซีย ThinkofLiving ของไทย และในปี 2007 นี้เองที่ iProperty  Group ได้กลายมาเป็นบริษัทมหาชน

และเมื่อพฤศจิกายน 2015 บริษัทก็ได้ถูกซื้อกิจการโดยกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ที่ใหญ่กว่า ชื่อว่า REA โดยเป็นหนึ่งในการขายต่อกิจการที่มีมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่เคยมีใน SE Asia ( 534 ล้านเหรียญสหรัฐ)

4. Rev Asia Berhad

ปีที่ก่อตั้ง: 2004 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2011 ตลาดหลักทรัพย์: MK ชื่อย่อหลักทรัพย์: REV

ชื่อเดิมคือ Catcha Media บริษัทแรกของ Patrick Grove ซึ่งได้ก่อตั้งมานานตั้งแต่ช่วงก่อนยุคดอตคอมจะบูม จนกระทั่งได้ทำการปรับเปลี่ยนโครงสร้างกิจการใหม่ในปี 2004 แบรนด์ด้านมีเดียภายใต้บริษัทนี้ ได้แก่  Says, Juice และ Klips ทั้งหมดเป็น content portals ที่โฟกัสในมาเลเซีย บริษัทได้เข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2011 และได้รีแบรนด์ใหม่เป็น Rev Asia

5. MYEG Services Berhad

ปีที่ก่อตั้ง: 2000 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2005 ตลาดหลักทรัพย์: MK ชื่อย่อหลักทรัพย์: MYEG

MYEG เป็นบริษัทซอฟแวร์ที่มีความร่วมมือกับรัฐบาลมาเลเซีย โดยทำหน้าที่พัฒนาซอฟแวร์และโซลูชั่นสำหรับใช้ในงานราชการ ตัวอย่างเช่น ระบบจ่ายค่าภาษีทางออนไลน์ บริษัทมีการเติบโตและลงทุนด้านเทคโนโลยีสมัยใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เช่น Internet of Things

6. Jobstreet Corp Berhad

ปีที่ก่อตั้ง: 1995 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2004 ตลาดหลักทรัพย์: MK ชื่อย่อหลักทรัพย์: JOBS

Jobstreet เป็นธุรกิจออนไลน์ยักษ์ใหญ่อีกเจ้าหนึ่งใน SE Asia ในช่วงที่เข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อปี 2004 บริษัทระบุว่าตนมีสมาชิกในระบบแล้วทั้งสิ้น 2.8 ล้านคน และมียอดใบสมัครงานออนไลน์มากกว่า 1 ล้านใบสมัครต่อเดือน บริษัทมีสำนักงานอยู่ที่มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย และฟิลิปปินส์ และกำลังขยายไปสู่ประเทศอื่นๆใน SE Asia รวมทั้งประเทศญี่ปุ่นด้วย และในปี 2014 บริษัทด้าน job listing ของออสเตรเลียชื่อ SEEK ก็ได้เข้าซื้อ Jobstreet ด้วยมูลค่า 524 ล้านเหรียญสหรัฐ

เวียดนาม

ประกอบด้วย 2 ราย คือ

1. Thế Giới Di Động

ปีที่ก่อตั้ง: 2004 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2014 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (HOSE) ชื่อย่อหลักทรัพย์: MWG

เป็นที่รู้จักในนาม The Gioi Di Dong หรือ MobileWorld เป็นบริษัทด้าน e-commerce portal ที่เน้นขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นหลัก ในปี 2013 หนึ่งปีก่อนการเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ บริษัทสามารถทำรายได้ได้ถึง 370 ล้านเหรียญสหรัฐ

2. FPT

ปีที่ก่อตั้ง: 1998 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2013 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินห์ (HOSE) ชื่อย่อหลักทรัพย์: FPT

FPT เป็นบริษัทรายใหญ่เบ้งอีกเจ้าหนึ่งของเวียดนาม จากจุดเริ่มต้นในเมืองฮานอย บริษัทได้เติบโตออกสู่ 19 ประเทศ FPT ทำสารพัดอย่างตั้งแต่ด้าน software outsourcing ไปถึงด้าน infrastructure ด้านโทรคมนาคม และด้านการศึกษา ในปี 2013 FPT ได้รายงานรายได้ประจำปีที่สูงถึง 1.65 พันล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันบริษัทมี venture fund ของตัวเองด้วย และราคาหุ้นของ FPT นั้นก็มีผลการเติบโตที่ดีมาก

ฟิลิปปินส์

ประกอบด้วย 1 ราย คือ

Xurpas

ปีที่ก่อตั้ง: 2001 ปีที่เข้าตลาดหลักทรัพย์: 2014 ตลาดหลักทรัพย์: ตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์

Xurpas เป็นบริษัท tech ของฟิลิปปินส์บริษัทแรก ที่ได้เป็นบริษัทมหาชน ในตลาดหลักทรัพย์ฟิลิปปินส์ ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ได้แก่ เกม แอปพลิเคชั่นต่างๆ รวมถึงแพลตฟอร์มสำคัญๆที่ใช้โดย mobile operators รายใหญ่หลายราย

สรุป

ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SE Asia) เรียกได้ว่ายังมีบริษัทด้าน tech เพียงหยิบมือที่ได้เข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เพราะทั้งตัวบริษัทต่างๆก็ดี ตลาดก็ดี ต่างก็อยู่ในช่วงกำลังพัฒนาตัวเองอยู่  ซึ่งนี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้บริษัทหลายรายในรายชื่อนี้เลือกที่จะเข้าตลาดหลักทรัพย์ขนาดใหญ่ที่อยู่ใกล้เคียง ซึ่งก็คือตลาดหลักทรพย์ออสเตรเลีย (Australian Stock Exchange หรือ ASX) และคาดว่าเทรนด์จะยังคงเป็นทิศทางนี้ เนื่องจากออสเตรเลียเองก็มีความพยายามดึงดูดบริษัทที่เติบโตดีเหล่านี้เข้ามาอยู่ในรายชื่อตลาดของตนเช่นกัน

ปิดท้ายด้วย Infographic ที่สรุปข้อมูล tech IPOs ทั้งหมดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ที่มา: TechInAsia

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

8 ล้านคนเสี่ยงตกงานเพราะ AI การบ้านใหญ่ของรัฐบาล UK

สถาบันวิจัยนโยบายสาธารณะหรือ IPPR ประกาศเตือน ชาวสหราชอาณาจักรกว่า 8 ล้านคนเสี่ยงตกงาน จากนโยบายด้าน AI ของรัฐบาล...

Responsive image

พกสะดวก กินได้ทุกที่ ‘ซีอิ๊วเม็ดเด็กสมบูรณ์’ วางขายทางออนไลน์เร็วๆ นี้

นวัตกรรมแห่งรสชาติ เด็กสมบูรณ์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ‘ซีอิ๊วเม็ดเด็กสมบูรณ์’ พกติดตัวได้ทุกที่ ใช้งานสะดวกสบาย แค่ละลายพร้อมอาหาร เตรียมจำหน่ายตามช่องทางออนไลน์เร็วๆ นี้...

Responsive image

Adobe GenStudio สร้างแคมเปญด้วย AI ตอบโจทย์การทำคอนเทนต์ครบวงจร เพื่อนักการตลาด

ข่าวดีนักการตลาด ทาง Adobe ประกาศในงาน Adobe’s Summit เปิดตัวแพลตฟอร์มใหม่อย่าง GenStudio ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสร้างโฆษณาครบวงจรด้วย AI...