5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียวในปี 2565 จากศูนย์วิจัยเทเลนอร์ | Techsauce

5 เทรนด์เทคโนโลยีที่จะเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียวในปี 2565 จากศูนย์วิจัยเทเลนอร์

ศูนย์วิจัยเทเลนอร์ คาดการณ์ 5 ความก้าวหน้าสำคัญทางเทคโนโลยีของโลก ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลแบบ Edge บนเครือข่าย 5G, นวัตกรรมด้านพลังงาน, ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าถึงง่ายขึ้น, Greenfluener และความเหลื่อมล้ำจากคนรุ่นโควิด-19 ท่ามกลางเมกะเทรนด์สำคัญอย่างการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว หลังผู้เชี่ยวชาญชี้สภาวะโลกร้อนยังเลวร้ายได้อีก

ศูนย์วิจัยเทเลนอร์ คาดการณ์ 5 ความก้าวหน้าสำคัญทางเทคโนโลยีของโลก ได้แก่ การประมวลผลข้อมูลแบบ Edge บนเครือข่าย 5G, นวัตกรรมด้านพลังงาน, ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้าถึงง่ายขึ้น, Greenfluener และความเหลื่อมล้ำจากคนรุ่นโควิด-19 ท่ามกลางเมกะเทรนด์สำคัญอย่างการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียว หลังผู้เชี่ยวชาญชี้สภาวะโลกร้อนยังเลวร้ายได้อีก

เมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา โลกได้ส่งสัญญาณถึงภาวะโลกร้อนรุนแรง โดยอุณหภูมิโลกทำสถิติใหม่เป็นประวัติการณ์ ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความท้าทายที่เพิ่มสูงขึ้นต่อมนุษย์ สัตว์ป่า และธรรมชาติ แม้จะยังไม่เห็นแสงสว่างที่ปลายอุโมงค์นัก แต่ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลในอัตราเร่งจะยังคงมีความหวังต่อการรักษาโลก

“ผู้คนทั่วโลกต่างตื่นตัวกับสถานการณ์โลกร้อนที่เลวร้ายลงและต้องการหาทางออกให้กับสภาพอันเลวร้าย แต่ในมุมมองของเทเลนอร์ สิ่งสำคัญก็คือการทำความเข้าใจถึงบทบาทของเทคโนโลยีทั้งในแง่ผลกระทบด้วยตัวมันเอง และการใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาทางสิ่งแวดล้อมนั้นด้วย” คุณบียอน ทาล เเซนเบิร์ก ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทเลนอร์ กล่าว

สำหรับรายงาน Tech Trend ปีที่ 7 โดยศูนย์วิจัยเทเลนอร์ ทีมงานได้คาดการณ์ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนผ่านสู่โลกสีเขียวได้อย่างยั่งยืน ซึ่งถือเป็นเมกะเทรนด์สำคัญของโลกปี 2565 พร้อมทั้งหัวข้อสำคัญอย่าง Great Resignation อันเป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19

Green Clouds

ด้วยการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลของสังคมเดินหน้าอย่างรวดเร็วด้วยอัตราเร่ง ทำให้อัตราการรับส่งข้อมูล (Cloud computing) เพิ่มขึ้นอย่างทวีคูณ ทั้งนี้ การรับส่งข้อมูลจะเกิดขึ้นได้ต้องใช้ “พลังงาน” เป็นปัจจัยสำคัญ จากข้อมูลระบุว่า ดาต้าเซ็นเตอร์ทั่วโลกใช้พลังงานคิดเป็นสัดส่วนราว 1% ของการใช้พลังงานไฟฟ้าของทั้งโลก ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูง อย่างไรก็ตาม ข่าวดีคือ โลกกำลังมีนวัตกรรมที่เรียกว่า Edge Computing ที่ทำให้การประมวลผลข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทางข้อมูลใกล้กันมากขึ้น ทำให้การประมวลผลเร็วขึ้น และแน่นอนว่าใช้พลังงานน้อยลง

ศูนย์วิจัยฯ คาดว่าเครือข่าย 5G ทั่วโลกจะค่อยๆ ประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Edge Computing ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงโฟลวของการสื่อสารที่เดิมข้อมูลจะถูกกำหนดให้ประมวลผลที่ระบบคลาวด์กลางแห่งเดียวเท่านั้น แต่เทคโนโลยีใหม่นี้จะเปลี่ยนไปประมวลผลที่ดาต้าเซ็นเตอร์ย่อย (Edge data center) และด้วยโฟลวการส่งต่อข้อมูลรูปแบบใหม่นี้ ทำให้สามารถเลือกใช้พลังงานที่ผลิตขึ้นอย่างหลากหลายได้ เช่น พลังงานลม พลังงานความร้อนส่วนเกิน เป็นต้น

“เราเชื่อว่าประสิทธิภาพการใช้พลังงานของดาต้าเซ็นเตอร์ด้วยระบบ Edge บนเครือข่าย 5G จะได้รับความนิยมขึ้นรวดเร็ว และการใช้พลังงานในส่วนของดาต้าเซ็นเตอร์จะมีประสิทธิภาพขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ” คุณแซนเบิร์ก กล่าว

ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนเข้าถึงง่ายขึ้น

ด้วยโลกการทำงานที่ต้องการให้พนักงานของตัวเองต้องมีการพัฒนาทักษะของตนเองอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศจะเป็นตัวจุดชนวนให้ผู้คน ธุรกิจ และสังคม ปรับตัวและเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืน นอกจากนี้ นโยบายและกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เคร่งครัดขึ้นจะเป็นปัจจัยสร้างความต้องการในตลาดแรงงานที่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม

“หลายๆ บริษัทจะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อให้สอดความกับแนวโน้มของโลกธุรกิจที่ต้องปรับตัวอย่างรวดเร็วและตอบสนองกับความต้องการของพนักงานในองค์กรผ่านคอร์สความรู้สั้นๆ ที่เรียกว่า Micro-degree ซึ่งหากบริษัทหรือองค์กรใดไม่สามารถตอบโจทย์ดังกล่าวได้ จะทำให้องค์กรนั้นไม่ดึงดูดคนเก่งใหม่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรได้” คุณแซนเบิร์ก อธิบาย

ดังนั้น ศูนย์วิจัยจึงมองว่าหลักสูตรหรือข้อมูลความรู้เกี่ยวกับกระแสความยั่งยืนและสิ่งแวดล้อมจะเพิ่มขึ้นอย่างมากในเว็บไซต์เรียนออนไลน์ต่างๆ เช่น Coursera, LinkedIn Learning, Udacity และ Khan Academy ซึ่งปัจจุบันหลายหน่วยงานได้พัฒนาและนำเสนอหลักสูตรดังกล่าวอยู่แล้วบนออนไลน์ เช่น UNESCO ในขณะเดียวกัน สถาบันการศึกษาต่างๆ จะพัฒนาหลักสูตรโปรแกรมที่เกี่ยวข้องกับความยั่งยืนมากขึ้น

ประสิทธิภาพด้านพลังงานของอุปกรณ์ไฟฟ้าสูงขึ้น

 ในขณะที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และโซลูชันต่างเอื้อให้มนุษย์มีชีวิตที่สะดวกสบายมากขึ้น แต่องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ได้เรียกร้องให้ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีประสิทธิภาพเชิงพลังงานมากขึ้น

“ปัจจุบัน อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้ามีจำนวนมากกว่าประชากรโลกถึง 4 เท่า และมีแนวโน้มที่สูงขึ้นอย่างมากในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงาน เราจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากทุกเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประสิทธิภาพการใช้พลังงานของอุปกรณ์ที่มีอยู่”

ตัวอย่างเช่น การแข่งขันพัฒนาชิปเซ็ต (Chipset) ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการใช้พลังงานของอุปกรณ์นั้นๆ อย่างในกรณีของ Apple นั้นได้มีการพัฒนาชิปคอมพิวเตอร์รุ่น M1 ซึ่งศูนย์วิจัยฯ คาดว่าการพัฒนาดังกล่าวจะเกิดขึ้นในตลาดคอมพิวเตอร์เป็นตลาดแรกๆ ก่อให้เกิดผลดีทั้งในแง่การใช้พลังงานและความอึดของแบตเตอรี่

“ในอนาคต จะมีผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุ่มเม็ดเงินลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาประสิทธิภาพพลังงานมากยิ่งขึ้น” นายแซนเบิร์ก กล่าว

การกำเนิดขึ้นของ Greenfluencer

 ในขณะที่โซเชียลมีเดียส่วนใหญ่มีจุดประสงค์เพื่อความบันเทิง แต่การใช้โซเชียลมีเดียเพื่อการขับเคลื่อนและเปลี่ยนแปลงสังคมมีให้เห็นมากยิ่งขึ้น ในปี 2565 ศูนย์วิจัยเทเลนอร์คาดการณ์ว่าจะมีแรงขับเคลื่อนทางสังคมผ่านโซเชียลมีเดีย เพื่อการเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย สร้างการรับรู้ด้านสิ่งแวดล้อม ท่ามกลางความผิดหวังจากผลการประชุมรัฐภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ครั้งที่ 26 (COP26) และรายงานฉบับล่าสุดว่าด้วยสถานะของวิกฤติภูมิอากาศโดยการประเมินของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ที่ไม่สู้ดีนัก โดยระบุว่าสภาวะโลกร้อนจะ “เลวร้ายลง” อีก

“เหล่าอินฟลูเอนเซอร์จำนวนหนึ่งค่อยๆ สร้างการรับรู้เกี่ยวกับวิกฤตสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศ (Greenfluencer) ที่เลวร้ายลงผ่านโซเชียลมีเดียที่มีเฉพาะกลุ่ม และเราเชื่อว่าจำนวนผู้ติดตามก็จะเพิ่มมากขึ้นตามฐานความนิยมนั้นๆ”

เขายังเชื่ออีกว่า เหล่าอินฟลูเอนเซอร์ไม่ว่าจะสายอาหาร แฟชั่น บิวตี้ หรือสายสุขภาพ จะเข้ามาผสมโรงตีเนื้อหาแนวรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในแง่การตลาดและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

“อินฟลูเอนเซอร์ที่ผลิตเนื้อหาโดยไม่เกี่ยวกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อมจะถูกมองว่าล้าสมัย ในทางกลับกัน แฟนๆ จะเข้าหาและติดตามอินฟลูเอนเซอร์ที่มุ่งสร้างการรับรู้แนวรักษ์โลก เช่นเดียวกับนักการตลาดที่จะเปลี่ยนไปในทิศทางเดียวกัน" นายแซนเบิร์ก อธิบาย 

ให้ความใส่ใจกับพนักงานยุคโควิด-19 เป็นพิเศษ

 การทำงานที่บ้านกลายเป็นความปกติใหม่ แม้ว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจะส่งผลบวกต่อสิ่งแวดล้อมและสภาวะอากาศ เนื่องด้วยการเดินทางที่ลดลง แต่จากผลวิจัยระบุว่า สิ่งนั้นไม่ได้เป็นผลดีสำหรับทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ท่ามกลางการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างต่อเนื่อง คนรุ่นใหม่ที่ว่าอาจเรียกได้ว่าเป็น Lost Generation เป็นกลุ่มที่เผชิญกับความยากลำบากในการทำความรู้จักและสร้างเครือข่าย ทำความเข้าใจกับภาษาและวัฒนธรรมขององค์กร แม้จะมีช่องทางออนไลน์ให้สื่อสาร จนอาจทำให้เกิดปรากฏการณ์ “การลาออกระลอกใหญ่” (Great Resignation) แต่นั่นถือเป็นความท้าทายอย่างยิ่งสำหรับการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ด้วยกัน

“จากผลกระทบจากความเหลื่อมล้ำของคนรุ่นโควิด-19 หลากบริษัทหลายองค์กรจะประสบปัญหากับการไหลออกของคนรุ่นใหม่ที่แม้แต่การเตรียมความพร้อม (On-boarding) ก็ยังไม่เคยได้รับ เว้นเสียแต่องค์กรจะมีผู้นำที่ดี” คุณแซนเบิร์ก กล่าว 

ศูนย์วิจัยฯ มีข้อแนะนำ 3 ประการที่จะช่วยให้องค์กรนำพาคนรุ่นใหม่เปลี่ยนผ่านสู่อนาคตแห่งโลกการทำงาน ได้แก่

  • สุขได้ในที่ทำงาน จัดกิจกรรมที่ทำให้คนในแต่ละรุ่นขององค์กรมาร่วมกันพูดคุย อภิปราย แลกเปลี่ยน
  • ตำแหน่งที่ยิ่งใหญ่มาพร้อมความรับผิดชอบที่ใหญ่ยิ่ง กำหนดหน้าที่ของหัวหน้างานในแง่ของการเป็นพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำและการปรึกษาอย่างชัดเจน
  • ให้คุณค่าและป่าวประกาศ ควรชื่นชมคนกลุ่มนี้อย่างเปิดเผย ให้ความรู้สึกทางใจ และมอบโอกาสและพื้นที่ให้พวกเขาได้กล่าวความรู้สึก

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

‘Yindee’ แชตบอตในแอป ttb Touch ใช้ Gen AI จับความรู้สึก ตอบเร็วและฉลาดกว่าที่เคย

Yindee แชตบอตที่อยู่บน Mobile Banking ของ ttb ทำงานผ่านแอป ttb Touch สามารถจับ Mood & Tone ของลูกค้าหรือผู้ใช้บริการ ว่าขณะแชตนั้น ลูกค้าอยู่ในอารมณ์ไหน ด้วย Generative AI โดย Azur...

Responsive image

คนอยากใช้พลังงานเยอะ แต่โลกอยากได้ปล่อยคาร์บอนน้อย บริษัทพลังงานแก้ไขความย้อนแย้งนี้อย่างไรดีในยุค AI

The Energy/Prosperity Paradox หรือภาวะย้อนแย้งแห่งพลังงาน และความเจริญ ถือเป็นความท้าทายระดับโลกที่บริษัทด้านพลังงานกำลังพบเจอ เพราะในตอนนี้โลกกำลังต้องการพลังงานเพิ่มขึ้นอย่างไม่เ...

Responsive image

เศรษฐกิจไทย ‘ฟื้นตัว’ แล้วหรือยัง ? ฟังความเห็นจาก 3 ผู้นำธุรกิจยักษ์ใหญ่ไทย

ค้นพบศักยภาพการเติบโตทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมถึงไทย จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และกัมพูชา พร้อมโอกาสการลงทุนที่น่าสนใจในภาคอุตสาหกรรม การเงิน และเทคโนโลยี...