เครือไทย โฮลดิ้งส์ ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ตัดสินใจเลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังเจอโควิดกระทบหนัก | Techsauce

เครือไทย โฮลดิ้งส์ ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ตัดสินใจเลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังเจอโควิดกระทบหนัก

จากการที่ เครือไทย โฮลดิ้งส์ ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ตัดสินใจเลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ สืบเนื่องจากปัญหาของสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผ่านมา ซึ่งมีจํานวนที่สูงขึ้นอย่างมีนัยสําคัญและส่งผลกระทบต่อการประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในภาพรวม 

เครือไทย โฮลดิ้งส์ ของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ ตัดสินใจเลิกกิจการ ‘อาคเนย์ประกันภัย’ หลังเจอโควิดกระทบหนัก

ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จํากัด (มหาชน) (“บริษัทฯ”) ได้ดําเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วยการปรับโครงสร้างกลุ่มบริษัทในช่วงปลายปี 2564 ดังนี้

1.การจําหน่ายหุ้นของบริษัท ไทยประกันภัย จํากัด (มหาชน) (“ไทยประกันภัย”) ให้แก่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ บริษัทฯ (กลุ่ม TCC)

2.ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯให้การสนับสนุนด้านการเงินแก่ ไทยประกันภัย ซึ่งนําไปชําระเป็นค่าสินไหมทดแทนจากการเคลมประกัน COVID-19 ของลูกค้าผู้ถือกรรมธรรม์ของทั้งไทยประกันภัย และบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จํากัด (มหาชน) (“อาคเนย์ประกันภัย”) เป็นเงินจํานวน 9,900 ล้านบาท

เงินสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯดังกล่าว ได้นํามาชําระเป็นค่าสินไหมทดแทนจากการเคลม ประกัน COVID-19 ในส่วนของอาคเนย์ประกันภัย (ผ่านการทําสัญญารับประกันภัยต่อที่เข้าทําไว้กับไทยประกันภัย) เป็นจํานวน ประมาณ 8,060 ล้านบาท ซึ่งช่วยให้อาคเนย์ประกันภัยยังสามารถคงสถานะมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินและสามารถประกอบ กิจการต่อเนื่องมาได้ในช่วงที่ผ่านมา โดย ณ วันที่ 1 มกราคม 2565 อาคเนย์ประกันภัยมีสินทรัพย์สุทธิคงเหลือกว่า 1,800 ล้าน บาท และยังสามารถดํารงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) อยู่ที่ประมาณร้อยละ 170

มีมติดําเนินการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย

อย่างไรก็ตามจากปัญหาการกลายพันธุ์และการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอมครอน ซึ่งยังคงเพิ่มความรุนแรงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงิน และการดํารงอัตราส่วนความพอเพียงของเงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ของอาคเนย์ประกันภัยให้ลดต่ำลงกว่าอัตราที่กฎหมายกําหนดในระยะเวลาอันใกล้นี้ อาคเนย์ประกันภัยจึงได้เรียกประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น เพื่อให้พิจารณามีมติดําเนินการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย และส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยต่อนายทะเบียนตามกฎหมาย และโอนกิจการของอาคเนย์ประกันภัยให้แก่ บริษัท อินทร ประกันภัย จํากัด (มหาชน)

คณะกรรมการบริษัทได้พิจารณาร่วมกับตัวแทนฝ่ายจัดการของอาคเนย์ประกันภัยอย่างรอบด้าน โดยมีความมุ่งหมายที่ จะดูแลผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ให้ได้รับผลกระทบเป็นวงกว้างดังเช่นกรณีที่บริษัทประกันวินาศภัยอื่นที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาต ซึ่งผู้ที่ ได้รับผลกระทบจะไม่ได้จํากัดเฉพาะเพียงผู้เอาประกันตามกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 เท่านั้น 

แต่ยังรวมไปถึงผู้เอากรมธรรม์ประกันภัยประเภทอื่น ๆ ประกอบกับหากในกรณีที่อาคเนย์ประกันภัยถูกเพิกถอนใบอนุญาต ก็จะทําให้กองทุนประกันวินาศภัยมีภาระทางการเงิน อันเนื่องจากต้องเข้ามาช่วยเหลือแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องอันจะเป็นภาระแก่เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมโดยรวมอีกด้วย 

ประกอบกับเมื่อพิจารณาสถานะทางการเงินของอาคเนย์ประกันภัยในขณะนี้ ซึ่งยังมีสินทรัพย์สุทธิกว่า 1,800 ล้านบาทและ เงินกองทุน (Capital Adequacy Ratio) ประมาณร้อยละ 170 อาคเนย์ประกันภัยย่อมสามารถจ่ายเงินคืนผู้เอาประกันภัยได้ครบถ้วนทุกราย และยังมีเงินเหลือพอที่จะชําระหนี้ให้คู่ค้าทั้งหมดรวมถึงพนักงานลูกจ้างทุกคน ซึ่งความสามารถในการชําระหนี้ ของอาคเนย์ประกันภัยจะลดลงหากการตัดสินใจดําเนินการในเรื่องนี้ล่าช้าออกไป

ดังนั้นการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยโดยสมัครใจ ในขณะที่อาคเนย์ประกันภัยยังคงมีสถานะทางการเงินที่เพียงพอ และยังดํารงเงินกองทุนได้ตามอัตราที่กฎหมายกําหนด โดยขอให้คณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย พิจารณาให้กองทุนประกันวินาศภัย เป็นผู้มีอํานาจดําเนินการในเรื่องการดําเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกราย ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่อาคเนย์ประกันภัยยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึง กรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุและการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)) 

รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัย โดยอาคเนย์ประกันภัยเป็นผู้ให้การสนับสนุนด้านต่างๆ ในการดําเนินการของกองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวจึงเป็นมาตรการที่จําเป็นและเป็นทางออกที่ดีที่สุดสําหรับผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย 

และจะสามารถเยียวยาผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องได้อย่างเป็นธรรมสูงสุดเท่าที่เป็นไปได้ใน สถานการณ์ปัจจุบัน รวมถึงไม่ก่อภาระเพิ่มเติมแก่กองทุนประกันวินาศภัยแต่อย่างใด ในขณะที่การดําเนินการในทางเลือกอื่นๆ เช่น การเพิ่มทุนหรือขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินเพื่อใช้ในกิจการของอาคเนย์ประกันภัยอาจจะไม่สามารถทําได้ รวมถึงผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ เองก็ได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินไปแล้วเกือบ 10,000 ล้านบาทเพื่อช่วยพยุงธุรกิจประกันวินาศภัยของกลุ่มบริษัทฯ

โดยที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ครั้งที่ 2/2565 ซึ่งประชุมเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2565 จึงได้มติเกี่ยวกับการเลิก ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของ อาคเนย์ประกันภัย ดังนี้

1.เห็นชอบ กับแผนการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัยซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจ ประกันวินาศภัยโดยสมัครใจและส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียนตามมาตรา 57 และ 57/1 แห่ง พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 (รวมทั้งที่การแก้ไขเพิ่มเติม)

2.ไม่เห็นด้วย กับข้อเสนอที่ให้อาคเนย์ประกันภัย โอนกิจการของอาคเนย์ประกันภัยให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จํากัด (มหาชน) เนื่องจากมีความเห็นว่าเมื่อคณะกรรมการกํากับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัยพิจารณาให้กองทุน ประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดําเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่แล้ว ก็ควรให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้มีอํานาจดําเนินการในเรื่องการดําเนินการคืนเบี้ยประกันให้กับผู้เอาประกันภัยทุกรายตามกรมธรรม์ประกันภัย ที่อาคเนย์ประกันภัยยังมีภาระผูกพันตามกรมธรรม์ประกันภัยต่อผู้เอาประกันภัยนั้น ๆ (ซึ่งรวมถึงกรมธรรม์ประกันภัยอุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) 

รวมทั้งการจัดหาผู้รับประกันภัยรายใหม่ให้แก่ผู้เอาประกันภัยตามหลักเกณฑ์และแนวทางของกองทุนประกันวินาศภัยด้วย โดยอาคเนย์ประกันภัยเป็นผู้ให้การสนับสนุนการดําเนินการด้านต่างๆ แก่กองทุนประกันวินาศภัยดังกล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้เอาประกันภัย และเพื่อเป็นการดูแลรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยและบุคคลที่เกี่ยวข้องในทุก ๆ ฝ่าย 

ดังนั้น บริษัทฯ จะมอบหมายให้ผู้รับ มอบฉันทะนําเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นของอาคเนย์ประกันภัยเพื่อลงมติเห็นชอบให้กองทุนประกันวินาศภัยเป็นผู้เข้ามาดําเนินการจัดการที่เกี่ยวข้องกับการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ตามหลักเกณฑ์และแนวทางที่กองทุนประกันวินาศภัยมีอยู่

การพิจารณาให้อาคเนย์ประกันภัยในฐานะบริษัทย่อยของบริษัทฯ เลิกประกอบกิจการเป็นเรื่องที่อยู่ในอํานาจของคณะกรรมการบริษัทที่จะพิจารณาเห็นชอบให้ดําเนินการไปได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ อย่างไรก็ตามการเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยและการจัดการเกี่ยวกับภาระและกรมธรรม์ประกันภัยทั้งหมดของอาคเนย์ประกันภัย จะต้องเป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นของอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งจะจัดให้มีการประชุมในวันที่ 26 มกราคม 2565 โดยหากมีความคืบหน้าเป็นประการใดบริษัทฯจะแจ้งให้ทราบต่อไป

อ้างอิง SET

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สยาม เอไอฯ ได้รับ NVIDIA DGX Blackwell B200 รายแรกในอาเซียน

NVIDIA DGX Blackwell B200 เป็นหน่วยประมวลผลประสิทธิภาพสูงที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ของ Siam.AI Cloud ทำให้สามารถรองรับการประมว...

Responsive image

Infineon เสริมแกร่งและกระจายฐานการผลิต ตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์แห่งใหม่ในประเทศไทย

Infineon Technologies AG ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างโรงงานผลิตชิ้นส่วนเซมิคอนดักเตอร์ (Backend Production) แห่งใหม่ในจังหวัดสมุทรปราการ การลงทุนในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเพื่อเพิ่มประ...

Responsive image

Techsauce จับมือ KUMPUL เสริมแกร่งสตาร์ทอัพไทย-อินโดฯ สู่เวทีโลก

Techsauce และ KUMPUL ได้ร่วมลงนาม MOU อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2025 ที่ผ่านมา เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านสตาร์ทอัพข้ามพรมแดนและนวัตกรรมระดับโลก ผนึกกำลังสร้างระบบนิเวศท...