เปิดกลยุทธ์ 3 ปีของตลาดทุนไทย กับบริบทใหม่ในยุค Disruption | Techsauce

เปิดกลยุทธ์ 3 ปีของตลาดทุนไทย กับบริบทใหม่ในยุค Disruption

Disruption ในทุกวันนี้ต้องบอกว่าคงไม่ได้เป็นเพียงแค่เรื่องของ Digital เพียงอย่างเดียวแล้ว แต่รวมถึงเรื่องอื่นๆ รอบด้านที่จะมามีผลทำให้การดำเนินธุรกิจแบบเดิมต้องมีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้นในบริบทของตลาดทุน หรือ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเองก็เช่นเดียวกันที่จะต้องมีการวางกลยุทธ์ในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านของการระดมทุน การลงทุน และ Ecosystem ในการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค 

ดร.ภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันโลกมีพลวัตการเปลี่ยนแปลงที่ต้องเตรียมพร้อมรับมืออย่างต่อเนื่อง ทั้งสถานการณ์ต่างประเทศ ในประเทศ และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด 

ในปี 2563 เป็นปีที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ดำเนินงานมาครบ 45 ปี จึงมุ่งเน้นการเติบโตแบบ Inclusive Well-being สร้างการเติบโตไปพร้อมกันทั้งตลาดทุน สังคม และประเทศชาติ อย่างมีสมดุล มีคุณภาพและยั่งยืนในระยะยาวเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของคนไทย เพื่อให้ทุกภาคส่วนสามารถก้าวข้ามผ่านช่วงของการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และความผันผวนในเวทีโลกที่ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม

พัฒนาการที่สำคัญและความสำเร็จของตลาดทุนไทยในปี 2562

Market Productivity

• สภาพคล่องครองอันดับหนึ่งติดต่อกันตั้งแต่ปี 2555 ในภูมิภาคอาเซียน มูลค่าซื้อขายต่อวัน 53,192 ล้านบาท (ณ วันที่ 28 พ.ค. 62 มีการซื้อขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 2 แสนล้านบาทต่อวัน) ขณะที่ TFEX มีปริมาณการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันกว่า 4.3 แสนสัญญา เป็นอันดับ 26 ของโลก

• มีมูลค่า IPO 3.8 แสนล้านบาท สูงสุดอาเซียน โดย AWC เป็นบริษัทจดทะเบียนที่มีมูลค่าระดมทุนใหญ่ที่สุดเป็นประวัติการณ์ของไทย และเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีการระดมทุนใหญ่ที่สุดในโลกในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา

• 40 บจ. ไทยได้รับคัดเลือกเข้าคำนวณในดัชนี MSCI Standard Index เพิ่มขึ้นสูงสุดในภูมิภาคอาเซียน โดยเพิ่มขึ้น 4 บจ. จากปีก่อนหน้า โดยมีน้ำหนักการลงทุนเพิ่มเป็น 3.43% จาก 2.65% มากที่สุดเป็นประวัติการณ์

• ยกระดับการให้บริการและปรับกฎเกณฑ์ ร่วมกับ ก.ล.ต. One-stop service, การลดขั้นตอนการออก DW และการปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่าง ๆ

Global Synergy

• เชื่อมโยงสินค้าและบริการซื้อขายกองทุนกับต่างประเทศ เช่น การออก DW Hang Seng และ ความร่วมมือระหว่าง FundConnext ร่วมกับ Clearstream

• ร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์อื่นและองค์กรในต่างประเทศ เช่น การจัดทำเว็บไซต์ ASEAN Exchanges website ใหม่, การแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับตลาดหลักทรัพย์ใน Shenzhen และ Stuttgart รวมถึงความร่วมมืออย่างต่อเนื่องกับภาคตลาดทุนใน CLMV และ IFC (International Finance Corporation)

• สร้าง global recognition ผ่านกิจกรรม “Embassy @ SET” มีทูตกว่า 30 ประเทศเข้าร่วม และเป็นเจ้าภาพจัดงาน AFSF (Asia Fund Standardization Forum) และ AOSEF (Asian and Oceanian Stock Exchanges Federation)

Social Sustainability

• 20 บริษัทจดทะเบียนไทยได้รับคัดเลือกเข้าคำนวณในดัชนี Dow Jones Sustainability Indices (DJSI) สูงสุดในภูมิภาคอาเซียน โดยมี 7 บริษัท ได้คะแนนสูงสุดเป็นที่ 1 ของโลก

• ส่งเสริมบริษัทจดทะเบียนลดภาวะโลกร้อน ด้วยโครงการ Care the Whale “ขยะล่องหน” โครงการต่อเนื่องจากลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกผ่านโครงการ Care the Bear

• ร่วมขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprises) ผ่านโครงการ SET Social Impact Day: สร้างจุดเชื่อมต่อการทำงานเพื่อความยั่งยืนกับภาคธุรกิจ

• ร่วมแก้ไขปัญหาทางสังคมร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศ เช่น IOSCO และ WFE สร้างความรู้ทางการเงินผ่านโครงการ “Ring the Bell for Financial Literacy”

บริบทใหม่ของตลาดทุน 

การระดมทุน :  การเข้าถึงแหล่งทุนละพัฒนาศักยภาพ startups & SMEs โดยแบบเดิมจะเน้นการระดมทุนของบริษัทขนาดใหญ่ ระดมทุนเป็นเงินบาท และมักจะเป็น Traditional Assets แต่ในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ Startups และ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น รวมถึงสามารถระดมทุนเป็นเงินสกุลต่างชาติได้ และจะเพิ่มในส่วน Digital Assets ให้มากขึ้น

การลงทุน : การพัฒนาสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์ทั้งในแง่ของผู้ลงทุน สถาบันในประเทศ และต่างประเทศ โดยสำหรับผู้ลงทุนรายบุคคล จะเปลี่ยนแปลงจากช่องทางการลงทุนเชิงกายภาพ มาเป็น Online Based มากขึ้น ส่วนในแง่ของ Product จากเดิมที่อยู่ในรูปแบบของ Return และ Tax มามุ่งเน้นไปที่ Retirement และ Cross-border ส่วนในแง่ของวัตถุประสงค์ของการเข้าถึงจากเดิมที่มุ่งเน้นการออมและลงทุน ในอนาคตจะมุ่งเน้นการบริหารจัดการความมั่งคั่งตามไลฟ์สไตล์มากขึ้น (Life-style based wealth mgt.) ขณะที่สถาบันในประเทศ ที่เดิมทีในการมองหาโอกาสของการลงทุนมักจะเน้นการลงทุนที่มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับดัชนีอ้างอิงและมองขนาดของดัชนีเป็นหลัก (Passive & Size- based investment) ปรับมาเป็นการมุ่งเน้นไปที่ดัชนีความยั่งยืนเป็นหลัก (Thematic& sustainability indices) และสำหรับต่างประเทศ จากเดิมที่จะสามารถเข้าถึงด้วยการเน้นการลงทุนเชิงยุทธศาสตร์ (strategic investment) ในอนาคตก็จะมีการเพิ่มในส่วนของกิจกรรมจากโปรปฃแกรมการซื้อขายมากขึ้น (More activities from program trading)

Ecosystem : เชื่อมโยงภูมิภาค CLMV & ASEAN โดยก่อนหน้านี้เป็นการดำเนินงานที่ครอบคลุมในส่วนของสินทรัพย์ Securities เพียงอย่างเดียว ไม่ว่าจะเป็น สินทรัพย์ดั้งเดิม ได้แก่ ตราสารทุน ตราสารอนุพันธ์ การลงทุนในค่าเงิน สินค้าโภคภัณฑ์ สินทรัพย์ทางเลือก ได้แก่ อสังหาริมทรัพย์ Private Equity Hedge Funds และโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในระยะต่อไปจะดำเนินงานให้ครอบคลุมในส่วนที่เป็น Non-Securities เพิ่มขึ้นด้วย โดยจะเป็นการ Discover สินทรัพย์ประเภทใหม่ เพื่อโอกาสการลงทุน คือ Non-Asset Backed ได้แก่ Crypto Currencies และ Utility Tokens ขณะที่ส่วนที่เป็น Securities จะมีการปรับมาเป็นการ Explore แพลตฟอร์มรูปแบบใหม่ คือ Asset Backed ได้แก่ Stable Coins และ Securities Tokens 

ความเปลีี่ยนแปลงที่ตลาดหลักทรัพย์ฯต้องรับมือ

  • นโยบายภาครัฐและกฎเกณฑ์ใหม่ ๆ  : ทั้งในส่วนของนโยบายรัฐที่มีต่อ SMEs & Startups , Financial Literacy , Digital Infrastructure และบทบาทของกองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) และนโยบายที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้เล่นรายใหม่ และแพลตฟอร์มซื้อขายหลักทรัพย์รูปแบบใหม่ 

  • การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมตลาดทุนโลก : กฎเกณฑ์สากล (MiFID : Markets in Financial Instruments Directive ,GDPR :General Data Protection Regulation) การฃะลอตัวของเศรษฐกิจโลก ขณะที่สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง ได้แก่ กฎเกณฑ์ แนวปฏิบัติ Cybersecurity VUCA และความยั่งยืน 

  • Disruption : การนำเทคโนโลยีมาพัฒนากระบวนการทำงาน และโมเดลธุรกิจใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ

  • สภาพแวดล้อมของผู้ที่เกี่ยวข้องในตลาดทุน  : ความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อการลงทุน (FX,hedging & passive products) , Algo trading / High Frequency Trading ขณะที่สิ่งที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง  ได้แก่ การแข่งขันที่รุนแรง ต้นทุนการดำเนินงานและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สูง และสังคมผู้สูงอายุ

Strategic Direction 2020-2022 

 Creating Partnership Platform to Drive Inclusive Growth

1) เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ (Grow with Efficiency) ปรับรูปแบบการทำงานและขยายธุรกิจด้วยการสร้างความร่วมมือกับพันธมิตรเพื่อสร้างการเติบโตไปพร้อมกันได้อย่างมีคุณภาพ ขณะเดียวกันยังคงมุ่งเน้นลดความซ้ำซ้อนของกระบวนการและกฎเกณฑ์ต่างๆ และการให้บริการในรูปแบบ One-Stop Service แก่บริษัทจดทะเบียน รวมทั้งการนำข้อมูล (data) มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเพื่อพัฒนาสินค้าและบริการให้ตรงตามความต้องการ รวมถึงสร้างฐานข้อมูลที่ให้อุตสาหกรรมได้นำไปใช้ต่อยอดและประโยชน์ร่วมกัน

2) เติบโตด้วยการสร้างโอกาสใหม่ (Grow with New Opportunities) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยจะมุ่งเน้นความเชื่อมโยงกับตลาดทุนในกลุ่ม CLMV ได้แก่ กัมพูชา ลาว เมียนม่า และเวียดนาม รวมทั้ง การขยายโอกาสการระดมทุนของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก (SMEs) รวมถึงสตาร์ทอัพ (Startups)

3) เติบโตไปด้วยกันกับผู้ร่วมตลาดและสังคมอย่างยั่งยืน (Grow with Stakeholders & Sustainable Society) ปรับปรุงกฎเกณฑ์ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจให้ง่ายและสะดวกมากขึ้น (Ease of Doing Business) และการคุ้มครองผู้ลงทุน พร้อมสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพื่อให้ผู้ร่วมตลาดได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ลดต้นทุนการทำธุรกิจให้แก่อุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและแพลตฟอร์มกลางของตลาดทุน และการเสริมความปลอดภัยทางไซเบอร์ การสร้างช่องทางใหมในการลงทุนให้สะดวกมากขึ้น รวมถึงการส่งเสริมให้บริษัทจดทะเบียนดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน และสร้างผลลัพธ์ทางสังคม (Social Impact) เพื่อสร้างการเติบโตอย่างสมดุลและมีคุณภาพ พร้อมปรับแนวทางการพัฒนาความรู้การออมและการลงทุนภาคประชาชน และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในทุกมิติ

 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...