ผู้ใช้งาน Twitter หลายคนคงจะคุ้นเคยกับการพบเห็นทวีตที่เป็นโพส์ในรูปแบบสแปม หรือการโพสต์ที่ประกอบด้วยรวมคีย์เวิร์ดเดิมซ้ำ ๆ ที่รบกวนการติดตามข่าวสารในชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคนี้ที่ปริมาณเนื้อหาข่าวสารบนโลกออนไลน์มีจำนวนมาก และคุณอาจต้องการเห็นหรือรับรู้เนื้อหาในที่คุณต้องการ แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าวันหนึ่งโพสต์เหล่านั้นถูกจำกัดการมองเห็นไปในที่สุด
ในช่วงที่ผ่านมาผู้คนเริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติบนหน้าไทม์ไลน์กันมากขึ้น เริ่มจากการถูกจำกัดการมองเห็นในบางโพสต์ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยม โดยมักจะเป็นโพสต์ที่มียอดรีทวิตหรือยอดการมีส่วนร่วมสูง
ดังนั้นทวิตเตอร์ได้ตั้งเป้าหมายที่จะให้ผู้ใช้งานได้รับข้อมูลที่น่าเชื่อถือและเป็นความจริงมากขึ้นผ่านกระบวนการกลั่นกรองดังกล่าว และปรับปรุงให้เป็นแพลตฟอร์มที่เต็มไปด้วยข้อความที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่น่าใช้งานมากยิ่งขึ้นอย่างสม่ำเสมอ โดยกฎข้อบังคับใหม่ที่ว่านี้ว่าด้วยเรื่องของการกำจัดแอคเคาท์บอท (Bot Accounts Removal), คำซ้ำ (Duplicate Content) หรือ ข้อความสแปม (Spam)
CopyPasta นั้นมาจาก Copy-and-Paste Functionality to Duplicate Content เป็นศัพท์แสลงของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งหมายถึง การพยายามที่จะคัดลอกเนื้อหาจากเจ้าของดั้งเดิมและแชร์ออกไปอย่างแพร่หลายในแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มอื่น ๆ
จากการประกาศทางระบบของทางทวิตเตอร์ได้นิยามว่า CopyPasta หมายถึง เนื้อหาที่ซ้ำซ้อน อันประกอบไปด้วย ข้อความ รูปภาพ วิดีโอ หรือเนื้อหาที่มาจากการคัดลอกและนำมาวางรวมกัน หรือการทำซ้ำด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม
แม้ว่า CopyPasta จะเป็นกลวิธีในการเผยแพร่ข้อความเพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย แต่จากการร้องเรียนของผู้ใช้งานทวิตเตอร์จำนวนมากมีการร้องเรียนถึงข้อความดังกล่าวที่เป็นข้อความรูปแบบที่เป็นสแปมบ่อยครั้ง ทำให้พฤติกรรมดังกล่าวกลายเป็นสิ่งที่ถูกพิจารณาเพื่อจัดระเบียบจากแพบตฟอร์ทไปโดยปริยาย ทั้งในการค้นหาคีย์เวิร์ด และบทสนทนาทั่วทั้งแพลตฟอร์ม อย่างไรก็ตาม CopyPasta นั้นไม่ได้ส่งผลให้มีการลบโพสต์นั้น ๆ หรือระงับการใช้บัญชีที่เป็นผู้โพสต์แต่อย่างใด
แต่ในบางกรณีของการใช้ CopyPasta ก็สามารถนำไปสู่กระบวนการระงับบัญชีถาวรได้ เช่น การนำระบบอัตโนมัติหรือการเขียนโค้ดสคริปต์มาใช้เพื่อโพสต์เนื้อหาที่ซ้ำกัน หรือในกรณีที่มีการใช้บัญชีเดียวหรือหลายบัญชีโพสต์เนื้อหาที่ซ้ำกัน ซึ่งส่งผลให้เกิดสแปมหรือการมีส่วนร่วมที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงการมีส่วนร่วมใน CopyPasta ซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อส่งเสริมเนื้อหาที่ละเมิดกฎอื่น ๆ ของทวิตเตอร์เป็นต้น โดยการมีส่วนร่วมที่ไม่ถูกต้องถือเป็นข้อปฏิบัติที่แพลตฟอร์มให้เป็นหลักการสำคัญ
เดิมทีมาตการของทวิตเตอร์นั้นมีการจัดการกับข้อความสแปม (Spam) หรือการคัดลอกทวีต แอคเคาท์ที่ไม่ได้รับการยืนยันตัวตน ด้วยการลบโพสต์นั้นอัตโนมัติ รวมถึงการระงับการใช้งานบัญชีชั่วคราวหรือถาวร ผ่านการรายงานจากผู้ใช้งานในหัวข้อ Suspicious or Spam ในหัวข้อต่าง ๆ เช่น บัญชีแปลกปลอม (Fake Account) , การแชร์ลิงก์ที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน (Scamming) , การโพสต์ข้อความสแปมในเทรนด์ (Hashtag) , การตอบกลับ (Reply) , การรีทวิต (Retweet) หรือ ชื่นชอบ (Like) เพื่อสแปม เป็นต้น
สำหรับนโยบายใหม่ในการจัดการกับ CopyPasta ของทวิตเตอร์ คือ การใช้งานอัลกอริทึมในการตรวจจับข้อความสแปม การคัดลอกโพสต์ และการโพสต์คำซ้ำกัน เพื่อที่จะลบโพสต์หรือลดการมองเห็นของการโต้ตอบ การรีทวิต และการชื่นชอบของโพสต์นั้นแบบอัตโนมัติ โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ใช้งานทำหน้าที่รายงานความผิดปกติด้วยตัวเอง
แน่นอนว่าการจัดการกับ CopyPasta นั้นจะช่วยให้สามารถขจัดความรำคาญของผู้ใช้งานทั่วไปต่อข้อความสแปมหรือแอคบอทไปได้เกือบ 100% แต่ผลจากนโนบายใหม่นี้ย่อมส่งผลกระทบโดยตรงต่อวงการโฆษณาออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการโปรโมทร้าน การโพสต์โฆษณาผลิตภัณฑ์ ที่จำเป็นสำหรับผู้ประกอบการทั้งแบรนด์ชั้นนำและผู้ประกอบการรายย่อยอื่น ๆ อย่างแน่นอน
ยกตัวอย่างการโฆษณาและการโปรโมทร้าน เช่นประโยคที่ว่า “ขออนุญาตฝากร้าน” นั้น เมื่อมีผู้ใช้งาน ทวิตเตอรรายงานทวีตหรือปรากฏประโยคดังกล่าวใน Mute Word มากเกินไป คำว่า “ขออนุญาตฝากร้าน” ก็จะถูกระบบของ Twitter ลดการมองเห็นหรือแบนคำไปในที่สุด และในกรณีที่คำ หรือประโยคใด ๆ ถูกโพสต์จากผู้ใช้งานคนเดียวกันอยู่บ่อยครั้งในส่วนของข้อความตอบกลับหรือการเมนชั่นคำและประโยคนั้น ๆ ก็จะถูกจำกัดการใช้งาน หรือแบนหายไปโดยอัตโนมัติ เป็นต้น
นอกจากจะมีผลกระทบกับกลุ่มผู้ประกอบการรายย่อยแล้ว นโยบายนี้ยังอาจส่งผลต่อการทำการตลาดในแพลตฟอร์มทวิตเตอร์อีกด้วย แม้ว่าบัญชีที่ใช้งานจะเป็นบัญชีอย่างเป็นทางการของหลาย ๆ แบรนด์ทั่วโลก แต่หากมีการตรวจพบคำซ้ำ หรือความผิดปกติใด ๆ ก็ย่อมจะต้องถูกเก็บกวาด ซึ่งนั้นหมายถึงความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการถูกลดการมองเห็นของทวีตนั้นเอง
อย่างไรก็ตามหากว่านโยบายการจัดการ CopyPasta นั้นทำให้เกิดปัญหาต่อผู้ใช้งานเป็นวงกว้างแล้ว การแก้ไขปัญหาของทวิตเตอร์ก็คงจะเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันต่อไป รวมถึงในอนาคตที่มีกระแสการเปิดตัว ‘Twitter Blue’ จะเปิดให้ใช้อย่างแพร่หลายแล้ว เราอาจจะได้เห็นฟีเจอร์การการปลดการแบนคำซ้ำต่าง ๆ สำหรับผู้ประกอบการก็เป็นได้
อ้างอิง Social Media Today
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด