โครงการ 'U.REKA' เผยรายชื่อ 11 ทีมเข้ารอบ Incubation บ่มเพาะ Deep Tech ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ | Techsauce

โครงการ 'U.REKA' เผยรายชื่อ 11 ทีมเข้ารอบ Incubation บ่มเพาะ Deep Tech ตอบโจทย์อุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ

 

เดินหน้าอย่างต่อเนื่อง สำหรับโครงการ U.REKA ที่จัดขึ้นภายใต้ความร่วมมือของ Digital Ventures, Microsoft ประเทศไทย, The Knowledge Exchange of Innovation (KX), สถาบันอุดมศึกษา และองค์กรเอกชนภาคอุตสาหกรรม ที่ร่วมกันสนับสนุนผู้สนใจคิดค้นนวัตกรรมจากเทคโนโลยีขั้นสูงหรือ Deep Technology เพื่อพัฒนาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อนำออกสู่ตลาดได้จริง โดยล่าสุดทางโครงการ U.REKA ได้ประกาศรายชื่อ 11 ทีมสุดท้ายที่ได้เข้าสู่ขั้น Incubation เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

 

นายอรพงศ์ เทียนเงิน ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ดิจิทัล เวนเจอร์ส จำกัด กล่าวว่าเป็นเรื่องน่ายินดีที่เห็นผู้เข้าร่วมโครงการหลากหลายด้านรวมตัวกันมาสมัครเข้าร่วมโครงการ U.REKA มากถึง 63 ทีม จากสถาบันการศึกษาชั้นนำทั้งไทย และต่างประเทศ พร้อมกับมี 32 ทีมได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมกิจกรรม Ideation Bootcamp เป็นเวลา 3 วัน เพื่อรับโจทย์ในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะแก้ปัญหาให้กับ 3 ธุรกิจหลัก ได้แก่ การเงิน การท่องเที่ยว และการค้าปลีก โดยอาศัยเทคโนโลยีชั้นสูงช่วยผลักดันการแก้ปัญหา ซึ่งหลังจากการคัดเลือกที่เข้มข้นตลอด 3 วัน เราได้ประกาศรายชื่อ 11 ทีมสุดท้ายที่ผ่านการคัดเลือกเข้าสู่ช่วง Incubation ของโครงการ โดยแต่ละทีมจะได้รับเงินทุนตั้งต้นจำนวน 200,000 บาทเพื่อใช้สำหรับการพัฒนาเทคโนโลยีในช่วง 3 เดือนของ Incubation ซึ่งทุกทีมมาพร้อมกับไอเดียเริ่มต้นที่ดี หากนวัตกรรมที่พวกเขาช่วยกันคิดค้นขึ้นได้รับการพัฒนาจนได้นำออกมาใช้จริง เรามั่นใจว่าจะมีส่วนช่วยให้ภาคธุรกิจต่างๆ พัฒนาไปอย่างรุดหน้า ทั้งยังเป็นการสร้างการเติบโตและการพัฒนาให้กับประเทศไทยในภาพรวมอีกด้วย

11 ทีมที่ผ่านเข้ารอบ Incubation ในโครงการ U.REKA  ได้แก่

  • AIM Global Innovation กับเทคโนโลยีหุ่นยนต์ เพื่อนผู้สูงอายุ ที่พัฒนาขึ้นเพื่อฝึกความคิดและความจำของผู้สูงวัย (Cognitive Training) พร้อมสามารถเรียนรู้พฤติกรรมมนุษย์ และตอบสนองทางอารมณ์ได้ด้วยเทคโนโลยี AI ช่วยลดอาการสมองเสื่อม พร้อมมีระบบเฝ้าระวังให้ลูกหลานสามารถติดตามผู้สูงอายุได้อีกด้วย
  • Easy Rice กับเครื่องตรวจสอบคุณภาพข้าวอัตโนมัติที่จะนำอุตสาหกรรมข้าวไทยสู่ดิจิทัลผ่านเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและเสถียรภาพในการตรวจสอบคุณภาพข้าว โดยใช้ Big Data และ AI ในการแยกลักษณะจำเพาะของเมล็ดข้าว
  • InThai กับซอฟต์แวร์วิเคราะห์ภาษาไทยตามความต้องการขององค์กรซึ่งวิเคราะห์และประมวลภาษาโดยใช้เทคโนโลยี AI เพื่อใช้วิเคราะห์ภาษาไทยโดยตรง เป็นประโยชน์ทั้งสำหรับองค์กรต่าง และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีความเกี่ยวข้องกับการนำข้อมูลจากการวิเคราะห์ภาษาไทยไปใช้
  • Kadyai กับแพลตฟอร์มต้านการขาดทุนของเกษตรกรซึ่งใช้เทคโนโลยีด้าน Internet of Things, Big Data Analytic และ AI เป็นตัวช่วยเกษตรกรในการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ และใช้ประโยชน์ได้จริงทั้งด้านการเพาะปลูกและการตลาด และช่วยให้ผู้รับซื้อผลผลิตและผู้บริโภคติดต่อเกษตรกรได้ง่ายขึ้น ในราคาที่ถูกลงแต่คุณภาพดีขึ้น
  • Perception กับนวัตกรรมฉายภาพเสมือนจริงตอบทุกโจทย์ธุรกิจอุปกรณ์แบบใหม่ที่ฉายรูปภาพเสมือนบนจอคอมพิวเตอร์และแว่นตาแบบใหม่มีขนาดเล็กใช้งานสะดวกคล้ายกับการใส่แว่นสายตาทั่วไป สามารถแสดงภาพสามมิติที่ผู้ใช้สามารถมองดูวัตถุเหล่านั้นได้จากหลายด้าน เสมือนมีวัตถุลอยอยู่ตรงหน้าจริง
  • QuTE กับนวัตกรรมควอนตัมคอมพิวเตอร์ที่สุดแห่งความก้าวหน้าของระบบประมวลผลข้อมูล ซึ่งทีม QuTE มุ่งหวังจะพัฒนาความรู้เกี่ยวกับกระบวนการประมวลผลข้อมูลเชิงควอนตัมโดยการศึกษาข้อมูล ทำการทดลองและวิจัย เพื่อสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ในด้านดังกล่าวออกไปในวงกว้างโดยไม่แสวงหากำไร
  • TinyEpicBrains กับ “VideoQR: QR Code ในวิดีโอรูปแบบใหม่ที่ไม่ปรากฏบนหน้าจอนวัตกรรมการสแกนเพื่อเข้าถึงข้อมูลจากวิดีโอโดยตรงโดยไม่ต้องถูกกำจัดพื้นที่เพื่อใช้แสดง QR code ซึ่งช่วยลดต้นทุนการซื้อสื่อโฆษณา สร้างความแปลกใหม่ให้กับอุตสาหกรรม และเพิ่มความสามารถในการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคโดยตรง
  • TrueEye กับแอพพลิเคชั่นช่วยวินิจฉัยโรคเบื้องต้นจากภาพถ่ายดวงตา เพื่อช่วยแพทย์ในการวินิจฉัยโรคเบื้องต้นผ่านการถ่ายภาพดวงตาของผู้ป่วย ก่อนนำข้อมูลไปประมวลผลผ่านการวิเคราะห์จากฐานข้อมูลที่มี โดยใช้เทคโนโลยี AI และ Internet of Things เป็นตัวช่วย ใช้ได้กับบุคคลทั่วไป ผู้ป่วย และผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรัง
  • EATLAB กับเทคโนโลยีวัดความสุขของผู้บริโภคเพื่อผลักดันอุตสาหกรรมอาหารไทยโดยเป็นการพัฒนาแพลตฟอร์มที่ใช้เทคโนโลยี Big Data และ AI บนโต๊ะอาหารอัจฉริยะในการบันทึกพฤติกรรมผู้บริโภคระหว่างการรับประทานอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจและคาดการณ์ยอดขายล่วงหน้าพร้อมคำนวณปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อยอดขาย
  • Xplorer กับแพลตฟอร์มวิเคราะห์ข้อมูลผู้บริโภคด้วย AI และ AR” เพื่อเพิ่มความสะดวกสบายในการจับจ่ายสินค้า ด้วยนวัตกรรม AI ร่วมกับเทคโนโลยี AR เพื่อให้ผู้ขายได้ข้อมูลผู้บริโภคที่ผ่านการวิเคราะห์ในเชิงลึกพร้อมนำทางผู้บริโภคไปยังหน้าร้านที่ขายสินค้านั้น ส่งผลดีทั้งต่อความรู้สึกพึงพอใจและประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้า
  • พอดีคำ.AI กับจูนใจ” (TuneJai) ระบบ AI เพื่อดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าครบวงจรรายแรกของไทย โดยสามารถดูแลผู้ที่มีภาวะซึมเศร้าครบวงจรด้วย AI ร่วมกับศาสตร์ด้านจิตวิทยา ผ่านการสนทนาโต้ตอบอัตโนมัติ (Chatbot) เพื่อการคัดกรองและประเมินสภาวะทางจิตใจ ปรับมุมมองความคิดและอารมณ์ ไปจนถึงการพูดคุยเพื่อการบำบัดกับนักจิตวิทยา

โครงการ U.REKA แบ่งได้เป็น 3 ระยะโดยเริ่มจาก ระยะที่ 1 Ideation Bootcamp และ Incubation การสำรวจโอกาสและกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology) เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว การค้าปลีก การเงินและการบริการ และอื่นๆ โดยฟูมฟักความเป็นไปได้ของไอเดียหรือโซลูชั่นเพิ่มเติมในมิติของเทคโนโลยีและธุรกิจเพื่อพัฒนาความคิดเบื้องต้นให้สมบูรณ์แบบเป็นเวลา 3 เดือน โดยในระยะนี้ U.REKA ได้คัดเลือกทีมที่สมัครเข้ามา 63 ทีมจนเหลือทีมที่ผ่านเข้ารอบ Incubation จำนวน 11 ทีมที่ได้รับมอบเงินทุนตั้งต้นจำนวน 200,000 บาทไปพัฒนาและต่อยอดไอเดีย

ระยะที่ 2 R&D ระยะเวลาของการวิจัยและพัฒนาสินค้าจริงในระดับเริ่มภายในเวลา 8-36 เดือน เพื่อให้ทีมได้ใช้เวลาศึกษาพัฒนาและทดลองโครงการของตนเอง เพื่อสร้างโมเดลทางธุรกิจและการตลาดที่ชัดเจน สามารถพัฒนาสินค้าหรือบริการที่ใช้ได้จริงในระดับเริ่มต้น รวมทั้งดำเนินการจดสิทธิบัตร โดยได้รับการสนับสนุนด้านที่ปรึกษาและเงินทุนวิจัยเพื่อพัฒนาตามความก้าวหน้า (progressive funding) จำนวน 3-6 ล้านบาท

ระยะที่ 3 Acceleration เป็นการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมจริงโดยการออกแบบสินค้าเพื่อการผลิตในปริมาณมาก ก่อนส่งออกสู่ตลาด และมีการระบุช่องทางการจัดจำหน่ายกับกลุ่มลูกค้าและคู่ธุรกิจ โดยในระยะนี้ สตาร์ทอัพที่ผ่านเข้ารอบจะได้รับการสนับสนุนและบ่มเพาะในด้านต่างๆ เป็นระยะเวลา 6 เดือน เพื่อให้สามารถขยายธุรกิจอย่างก้าวกระโดด นอกจากนี้แต่ละทีมยังมีสิทธิ์ได้รับข้อเสนอเงินลงทุนสูงสุดถึง 10 ล้านบาทเมื่อสิ้นสุดโครงการ

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

DOGE คืออะไร Elon Musk ทำอะไรในหน่วยงานนี้ ? เปิดหน่วยงาน (ไม่) ลับของ Musk ในทำเนียบขาว

Elon Musk ในตอนนี้ไม่ใช่ CEO บริษัทเทคฯ ที่มีมูลค่าติดท็อปโลกธรรมดา เพราะภายใต้คณะที่ปรึกษาชุดใหม่ที่จัดตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ Musk คือ ‘พนักงานพิเศษของรั...

Responsive image

แกร็บ (Grab) ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ขึ้นแท่นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่

แกร็บ (Grab) ผู้นำซูเปอร์แอปแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศแต่งตั้ง นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เ...

Responsive image

SIAM AI เผยโฉม GB200 NVL72 ครั้งแรกในเอเชีย รองรับการประมวลผลขั้นสูงของ AI

SIAM AI บริษัท สยาม เอไอ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ผู้ให้บริการ SIAM AI Cloud เปิดตัว NVIDIA GB200 NVL72 ที่แรกในเอเชีย เพื่อรองรับการประมวลผลขั้นสูงของระบบปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงรองรับการข...