หลังจากมีการจะตั้ง Thailand FinTech Club หรือ ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทยนำโดยคุณกรณ์ จาติกวณิช เป็นหัวแรงหลักในการขับเคลื่อน หลังจากจัดตั้งชมรมมาได้ประมาณเกือบเดือน วันนี้มีข่าวคราวความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ สรุปจาก page ของชมรมไว้ดังนี้
1. ชมรมฟินเทคแห่งประเทศไทยได้จัดตั้งขึ้นมาแล้ว 25 วัน โดยเริ่มจัดตั้งวันที่ 15 กรกฎาคม 2559 โดยชมรมฯ ได้จัดประชุมคณะกรรมการชมรมครั้งที่ 2 วานนี้ 9 สิงหาคม 2559 โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากภาคสถาบันการเงิน และผู้ประกอบการ FinTech Startup
2. เนื่องจากกิจกรรมของชมรมมีเพิ่มขึ้นมาอีกมาก ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบแปรสภาพชมรมให้เป็น "สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย - Thai FinTech Association (TFTA)" เพื่อความเหมาะสมสำหรับการดำเนินงาน และจะเริ่มรับสมัครสมาชิกสมาคมฯ ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมนี้ โดยปัจจุบันชมรมฯ มีสมาชิกทั้งหมด 55 ราย ประกอบด้วยผู้ประกอบการ 31 ราย สถาบันการเงิน 9 ราย หน่วยงานกำกับดูแล 4 ราย (แบงค์ชาติ, กลต, คปภ, ตลท.), VC & Accelerator 4 ราย และคู่ค้าทางธุรกิจ 7 ราย
3. ทางชมรมได้กำหนดพันธกิจหลักคือ
3.1) การลดต้นทุนทางการเงิน และธุรกรรมทางการเงินของประเทศไทย
3.2) ช่วยให้คนไทยเข้าถึงบริการทางการเงินกว้างขวางมากยิ่งขึ้น
3.3) ส่งเสริมการแข่งขันอย่างโปร่งใสและยุติธรรมต่อผู้บริโภค และ
3.4) สนับสนุนให้ FinTech Startup ของไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
4. เป้าประสงค์ หรือสิ่งที่กำลังจะทำให้เกิดในระยะอันใกล้ของชมรม ได้แก่
4.1) เป็นหน่วยงานหลักในการจัดตั้ง National FinTech Sandbox (ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ) เพื่อเป็นตัวเร่งสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม FinTech และเป็นศูนย์บ่มเพาะหลักสำหรับผู้ประกอบการ
4.2) เป็นหน่วยงานหลักในการสร้าง FinTech Ecosystem ในประเทศไทย อันประกอบด้วย ผู้ประกอบการ FinTech, สถาบันการเงิน, หน่วยงานกำกับดูแล, ศูนย์บ่มเพาะ, VC, และคู่ค้าทางธุรกิจอื่น ๆ
4.3) จัดทำ National FinTech Roadmap (แผนพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคแห่งชาติ) ร่วมกับหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นแผนงานหลักในการพัฒนาอุตสาหกรร FinTech ของไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก
5. ทางชมรมฯ นำโดยรองประธาน ดร.การดี เลียวไพโรจน์แห่ง C asean ได้จัดให้มีคณะทำงานไปประชุมกับหน่วยงานหลักด้าน FinTech ของประเทศสิงค์โปร์ และมาเลเซียในช่วงเดือนตุลาคมนี้ เพื่อนำแนวทางที่น่าสนใจมาประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมฟินเทคบ้านเรา รวมถึงการประสานงานร่วมมือกับทั้งสองประเทศในการสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการ FinTech Startup ของประเทศไทยได้ขยายธุรกิจไปในระดับภูมิภาค
6. ทางชมรมฯ ได้ร่วมประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ในสัปดาห์ที่แล้ว และจะร่วมประชุมกับธนาคารแห่งประเทศไทยในสัปดาห์หน้า จุดประสงค์เพื่อสร้างเอกภาพในแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทค ที่มีหน่วยงานองค์กรกำกับดูแลหลายราย และหาแนวทางร่วมกันในการจัดตั้ง National FinTech Sandbox (ศูนย์ทดสอบและพัฒนาฟินเทคแห่งชาติ)
7. ทางชมรมฯ ได้กำหนด Slogan แล้วคือ "Transforming Finance for All" ซึ่งสะท้อนพันธกิจหลักของชมรมฯ ในการเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมฟินเทคซึ่งเป็น Mega Trend ของอุตสาหกรรมการเงินโลก โดยมุ่งหวังให้ประโยชน์เกิดกับผู้เกี่ยวข้องกับทุกฝ่าย โดยเฉพาะผู้บริโภคซึ่งหมายถึงคนไทยทุกคน
สำหรับกิจกรรมและความเคลื่อนไหวต่างๆ ของชมรมสามารถติดตามได้ที่ http://thaifintech.org
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด