Uber หันจับมือแท็กซี่ เปิดตัว 'uberTAXI' ในไทย คิดค่าบริการตามระยะทางและเวลาจริง

Uber ประเทศไทย จับมือกับ บริษัท โฮวา อินเตอร์เนชั่ลแนล จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสหกรณ์แท็กซี่สุวรรณภูมิ เปิดตัวบริการใหม่ในชื่อ uberTAXI เป็นประเทศที่ 7 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เริ่มให้บริการจริง 19 ธันวาคม นี้ เผยดึงทรัพยากรที่มีอยู่มาให้บริการเพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคยุคปัจจุบัน

หลังจากก่อนหน้านี้ Uber มีบริการ uberTAXI ในประเทศแถบภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ได้แก่ มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, พม่า, ไต้หวัน, กัมพูชา และ สิงคโปร์ ล่าสุดวันนี้ทาง Uber ประเทศไทยเปิดตัวบริการดังกล่าวอย่างเป็นทางการในประเทศไทย โดยร่วมมือกับบริษัท โฮวา อินเตอร์เนชั่ลแนล จำกัด ผู้ดำเนินกิจการสหกรณ์แท็กซี่สุวรรณภูมิ

โดยเราบริการนี้ จะสามารถใช้ผ่านแอพพลิเคชั่น Uber ได้ตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2560 เป็นต้นไป โดยเริ่มนำร่องให้บริการในกรุงเทพฯ ก่อนเป็นที่แรก

ซึ่งค่าโดยสารจะคำนวณอิงจากระยะทางและเวลาที่ใช้เดินทางจริง รวมกับการปรับราคาตามปริมาณความต้องการของผู้ใช้ในเวลานั้น ๆ โดยผู้โดยสารจะสามารถเห็นค่าใช้จ่ายในการเดินทางโดยประมาณได้ตั้งแต่ก่อนเรียกรถ และสามารถตรวจสอบค่าโดยสารจริงหลังการเดินทางได้จากเมนู 'การเดินทาง' ในแอพ ทั้งนี้ ซึ่งแท็กซี่จะไม่สามารถคิดค่าบริการเกินจากที่แอปกำหนดได้ ผู้โดยสารสามารถเลือกการชำระเงินได้ทั้งเงินสดหรือบัตรเครดิตก็ได้

คุณหัสดินทร์ เอี่ยมชีรางกูร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท โฮวา อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด เปิดเผยว่าทาง Howa มีเพื่อนสมาชิกแท็กซี่ที่ขึ้นทะเบียนอยู่ประมาณ 4,000 คันในกรุงเทพ ต่างให้ตอบรับเป็นอย่างดีกับการเข้าร่วมกับ Uber ในครั้งนี้

เชื่อว่าการให้ร่วมมือกับ Uber เพื่อให้บริการแท็กซี่ในครั้งนี้จะช่วยให้เกิดผลดีต่อผู้บริโภคที่จะมีทางเลือกและความสะดวกมากขึ้น ส่วนด้านผู้ขับแท็กซี่ก็จะได้ลูกค้ามาขึ้นแท็กซี่มากขึ้น ส่งผลให้ดีให้ผู้ขับแท็กซี่มีรายได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย

“การตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรกับ Uber บริษัทเทคโนโลยีร่วมเดินทางระดับโลกจะช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการให้บริการของเราและสมาชิก Howa ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นกว่าเดิม พร้อมไปกับภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสมาชิกแท็กซี่ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการทำงานอย่างชาญฉลาดอีกด้วย” คุณหัสดินกล่าว

ส่วนคุณศิริภา จึงสวัสดิ์ ผู้จัดการประจำประเทศไทย Uber ระบุว่าการร่วมมือกับ Howa ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทุกภาคส่วน รวมไปถึงหน่วยงานรัฐที่สนับสนุนให้แท็กซี่มีการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยให้คุณภาพชีวิตประชาชนดีขึ้น และมีการบริการที่ดีขึ้น โดย Uber มี Checklist คัดผู้ขับรถอย่างชัดเจน มีการตรวจสอบประวัติอาชญกรรมผู้ขับขี่ก่อนให้มาดำเนินการ รวมไปถึงมีการอบรมผู้ขับขี่เป็นระยะ ๆ

นอกจากนี้ Uber ยังยึดในข้อมูลที่เคยเผยว่าคนกรุงเทพเสียเวลาไปกับรถติดเฉลี่ย 24 วันต่อปี จึงมีเป้าหมายที่จะให้บริการร่วมเดินทางจากทรัพยากรที่มีอยู่แล้ว  เพืื่อเป็นตัวเลือกให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ตามความเหมาะสม และเพื่อลดจำนวนรถบนท้องถนนให้ลดลงไป 60% จากจำนวนเดิม เพื่อปลดล็อคให้เมืองกรุงเทพเป็นเมืองที่รถติดน้อยลง จึงไม่ได้มองว่าการเปิดบริการอีกตัวขึ้นมาจะไปแข่งกับบริการเดิมที่ Uber มีอยู่ แต่เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภค

“ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ Uber เปิดให้บริการในเมืองไทย เรามีความเข้าใจตลาดและพยายามอย่างต่อเนื่องที่จะขยายเครือข่าย Ride sharing ให้สามารถเข้าถึง และเอื้อประโยชน์ต่อทุกคนในระบบนิเวศด้านบริการการเดินทาง รวมถึงพยายามร่วมมือกับภาครัฐและทุกภาคส่วน ทำให้เราตัดสินใจเปิดบริการนี้ขึ้นในประเทศไทย เพราะเชื่อว่าบริการใหม่นี้จะส่งผลดีต่อเมือง พาร์ทเนอร์ร่วมขับ และผู้ร่วมนั่ง ในเรื่องความปลอดภัย สะดวกสบาย และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ” คุณศิริภา กล่าว

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเทคโนโลยีของ Uber จะช่วยให้คนขับแท็กซี่สร้างรายได้มากยิ่งขึ้น โดยเราพร้อมจับมือกับแท็กซี่ทุกคัน ไม่ว่าจะเป็นแท็กซี่ส่วนบุคคลหรือแท็กซี่ภายใต้สหกรณ์ที่มีความสนใจและมีความตั้งใจในการให้บริการที่ดี เรายินดีที่จะสนับสนุนการยกระดับมาตรฐานการเดินทางในประเทศไทยต่อไป” คุณศิริภา กล่าวปิดท้าย

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมดุสิตธานีขาดทุน 5 ปี เปิดเบื้องหลังที่คนไม่รู้ กับแผนยอมเจ็บเพื่อ Reset ธุรกิจ

เปิดเบื้องหลัง 5 ปีที่ดุสิตธานีขาดทุนและไม่จ่ายปันผล กับแผนรีเซตองค์กรครั้งใหญ่ สู่การเติบโตระยะยาวผ่านโครงการ Dusit Central Park และกลยุทธ์กระจายความเสี่ยง...

Responsive image

เทคโนโลยีใหม่! แค่ตรวจเลือดก็รู้ผลอัลไซเมอร์ได้แบบไม่ต้องสแกน

การวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์อาจไม่ต้องพึ่ง PET scan หรือการเจาะน้ำไขสันหลังอีกต่อไป! เพราะตอนนี้มีการตรวจเลือดแบบใหม่ ที่ใช้วัดสัดส่วนของโปรตีนในเลือด ที่สามารถบอกได้ว่าผู้ป่วยมีแนวโน้...

Responsive image

งานเข้า! งานวิจัย Stanford ชี้ Chatbot 'นักบำบัด' ไม่ได้ฮีลใจ แต่กำลังพาไปสู่หายนะ

ผู้คนหันมาใช้ Chatbot เป็น 'นักบำบัด' มากขึ้น แต่เทคโนโลยีพร้อมสำหรับบทบาทนี้แล้วหรือยัง? งานวิจัยล่าสุดจาก Stanford ฟันธงว่า 'ยังไม่พร้อมอย่างสิ้นเชิง' สำหรับความรับผิดชอบนี้...