ไทย ดัน Capital Gains Tax ดึงเงินลงทุนต่างชาติ สร้าง Startup Ecosystem ชิงเป็น Hub ต่อจากสิงคโปร์ | Techsauce

ไทย ดัน Capital Gains Tax ดึงเงินลงทุนต่างชาติ สร้าง Startup Ecosystem ชิงเป็น Hub ต่อจากสิงคโปร์

ประเทศไทย กำลังมองหาการพัฒนาอุตสาหกรรมสำหรับสตาร์ทอัพที่พึ่งเริ่มต้นด้วยการจำลองโมเดลของสิงคโปร์ที่เป็น Hub ของการบ่มเพาะผู้ประกอบการชั้นนำในภูมิภาคนี้ ซึ่งแนวคิดรวมถึงแรงบันดาลใจนี้ เริ่มเห็นได้จากการเคลื่อนไหวของรัฐบาลไทยในการสร้างเส้นทางให้บริษัทร่วมทุนและนักลงทุนรายอื่นๆ ได้รับการจูงใจจากกฎหมาย Tax-fee capitals gain ที่บังคับใช้เมื่อมิถุนายนปีที่แล้ว สำหรับการลงทุนในสตาร์ทอัพ ในประเทศไทยกับบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในประเทศไทย อย่าง Automotive Technology , Smart Technology, Biotechnology เป็นต้น

สำหรับสิงคโปร์นั้นได้สั่งสมความสำเร็จในการปั้นสตาร์ทอัพชั้นนำมาหลายทศวรรษ โดยเฉพาะในช่วง 1990 ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือการโดยมีเป้าหมายในการสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่คล้ายคลึงกับ Silicon Valley ถึงแม้จะยังไม่มี Capital Gains Tax ก็ตาม

Gempei Asama ผู้จัดการอาวุโสของ Deloitte Tohmatsu Group กล่าวว่า “สิงคโปร์มีแนวโน้มในการดึงดูดเงินลงทุน จากความได้เปรียบเมื่อนักลงทุนออกจากตลาด”

ซึ่ง StartupBlink หน่วยข่าวกรองทางด้านการตลาดของอิสราเอลชี้ว่า สิงคโปร์ถือเป็นประเทศในเอเชียอันดับต้นๆ ที่มีเศรษฐกิจหมุนเวียนอยู่ในระบบนิเวศของสตาร์ทอัพ โดยจัดอันดับอยู่ที่ อันดับที่ 6 แซงหน้าจีนในอันดับที่ 12 และญี่ปุ่นในอันดับที่ 18 ซึ่งมีหลากหลายปัจจัยที่ทำให้สิงคโปร์เป็นดันดับต้นๆ ของ Startup Ecosystem ได้แก่

  1. การคอรัปชั่นที่ต่ำ
  2. การใช้เอกสารที่ไม่ยุ่งยาก
  3. จำนวนประชากรที่มีความสามารถทางภาษาอังกฤษจำนวนมาก

ทำให้การทำธุรกิจในสิงคโปร์ได้เปรียบว่าการทำธุรกิจกับประเทศในแถบตะวันตก

ในขณะที่ประเทศไทย สำหรับ Startup Ecosystem อยู่ในอันดับที่ 52 ต่ำกว่าอินโดนีเซียที่อยู่ในอันดับ 41 และมาเลเซียอันดับที่ 43 แม้ว่าประเทศไทยจะดำเนินการในการพัฒนาอุตสาหกรรมสตาร์ทอัพในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ดูเหมือนจะยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าไหร่นัก โดย Deloitte ได้ระบุถึงความท้าท้ายของ Startup Ecosystem ในประเทศไทยไว้ 13 ประการ ที่รวมถึง การมีอยู่ของผู้ขายน้อยราย (Oligopoly Market) การขาดแคลนนักลงทุน และทรัพยากรมนุษย์ที่มีทักษะสูงเพียงน้อยนิด แต่จากรายงานของ DealStreetAsia การมี Capital Gains Tax ได้กระตุ้นการลงทุนในสตาร์ทอัพไทย ได้ถึง 530 ล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก ซึ่งมากกว่าช่วงเวลาเดียวกันในปี 2019 ก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19

‘Roojai’ หรือ ‘รู้ใจ ประกันออนไลน์’ InsurTech Startup ของประเทศไทยสามารถระดมทุนได้ 42 ล้านดอลลาร์ในรอบการระดมทุนที่นำโดยกลุ่มประกันภัยจากเยอรมนี HDI International ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ในส่วนของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ก็มีแผนที่จะเปิดตัวกองทุนสำหรับสตาร์ทอัพ ที่เริ่มต้นที่ 28.7 ล้านดอลลาร์ (หรือราวๆ 1 พันล้านบาท) ในเดือนกันยายน ซึ่งมีผู้ให้กู้เป็นบริษัทย่อยของ Mitsubishi UFJ Financial Group ของญี่ปุ่นและคาดว่าจะมีนักลงทุนประมาณ 50 รายเข้าร่วม โดยมีวัตถุประสงค์หลักของกองทุนคือสร้าง Startup Ecosystem ในประเทศไทย ซึ่ง คุณแซม ตันสกุล กรรมการผู้จัดการ กรุงศรี ฟินโนเวต กล่าวว่าจะจัดโครงการในการสนับสนุนสตาร์ทอัพไทยและเชิญผู้ประกอบการ และผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำมาให้ความรู้ด้วย

ในอีกแง่หนึ่ง ประเทศไทยขึ้นชื่อในเรื่องของเอกสารที่ซับซ้อนและบรรทัดฐานในการเริ่มต้นธุรกิจ ไม่มีหน่วยงานกลางในการจัดการบริษัทใหม่ๆ ผู้ประกอบการจึงจำเป็นที่จะต้องส่งเอกสารไปยังหน่วยงานต่างๆ ด้วยตัวเอง เพราะภาครัฐกำหนดให้ผู้ประกอบการต้องส่งเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษรและกว่าจะอนุมัติก็ใช้เวลาไปหลายปีเช่นกัน

“ในการทำธุรกิจใหม่ในประเทศไทย จำเป็นต้องมีคอนเนคชั่นกับเจ้าหน้าที่รัฐ” ผู้บริหารบริษัทร่วมทุนแห่งหนึ่งกล่าวไว้

ประเทศไทยยังมีพื้นที่อีกมากที่จะครอบคลุมการสนับสนุนผู้ประกอบการ โดย Startup Program ได้เริ่มต้นขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี 2017 แล้ว แต่ก็ยังตามหลังสิงคโปร์ที่ National University of Singapore ได้เริ่มต้น Startup Program อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่ปี 2010 และได้สนับสนุนถึง 25% ในการช่วยเหลือสตาร์ทอัพในประเทศระยะแรกๆ ตามที่ Deloitte รายงาน


อ้างอิง

NIKKEI Asia


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

สินค้าจีนบุกสิงคโปร์ ฐานที่มั่นใหม่ทดลองตลาดโลก มุ่งหาแหล่งรายได้ใหม่ เหตุเศรษฐกิจจีนซบเซา

สมรภูมิใหม่ของการค้าโลกกำลังระอุ เมื่อแบรนด์จีนเลือก สิงคโปร์ เป็นบันไดสู่ความสำเร็จ สิงคโปร์กำลังจะเป็นฐานทดลองเพื่อขยายธุรกิจจีนสู่ตลาดโลก เนื่องจากผสมผสานวัฒนธรรมตะวันออกและตะวั...

Responsive image

เปิด 7 ข้อเสนอ สมาคมสตาร์ทอัพไทย เร่งรัฐบาลใหม่หนุน Startup Ecosystem

สมาคมการค้าสตาร์ทอัพไทย (Thai Startup) ประกาศวิสัยทัศน์และข้อเสนอเชิงนโยบายต่อรัฐบาลชุดใหม่ หวังผลักดันให้ประเทศไทยใช้จุดแข็งด้านสุขภาพ อาหาร และการท่องเที่ยว สร้างความได้เปรียบในต...

Responsive image

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้า (EVAT) เปิดตัวนายกฯ คนใหม่ ตั้งเป้าดันไทยศูนย์กลางผลิต-ส่งออก EV อันดับต้นใน SEA

สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) เปิดตัวนายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และคณะกรรมการชุดใหม่นาทัพโดยนาย สุโรจน์ เเสงสนิท พร้อมประกาศเดินหน้าผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการผลิต และส่งออกยานยนต...