ก.ล.ต. ห้าม Exchange สนับสนุนใช้คริปโต ชำระค่าสินค้า-บริการ มีผล 1 เมษา 65 เป็นต้นไป

ก.ล.ต.ออกหลักเกณฑ์กำกับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล เพื่อไม่ให้สนับสนุนหรือส่งเสริมการใช้สินทรัพย์ดิจิทัล หรือ คริปโต มาเป็นสื่อกลางในการชำระค่าสินค้า หรือ บริการ (Means of Payment) โดยมีเหตุผลอันเนื่องมาจากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงินและระบบเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ ตามที่ ธปท. และ ก.ล.ต. ได้มีการหารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัลและเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแล 

ก.ล.ต. ห้ามใช้คริปโต ชำระค่าสินค้า-บริการ  มีผล 1 เมษา 65 เป็นต้นไป

ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)ได้หารือร่วมกันถึงประโยชน์และความเสี่ยงของสินทรัพย์ดิจิทัล และเห็นความจำเป็นในการกำกับดูแลและควบคุมการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ 

เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงความเสี่ยงต่อประชาชนและธุรกิจ อาทิ ความเสี่ยงจากการสูญมูลค่าที่เกิดจากความผันผวนของราคา ความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางไซเบอร์ ความเสี่ยงข้อมูลส่วนบุคคลรั่วไหล หรือการถูกใช้เป็นเครื่องมือของการฟอกเงิน

ทั้งนี้ คณะกรรมการ ก.ล.ต. จึงพิจารณาใช้อำนาจตามกรอบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำกับดูแลการให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจไม่ให้มีการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นเป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ เนื่องจากอาจส่งผลให้เกิดการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้ในวงกว้างนอกเหนือไปจากวัตถุประสงค์เพื่อการลงทุน 

โดยคณะกรรมการ ก.ล.ต. ในการประชุมครั้งที่ 3/2565 เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2565 ได้มีมติเห็นชอบหลักการกำกับดูแลผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลในการจำกัดการให้บริการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ ซึ่งปรับปรุงตามข้อเสนอแนะที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง (ระหว่างวันที่ 25 มกราคม ถึง 8 กุมภาพันธ์ 2565) ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น และออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์การให้บริการของผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล 

สามารถสรุปสาระสำคัญได้ 2 ประเด็นดังนี้

1. ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลทุกประเภท ต้องไม่ให้บริการหรือกระทำการอันมีลักษณะที่เป็นการสนับสนุนหรือส่งเสริมการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล เช่น 

  • การโฆษณา การชักชวน หรือแสดงตนว่าพร้อมให้บริการชำระค่าสินค้าหรือบริการแก่ร้านค้า

  • การจัดทำระบบหรือเครื่องมืออำนวยความสะดวกในการชำระค่าสินค้าและบริการ

  • การเปิดกระเป๋าสินทรัพย์ดิจิทัล หรือ Wallet เพื่อวัตถุประสงค์ในการนำสินทรัพย์ดิจิทัลมาใช้เป็นสื่อกลางชำระค่าสินค้าและบริการ

  • การให้บริการโอนเงินบาท จากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีของบุคคลอื่น

  • การให้บริการโอนสินทรัพย์ดิจิทัล จากบัญชีของลูกค้าไปยังบัญชีอื่น เพื่อการชำระค่าสินค้า หรือ บริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

  • การให้บริการอื่นใดในลักษะที่เป็นการสนับสนุน การชำระค่าสินค้าหรือบริการด้วยสินทรัพย์ดิจิทัล

2. กรณีที่ผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลพบว่า ลูกค้าใช้บัญชีที่เปิดไว้ เพื่อการซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลไปใช้ประโยชน์ในการชำระค่าสินค้าและบริการ ให้ผู้ประกอบธุรกิจฯ 

  • ต้องแจ้งเตือนเกี่ยวกับการใช้บัญชีผิดวัตถุประสงค์ และไม่ตรงกับเงื่อนไขการให้บริการ

  • หากลูกค้ายังดำเนินการอยู่ ต้องดำเนินการกับลูกค้าที่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขการให้บริการ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าว รวมถึงระงับการให้บริการชั่วคราว ยกเลิกการให้บริการ หรือดำเนินการอื่นใดในทำนองเดียวกัน 

ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2565 และสำหรับผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้บริการตาม (1) และ (2) อยู่ก่อนแล้ว ให้ผู้ประกอบธุรกิจฯปฏิบัติให้เป็นไปตามที่หลักเกณฑ์กำหนดภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ประกาศมีผลใช้บังคับ

โดยที่ผู้ซื้อขายสามารถซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัลได้เช่นเดิม ส่วนผู้ประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล สามารถให้บริการได้เช่นเดิมตามขอบเขตใบอนุญาตที่ได้รับ

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมสถานีชาร์จ EV ของ PEA บนเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เทศกาลสงกรานต์มาถึงแล้ว หลายคนคงเตรียมออกเดินทางทั้งกลับบ้าน แต่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อาจกังวลเรื่องจุดชาร์จระหว่างทาง Techsauce จึงรวบรวมจุดให้บริการสถานีชาร์จ EV ทั่วประเท...

Responsive image

วิจัยพบ AI ไม่ได้คิดอย่างที่พูด แม้จะโชว์วิธีคิดยาวเหยียด แต่ซ่อนความคิดที่แท้จริงไว้ไม่บอกใคร

ตอนนี้มี AI ประเภทใหม่ที่เรียกว่าโมเดลจำลองการให้เหตุผล (SR Model) ซึ่งถูกสร้างมาให้โชว์วิธีคิดทีละขั้นตอน เวลาเราถามคำถามยากๆ AI จะอธิบายออกมาเป็นขั้นเป็นตอนว่าคิดด้วยวิธีไหน ถึงไ...

Responsive image

เปิดตัว Llama 4 โมเดล AI ที่ฉลาดที่สุดของ Meta ทำอะไรได้บ้าง แต่ละโมเดลต่างกันอย่างไร ?

Meta ได้เปิด Llama 4 ซึ่งเป็น AI เวอร์ชันอัปเดตล่าสุดอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนี้มีโมเดลใหม่ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ Llama 4 Scout, Llama 4 Maverick และ Llama 4 Behemoth โดยทาง Meta เป...