สรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ทยอย ‘ปลดพนักงาน’ หลังโดนมรสุม COVID-19 | Techsauce

สรุปสถานการณ์อุตสาหกรรมการบินทั่วโลก ทยอย ‘ปลดพนักงาน’ หลังโดนมรสุม COVID-19

จากการระบาดของไวรัส COVID-19 ทั่วโลก ส่งผลให้หลากหลายประเทศนั้นต้องใช้มาตรการล็อคดาวน์ในการป้องกันการแพร่ระบาดของไวรัสจากต่างประเทศ แน่นอนว่าหลายธุรกิจนั้นได้รับผลกระทบจากมาตรการล็อคดาวน์นี้ แต่ธุรกิจที่เหมือนจะได้รับผลกระทบทางตรงที่สุดก็คงจะหนีไม่พ้น 'ธุรกิจการบิน' นั่นเอง

ไม่เพียงแต่มาตรการล็อคดาวน์เท่านั้นที่ทำให้ธุรกิจการบินนั้นหยุดชะงักตัวลง แต่นี่ยังรวมถึงความกังวลและความไม่พร้อมของผู้ใช้บริการจำนวนมากต่อการบินและการท่องเที่ยวในช่วงเวลาที่การแพร่ระบาดยังคงดำเนินต่อไปอยู่นี้ และจากการคาดการณ์ของหลากหลายผู้เชี่ยวชาญนั้นก็ได้เผยว่าธุรกิจการท่องเที่ยวจะกลับมาเป็นกลุ่มธุรกิจสุดท้ายเช่นเดียวกัน ดังนั้นผลกระทบต่อสถานการณ์อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวนั้นอาจจะไม่ได้เกิดในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ เท่านั้น แต่ส่งผลในระยะยาว ที่เมื่อผู้คนนั้นกลับมามีความมั่นใจและเชื่อมั่นในการบินและการท่องเที่ยวเช่นเดิม

สถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ยังไม่มีท่าทีที่จะจบลงเร็ว ๆ นี้ ทางภาคอุตสาหกรรมสายการบินทั่วโลกก็เริ่มจะแบกรับผลกระทบนี้ไม่ไหวอีกต่อไปแล้วเช่นเดียวกัน จากความจำเป็นในการหยุดทำการบินชั่วคราว ทำให้หลายสายการบินเริ่มที่จะใช้มาตรการลดเงินเดือนพนักงานจนถึงปลดพนักงานออก บางสายการบินก็มีการคาดการณ์ว่าอาจจะไม่รอดภายใน 2 - 3 เดือนนี้ เนื่องจากรายได้ที่หดหายอย่างฉับพลัน 

สถานการณ์ปัจจุบัน

บริษัทผลิตเครื่องบินรายใหญ่ของโลกอย่าง Boeing ได้เริ่มปลดพนักงานจำนวนเกือบ 13,000 คนในสหรัฐฯ หลังความต้องการเครื่องบินลดลงอย่างมาก ซึ่งพนักกลุ่มแรกจำนวน 6,770 คนจะถูกปลดภายในอาทิตย์นี้ และอีก 5,520 คนจะถูกปลดในอาทิตย์ต่อ ๆ ไป การปลดครั้งนี้มีเหตุมาจากกลุ่มลูกค้าของ Boeing นั้นได้รับผลกระทบของ COVID-19 โดยตรง ทำให้ในเดือนเมษายนที่ผ่านมาคำสั่งซื้อเครื่องบินรุ่น 737 Max ได้ถูกยกเลิกกว่า 100 รายการ และการส่งมอบเครื่องบินอีกหลายรายการก็ถูกเลื่อนออกไป ทำให้ทางบริษัทนั้นขาดรายได้จำนวนมาก ซึ่งทาง Boeing ก็ได้วางแผนที่จะปลดพนักงานจำนวน 10% จากพนักงาน 160,000 คนทั่วโลก

สายการบินยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ อย่าง American Airlines ก็ได้เริ่มวางแผนที่จะปลดพนักงานกว่า 30%  การระบาดของ COVID-19 นั้นส่งผลให้บริษัทนั้นขาดรายได้ในรอบหลายปี จากจำนวนการบินที่ลดลงถึง 95% ในสหรัฐฯ โดยการปลดพนักงานจะเน้นไปที่พนักงานในฝั่งของภาคบริหารและฝ่ายสนับสนุน รวมทั้งหมด 5,000 คน โดยจะทำการตกลงกับพนักงานและมอบข้อเสนอให้เป็นการทดแทนการปลดพนักงานในครั้งนี้ ทาง American Airlines นั้นมีพนักงานทั้งหมด 130,000 คนทั่วโลก ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีพนักงานจำนวน 39,000 คนได้ทำการสมัครใจลาออกและทำการปลดเกษียรอายุก่อนเวลาแล้ว

ก่อนหน้านี้ทางสายการบิน Emirates ก็ได้มีข่าวออกมาว่าจะปลดพนักงานกว่า 30,000 คน ซึ่งคิดเป็น 30% ของพนักงานทั้ง เพื่อที่จะลดต้นทุนในช่วงการระบาดของ COVID-19 ซึ่งทางสายการบินได้ออกมาโต้ว่าทางบริษัทนั้นกำลังทำการทบทวน พิจารณา และตรวจสอบในเรื่องของต้นทุนและการจัดการทรัพยาการอยู่ 

เช่นเดียวกันกับทาง British Airways ที่เมื่อปลายเดือนเมษายนได้เริ่มมีการพิจารณาปลดพนักงานกว่า 12,000  คน จากแผนการปรับโครงสร้างของบริษัทแม่อย่าง AIG ซึ่งทางบริษัทได้คาดการณ์ว่าจะใช้แผนนี้จนกว่าจำนวนการบินนั้นเพิ่มขึ้นเท่ากับจำนวนการบินในปี 2019 และจากการรายงานของสำนักข่าวท้องถิ่นแคนาดา Air Canada สายการบินแห่งชาติได้มีการพิจารณาปลดพนักงานจำนวน 20,000 คนหรือครึ่งหนึ่งของจำนวนพนักงานทั้งหมด ซึ่งจะมีผลตั้งแต่วันที่ 7 มิถุนายนเป็นต้นไป และยังได้มีการคาดการณ์อีกว่าการระบาดของ COVID-19 จะส่งผลกระทบเช่นนี้ยาวนานถึง 3 ปี ซึ่งทางนายจัสติน ทรูโด นายกรัฐมนตรีของแคนาดาก็ได้เริ่มหารือถึงวิธีการช่วยเหลือสายการบินบ้างแล้ว

ซึ่งนอกจากนี้ยังมีสายการบินจำนวนมากกำลังพิจารณาลดต้นทุนต่าง ๆ จากจำนวนการบินระหว่างประเทศและภายในประเทศที่ลดลงอย่างมากในปัจจุบัน ทำให้สายการบินทั่วโลกนั้นต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายมหาศาลพ่วงกับรายได้ที่ลดน้อยลงอย่างมาก ธุรกิจสายการบินในช่วงเวลานี้ก็ดูเหมือนจะไม่กลับมาง่าย ๆ จากความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวที่ลดน้อยลง ซึ่งทำให้บางสายการบินอาจจะหมดเผชิญกับปัญหาทางการเงินที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่างไรก็ตามแต่ เราก็ยังคงต้องจับตาดูว่าในอนาคตทางธุรกิจสายการบินจะมีการปรับตัวอย่างไร และจะทำอย่างไรเพื่อที่จะสามารถกลับมาสร้างความเชื่อมั่นในการบินอีกครั้งเมื่อการระบาดของ COVID-19 นั้นจบลง

อ้างอิง: TheGuardian, CNBC, Reuters, BBC, Bloomberg









ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ซีอีโอ Nike เผย 3 สิ่งที่ทำบริษัทพลาดมาตลอดจนทำให้ไนกี้ไม่เหมือนเดิม

ปลายปี 2024 ที่ผ่านมา Nike เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นั่นคือ การลาออกของ John Donahole ในตำแหน่งซีอีโอ และได้ลูกหม้ออย่าง Elliott Hill ที่เริ่มทำงานกับ Nike มาอย่างยาวนานขึ้นมารับ...

Responsive image

กูเกิลปรับนิยาม "Googleyness" ใหม่ ซีอีโอเน้นกล้าคิด กล้าทำ มีเป้าหมาย เป็นคุณสมบัติที่มองหา

"Googleyness" คำที่เคยใช้อธิบายความเป็นกูเกิล ได้รับการปรับความหมายใหม่ในปี 2024 โดย Sundar Pichai ซีอีโอของกูเกิลเอง เพราะที่ผ่านมาคำนี้ค่อนข้างกว้างและไม่ชัดเจน ในการประชุม Pich...

Responsive image

ญี่ปุ่นคิดค้น ‘เครื่องอาบน้ำมนุษย์’ อาบและเป่าแห้งเพียง 15 นาที

หมดข้ออ้างขี้เกียจอาบน้ำแล้ว บริษัท Science Co. ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตหัวฝักบัวจากญี่ปุ่น ได้เปิดตัว “เครื่องซักมนุษย์แห่งอนาคต” หรือ Mirai Ningen Sentakuki...