เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 และ เครื่องมือดิจิทัลทางการแพทย์ | Techsauce

เทคโนโลยีสุขภาพในยุค 4.0 และ เครื่องมือดิจิทัลทางการแพทย์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประกวด Tech Saucier of The Year 2018 โดยเภสัชกรวิรุณ  เวชศิริ 

เครื่องมือดิจิทัลทางการแพทย์

ในปัจจุบันประชาชนไทยแทบจะทุกคนมีโทรศัพท์มือถือเป็นเครื่องมือสื่อสารประจำกาย การเพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานบางอย่างด้วยวิธีการติดตั้งแอปพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นจึงเป็นง่ายที่สุดที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือช่วยเหลือทางการแพทย์จำนวนไม่น้อยได้ ซึ่งไม่เพียงแค่แอปพลิเคชันเท่านั้นที่สร้างความเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ (IoT (Internet of Thing) หรือ อุปกรณ์ติดตามตัว (wearable) และเครือข่ายการสื่อสารต่างๆ เข้าด้วยกัน วงการแพทย์ได้เรียกเทคโนโลยีนี้ว่า “Digital Health” ซึ่งเป็นการสร้างการเชื่อมต่อข้อมูลสุขภาพเข้ามาระหว่างกัน นำมาแสดงผลและประมวลเพื่อให้เกิดประโยชน์ด้านสุขภาพสูงสุด

ดังรูปแบบของภาพด้านล่างซึ่งเป็นบริการที่เป็นส่วนประกอบของ Digital Health

จากข้อมูลโดย IQVIA ในปี 2017 พบว่า ในปัจจุบันมีแอปพลิเคชันด้านสุขภาพกว่า 318,000 แอปพลิเคชั่น กว่าร้อยละ 56 เป็นภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียว (ซึ่งค่อนข้างจะลำบากในการนำมาใช้กับประเทศที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษเป็นหลัก เช่นประเทศไทย) ซึ่งแสดงให้เห็นว่ายังคงมีช่องว่างอีกไม่น้อยสำหรับผู้พัฒนาแอปพลิเคชั่นในประเทศไทย

อย่างไรก็ดี ในบรรดาแอปพลิเคชันด้านสุขภาพดังกล่าว มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้น ที่มียอด download มากกว่า 5,000 ครั้ง ซึ่งมีเพียง 41 แอปฯ เท่านั้นที่มียอด download เกิน 10 ล้านครั้ง ซึ่งทำให้เห็นว่า การสร้างแอปแล้วยืนอยู่ได้ในระดับโลกนั้นไม่ง่ายเลย โดยแอปพลิเคชันส่วนใหญ่นั้นจะอยู่ในหมวดหมู่ “Wellness Management” หรือ การจัดการดูแลสุขภาพ เช่น ใช้เพื่อการออกกำลังกาย การจัดการอาหาร การจัดการความเครียด ในขณะที่หมวดหมู่ “Health Condition Managment” หรือ แอปพลิเคชันที่ช่วยจัดการโรคเช่น แอปฯ สำหรับโรคเฉพาะ เช่น ปัญหาจิตใจ เบาหวาน ปัญหาโรคหลอดเลือดหัวใจ ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ มะเร็ง เตือนการทานยา ฯลฯ ก็มีอัตราการเติมโตที่สูงมากในช่วงสองสามปีนี้

ภาพด้านล่าง แสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของแอปฯ จัดการโรค โดยจะพบว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มการจัดการปัญหาทางใจและพฤติกรรมต่างๆ แอปพลิเคชันช่วยจัดการโรคเบาหวาน

โรคหัวใจและหลอดเลือด ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อ มะเร็ง ระบบทางเดินหายใจ (เช่น โรคหอบหืด) เป็นต้น

ทั้งนี้การนำอุปกรณ์สวมใส่ (Wearable/ Sensor) มาใช้ร่วมกันกับแอปพลิเคชั่นในมือถือ ก็ทำให้เพิ่มช่องทางการเก็บข้อมูลสุขภาพและสัญญาณชีพต่างๆ ยกตัวอย่างเช่น การเก็บการเคลื่อนไหว ทำให้สามารถเก็บ จำนวนก้าว, ระยะเวลาออกกำลังกาย, เวลานอนได้ การเพิ่มเซนเซอร์พิเศษบางชนิดทำให้สามารถเก็บอัตราการเต้นของหัวใจ, ความดัน, ความเข้มข้นออกซิเจน (SpO2), ปริมาณไขมันในร่างกาย, อุณหภูมิผิวหนัง (SKT), ระดับความเครียด (EDA) ได้ การใช้กล้องของมือถือ หรือ เพิ่มกล้อง ทำให้สามารถตรวจจับการกินยาของคนไข้ เพื่อยืนยันถึงการกินยา (Adherent) ของคนไข้ได้ การใช้กล้องคู่กับแฟลชทำให้สามารถตรวจจับชีพจร, จังหวะการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติได้ (atrial fibrillation) การเพิ่ม Gyroscope เข้าไปในอุปกรณ์ ทำให้สามารถตรวจการล้มของผู้สวมใส่ได้ (ยกตัวอย่างเช่นที่ apple watch นำมาใส่และสามารถตั้งเตือนการตอบสนองได้และเรียกรถพยาบาลจากโรงพยาบาลที่ตั้งค่าไว้ก่อนแล้วได้) นอกจากนั้นยังสามารถใช้คู่กับอุปกรณ์เชื่อมต่อเพิ่มเติมที่ได้รับอนุมัติจาก FDA ในกลุ่ม Digital Sensors ต่างๆ ซึ่งใช้เปลี่ยนเครื่องมือทางการแพทย์ธรรมดาให้กลายเป็น smart device เช่น เครื่องพ่นยาหอบหืด (Inhalers) , ปากกาฉีดอินซูลิน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนา Digital Biomarkers ที่ใช้ติดตามผลลัพธ์ในการรักษาได้

ผู้อ่านสามารถติดตามบทความก่อนหน้าได้โดย คลิกที่นี่

ภาพ Cover โดย TheeLeader.com

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek จากอดีตเฮดจ์ฟันด์ สู่ผู้ท้าทายยักษ์ใหญ่ AI โลก

รู้จัก เหลียง เหวินเฟิง ผู้อยู่เบื้องหลังของ DeepSeek จากอดีตผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟันด์ สู่ CEO และผู้ก่อตั้ง Deepseek ที่พกความมุ่งมั่นและวิสัยทัศน์เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งส...

Responsive image

เปิดลิสต์ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC สนใจมากที่สุดในปี 2025

ค้นพบ 3 ประเภท AI Startup ที่นักลงทุน VC ให้ความสนใจในปี 2025 ตั้งแต่โซลูชัน AI เฉพาะด้าน โครงสร้างพื้นฐาน AI ไปจนถึงระบบที่น่าเชื่อถือและยืดหยุ่น พร้อมโอกาสใหม่ในการสร้างธุรกิจที่...

Responsive image

วิเคราะห์บทบาท AI ด้านเศรษฐกิจและสังคม ผ่านมุมมองผู้เชี่ยวชาญจาก AI House ที่ดาวอส

ในการประชุม World Economic Forum (WEF) ที่จัดขึ้นที่ Davos นั้นหัวข้อสำคัญที่ได้รับความสนใจอย่างมากคือบทบาทของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขามาร่วมพูดคุยถึง...