ไทยตื่นตัวเซมิคอนดักเตอร์ ปิดดีลไปแล้วกว่า 22,000 ล้าน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนสิ้นปี

ดูเหมือนว่าเมืองไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่โลกของเซมิคอนดักเตอร์อย่างจริงจัง ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เปิดไฟเขียวให้ Foxsemicon ยักษ์ใหญ่จากไต้หวัน ลงทุนกว่า 10,000 ล้านบาท ตั้งโรงงานผลิตอุปกรณ์และโมดูลสำหรับเครื่องจักรในอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำในประเทศไทย 

นอกจากนี้ โครงการนี้ยังเป็นการต่อยอดความเข้มแข็งของฐานการผลิตอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ของไทย ซึ่งสอดคล้องกับทิศทางของบอร์ดเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติที่ต้องการผลักดันไทยสู่แถวหน้าของภูมิภาคในด้านนี้

ไทยเดินหน้าเต็มสู่อุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ ?

นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการ BOI เผยถึงความก้าวหน้าในการผลักดันประเทศไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์ โดย BOI อนุมัติการลงทุนมูลค่า 10,500 ล้านบาท จากกลุ่ม Foxsemicon Integrated Technology Inc. (FITI) ในเครือ Foxconn ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลก เพื่อสร้างโรงงาน 2 แห่งในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี และนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ระยอง โรงงานนี้นับเป็นแห่งที่ 4 ของ Foxsemicon ต่อจากจีน ไต้หวัน และสหรัฐฯ

โรงงานจะจ้างบุคลากรไทยกว่า 1,400 คน ผลิตอุปกรณ์ความแม่นยำสูงสำหรับเครื่องจักรผลิตเซมิคอนดักเตอร์ต้นน้ำ คาดสร้างมูลค่าส่งออกกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี พร้อมใช้วัตถุดิบในประเทศกว่า 25% ในระยะเริ่มต้น และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต

โครงการนี้ถือเป็นอีกก้าวสำคัญที่ตอกย้ำศักยภาพของไทยในฐานะฐานการผลิตเทคโนโลยีขั้นสูง นายนฤตม์ระบุว่าก่อนหน้านี้ บริษัทชั้นนำอย่าง Analog Devices และ Hana ก็ได้เริ่มลงทุนในไทยในด้านการออกแบบ IC การทดสอบ Wafer และการผลิตชิปต้นน้ำแล้ว

ด้วยการตั้งคณะกรรมการเซมิคอนดักเตอร์แห่งชาติที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ไทยพร้อมเดินหน้ากำหนดโรดแมป พัฒนาบุคลากร และเสริมสร้างระบบนิเวศที่เหมาะสม เพื่อยกระดับประเทศสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมแห่งอนาคต เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า ดิจิทัล ระบบอัตโนมัติ และอุปกรณ์การแพทย์

ไทยเราตื่นตัวกับ ‘เซมิคอนดักเตอร์’ แค่ไหน ?

ไม่ใช่แค่ Foxsemicon ที่เข้ามาเล่นใหญ่ ก่อนหน้านี้ BOI ได้สนับสนุนโครงการมูลค่าสูงอย่างการร่วมทุนระหว่าง ฮานา และ ปตท. ในการตั้งโรงงานผลิตชิปซิลิคอนคาร์ไบด์แห่งแรกของไทยที่จังหวัดลำพูน ด้วยเม็ดเงินลงทุนเฟสแรกกว่า 11,500 ล้านบาท โรงงานนี้มีกำหนดเริ่มผลิตในปี 2570 เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ศูนย์ข้อมูล และระบบกักเก็บพลังงานในอนาคต ถือเป็นก้าวสำคัญที่ไทยจะยกระดับความสามารถในการแข่งขันในตลาดเทคโนโลยีระดับโลก

อีกหนึ่งการเคลื่อนไหวที่น่าสนใจคือการเตรียมบุคลากรรุ่นใหม่เข้าสู่อุตสาหกรรมนี้ ในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้เปิดตัวหลักสูตร “วิศวกรรมเซมิคอนดักเตอร์” เป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยเริ่มเปิดสอนปีการศึกษา 2568 ในสถาบันชั้นนำอย่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง พร้อมตั้งเป้าผลิตวิศวกรเซมิคอนดักเตอร์อย่างน้อย 1,500 คนต่อปี เพื่อเติมเต็มความต้องการของตลาดที่กำลังเติบโต

อ้างอิง: boi.go.th

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รวมสถานีชาร์จ EV ของ PEA บนเส้นทางหลักทั่วประเทศ

เทศกาลสงกรานต์มาถึงแล้ว หลายคนคงเตรียมออกเดินทางทั้งกลับบ้าน แต่สำหรับผู้ใช้รถยนต์ไฟฟ้า (EV) อาจกังวลเรื่องจุดชาร์จระหว่างทาง Techsauce จึงรวบรวมจุดให้บริการสถานีชาร์จ EV ทั่วประเท...

Responsive image

วิจัยพบ AI ไม่ได้คิดอย่างที่พูด แม้จะโชว์วิธีคิดยาวเหยียด แต่ซ่อนความคิดที่แท้จริงไว้ไม่บอกใคร

ตอนนี้มี AI ประเภทใหม่ที่เรียกว่าโมเดลจำลองการให้เหตุผล (SR Model) ซึ่งถูกสร้างมาให้โชว์วิธีคิดทีละขั้นตอน เวลาเราถามคำถามยากๆ AI จะอธิบายออกมาเป็นขั้นเป็นตอนว่าคิดด้วยวิธีไหน ถึงไ...

Responsive image

เปิดตัว Llama 4 โมเดล AI ที่ฉลาดที่สุดของ Meta ทำอะไรได้บ้าง แต่ละโมเดลต่างกันอย่างไร ?

Meta ได้เปิด Llama 4 ซึ่งเป็น AI เวอร์ชันอัปเดตล่าสุดอย่างเป็นทางการ โดยครั้งนี้มีโมเดลใหม่ทั้งหมด 3 ตัว ได้แก่ Llama 4 Scout, Llama 4 Maverick และ Llama 4 Behemoth โดยทาง Meta เป...