Thai Union เข้าลงทุนใน Jellagen สตาร์ทอัพเทคฯชีวภาพการแพทย์ ที่พัฒนาคอลลาเจนจากแมงกระพรุน | Techsauce

Thai Union เข้าลงทุนใน Jellagen สตาร์ทอัพเทคฯชีวภาพการแพทย์ ที่พัฒนาคอลลาเจนจากแมงกระพรุน

ไทยยูเนี่ยน (Thai Union) เข้าลงทุนในเจลลาเจน สตาร์ทอัพเทคโนโลยีชีวภาพการแพทย์ด้านคอลลาเจน ที่ผลิตคอลลาเจนจากแมงกระพรุน หวังเสริมทัพธุรกิจด้านเทคโนโลยีชีวภาพ โดย Jellagen คือ หนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านคอลลาเจนชีวภาพและมีสำนักใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองคาร์ดิฟฟ์ สหราชอาณาจักร

Thai Union เข้าลงทุนใน Jellagen สตาร์ทอัพเทคฯชีวภาพการแพทย์ ที่พัฒนาคอลลาเจนจากแมงกระพรุน

บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ประกาศเข้าร่วมกับผู้ร่วมลงทุนเชิงกลยุทธ์รายอื่น ๆ ในการลงทุนกับบริษัท เจลลาเจน บริษัทสตาร์ทอัพของประเทศอังกฤษ ในรอบการระดมทุนซีรีย์เอที่ทางเจลลาเจนได้ระดมเงินทั้งสิ้น 8.7 ล้านปอนด์ โดยการลงทุนของไทยยูเนี่ยนในครั้งนี้เป็นการลงทุนผ่านกองทุน Venture Fund ของบริษัท 

บริษัท เจลลาเจน ก่อตั้งขึ้นในปี 2558  เป็นหนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านคอลลาเจนชีวภาพและมีสำนักใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองคาร์ดิฟฟ์ สหราชอาณาจักร โดยเป็นบริษัททางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการแพทย์ ที่พัฒนาคอลลาเจน ในรูปแบบของวัสดุชีวภาพ จากแมงกระพรุน  โดยมีพันธกิจในการปฏิวัติเวชศาสตร์ฟื้นสภาพ หรือ ศาสตร์การรักษาโรคต่างๆ ผ่านการเข้าไปฟื้นฟูความเสื่อมของร่างกายโดยลงลึกไปถึงระดับเซลล์ 

ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์และวิธีการเพาะเลี้ยง  การศึกษาเบื้องต้นจากเจลลาเจนพิสูจน์ได้ว่า คอลลาเจน ชนิด 0 ซึ่งมาจากแมงกระพรุน มีคุณสมบัติที่ดีกว่าคอลลาเจนจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยเฉพาะในทางการรักษาและการแพทย์  การระดมทุนในรอบนี้จะถูกนำไปใช้ในการเร่งการพัฒนาทางการแพทย์ให้กับคอลลาเจน ชนิด 0  ตลอดจนวัสดุชีวภาพคอลลาเจนที่มีความยั่งยืน ที่จะถูกใช้ในการรักษาโรคทางผิวหนัง และเป็นวัสดุชีวภาพสำหรับการสร้างเนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่

การลงทุนของไทยยูเนี่ยนในเจลลาเจนในครั้งนี้จะเปิดโอกาสให้เกิดความร่วมมือทั้งในด้านการจัดหาวัตถุดิบ การผลิต และการนำไปใช้ในสินค้าที่ไทยยูเนี่ยนมีอยู่และสินค้าที่พัฒนาขึ้นในอนาคต

คุณธีรพงศ์ จันศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยยูเนี่ยน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมอาหารทะเล เราพยายามอย่างยิ่งในการยกระดับนวัตกรรมในธุรกิจและสินค้าของเรา  เจลลาเจนนั้นถือเป็นผู้นำในการวิจัยคอลลาเจนจากแมงกระพรุนและกำลังพัฒนารูปแบบคอลลาเจนจากทะเล ซึ่งจะได้นำมาใช้ในการแพทย์ เครื่องสำอาง อาหารและโภชนาการ  ไทยยูเนี่ยนหวังที่จะได้ร่วมงานทั้งในด้านการวิจัยและพัฒนา รวมถึงโรงงานผลิตทั่วโลก”

คุณโธมัส-พอล เดสแคมปส์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจลลาเจน กล่าวว่า “นับเป็นความสำเร็จและก้าวที่สำคัญสำหรับการลงทุนที่จะเปลี่ยนโฉมหน้าธุรกิจในครั้งนี้จากไทยยูเนี่ยน  ผมอยากขอบคุณไทยยูเนี่ยนที่ไว้วางใจในทีมเจลลาเจนและแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของเราที่มีศักยภาพอย่างมาก การลงทุนในครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการเติบโตของเจลลาเจนในฐานะผู้นำด้านวัสดุชีวภาพและเครื่องมือแพทย์ระดับโลกในอนาคต   นอกจากนี้  การลงทุนนี้ยังจะช่วยในการจัดการวัตถุดิบของเจลลาเจนและขยายกำลังการผลิตในอนาคต  และเมื่อประกอบกับโอกาสและความเป็นไปได้ของคอลลาเจนชนิด 0 รวมถึงการเป็นผู้เล่นใหญ่ในอุตสาหกรรมแล้ว จะช่วยให้เทคโนโลยีของเจลลาเจนเติบโตได้อีกมาก”

ทั้งนี้ไทยยูเนี่ยนได้จัดตั้งกองทุน venture fund ขึ้นในปี 2562 โดยมุ่งลงทุนในสตาร์ทอัพที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับโปรตีนทางเลือก สารอาหารเพื่อสุขภาพ และเทคโนโลยีชีวภาพ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจอาหาร  และการลงทุนเชิงกลยุทธ์ต่างๆ  โดยกองทุนนี้จะลงทุนและทำงานร่วมกับบริษัทต่างๆ ตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อร่วมมือและสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาให้สอดคล้องไปกับความมุ่งมั่นของบริษัทการดูแลความเป็นอยู่ของผู้คนควบคู่ไปกับการอนุรักษ์ทรัพยากรของท้องทะเล หรือ Healthy Living, Healthy Oceans

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...

Responsive image

Apple Vision Pro ขายไม่ดีอย่างที่คิด Apple ลดคาดการณ์ยอดขายกว่าครึ่ง ปรับแผนใหม่

Ming-Chi Kuo นักวิเคราะห์สาย Apple เผยว่า Apple ได้ลดตัวเลขยอดขาย Apple Vision Pro ในปีนี้เหลือเพียง 400-450,000 เครื่องเท่านั้น ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ (มากกว่า 700–800,000 เครื่อง)...